รำลึกถึง ประทีปดวงเอก
พระอาจารย์บุญมี เมธฺงกุโร บ.ช., บ.ม.
นามเดิม บุญมี เมธางกูร เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พศ. ๒๔๕๑ ปีวอก ที่จังหวัดอยุธยา เป็นบุตรคนแรกของคุณปู่เกา และคุณย่าแก้ว เมธางกูร มีพี่น้องรวม ๔ คน คือ
๑. นายบุญมี เมธางกูร ๒. นายมาโนช เมธางกูร ๓. นายบุญเชิด เมธางกูร ๔. นายบุญชู เมธางกูร |
ปี พศ. ๒๔๘๔ สมรสกับคุณแม่สุรีย์ ศศะสมิต มีบุตร ธิดา ๖ คน คือ
๑. นายบุญชัย เมธางกูร ๒. นางพัทยา ชมพูนุท ณ. อยุธยา ๓. นายสุมน เมธางกูร |
๔. นายโสภณ เมธางกูร ๕. นายโกศล เมธางกูร ๖. นางสาวบุษกร เมธางกูร |
อุปสมบท
ครั้งแรก เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ณ. พัทธสีมาวัดพนัญเชิง จังหวัดอยุธยา
ครั้งที่ ๒ เมื่อพศ. ๒๕๓๐ ณ. พัทธสีมาวัดศรีประวัติ จังหวัดนนทบุรี มีพระมหาแสวง โชติปาโล เจ้าอาวาสเป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ได้ตั้งปณิธานว่าจะถือเพศบรรพชิตตลอดชีวิต
การศึกษา
จบหลักสูตรวิชาครูประถมศึกษา (ป.ป.) ท่านยังได้ศึกษาวิชาศิลปะวาดเขียน และช่างปั้นเพิ่มเติมโดยศึกษากับ ท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
งานอาชีพ
ปี พศ. ๒๔๗๒หลังจบการศึกษา ได้เข้ารับราชการครูที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ปี พศ. ๒๔๘๒ ได้ย้ายภูมิลำเนามาอยู่กรุงเทพ ฯ ท่านจึงย้ายมาสอนที่ โรงเรียนมัธยมวัดศรีสะเกศ |
ระหว่างนี้ท่านได้ คิดค้นส่วนผสมผลิตชอรค์เขียนกระดานดำ
โดยทำเป็นแท่ง ไม่เปราะหักง่าย เขียนลื่น ลบแล้วไม่ติดกระดานดำ
ขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย จนประสบความสำเร็จ ทำเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน
เปิดร้านผลิตจำหน่ายแถวบางลำภู ชื่อร้านศรีอยุธยา
กิจการดำเนินมาด้วยดี จนในปี พศ. ๒๕๐๕ สามารถจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลศรีอยุธยา และปัจจุบันจดทะเบียนเป็น บริษัท ศรีอยุธยาผลิตภัณฑ์ จำกัด
นอกจากจะประสบความสำเร็จด้านอุตสาหกรรมแล้ว ท่านยังมีความสนใจในด้านเกษตรกรรมด้วย ได้เปิดฟาร์มเลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ ชื่อฟาร์มศรีอยุธยา ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี สร้างโรงฟักไข่ ได้รับเชิญไปสาธิตการทำฟาร์มในงานที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นประจำ
ท่านได้ทุ่มเทดำเนินธุรกิจทั้งด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมอย่างหนัก ทำให้สุขภาพเสื่อมลง ท่านป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารพิการ เกิดความทรมาน และเบื่อหน่ายในธุรกิจการงานที่ทำอยู่
นั่นเป็นสาเหตุชักนำให้ท่านมาพบ และศึกษาในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ได้ประจักษ์ในเรื่องบาป บุญ จนทำให้ท่านเลิกกิจการฟาร์มเลี้ยงไก่ในเวลาต่อมา
งานศึกษาและเผยแผ่พระศาสนา
ในปี พศ. ๒๔๙๔ ระหว่างที่ท่านเกิดความเบื่อหน่ายการงาน อันเนื่องจากโรคกระเพาะอาหารอยู่นั้น ท่านได้ตระเวนไปในที่ต่าง ๆ เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด
วันหนึ่งท่านได้เดินผ่านหน้าวัดบวรนิเวศน์วิหารเห็นป้ายประกาศของพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยเรื่อง การบรรยายพระอภิธรรม มีการซักถาม ตอบข้อข้องใจต่าง ๆ จึงได้แวะเข้าไปฟังการบรรยาย ได้พบกับท่านอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ หลังจากสนทนากับท่านอาจารย์แนบ ฯ ได้เกิดความสนใจ และซาบซึ้งในพระอภิธรรมอย่างยิ่ง ท่านอาจารย์แนบ ฯ จึงได้ชวนให้มาศึกษาอย่างจริงจัง
ย้อนหลังกลับไปเมื่อห้าสิบปีก่อน.......
ในปีพุทธศักราช
๒๔๙๖ อาจารย์บุญมี เมธางกูร
ผู้ซึ่งเป็นกรรมการธรรมศึกษาของพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ได้เนินการเปิด
โรงเรียนบรรยายพระอภิธรรมปิฎก
ขึ้นในพุทธสมาคมฯ
|
|
ในขณะนั้น
พุทธสามาคมฯมีสำนักงานอยู่ที่มหามงกุฎราชวิทยา หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร
ต่อมาในปีพุทธศักราช
๒๕๐๐
เนื่องจากเกิดปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมการสอนและการกำหนดนโยบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
อาจารย์บุญมี เมธางกูร จึงได้ก่อตั้งอภิธรรมมูลนิธิขึ้น เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๐ ณ บ้านเลขที่ ๓๐๑ ต.บางยี่ขัน จ.ธนบุรี ซึ่งเป็นบ้านของตนเอง และบริจาคเงินส่วนตัวจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท เป็นทุนสำหรับจดทะเบียนมูลนิธิ ส่วนสถานที่บรรยายธรรมยังคงขอใช้สถานที่ของพุทธสามาคม ฯ ดังเดิม |
ประมาณปีพ.ศ.๒๕๐๔
พุทธสมาคมฯ
ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ถนนพระอาทิตย์
การบรรยายพระอภิธรรมของอาจารย์บุญมีก็ได้ย้ายติดตามมาดำเนินอยู่ในที่เดียวกันนี้
และในปีดังกล่าว
อภิธรรมมูลนิธิก็ได้บรรจุอาจารย์สอนพระอภิธรรมเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งท่าน
คือ
อาจารย์วรรณสิทธิ์
ไวทยะเสวี
ซึ่งเป็นนักเรียนที่เข้ามาเรียนพระอภิธรรมกับอาจารย์บุญมี ตั้งแต่ปี พ.ศ.
๒๕๐๒
ครั้นต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๗ โรงเรียนบรรยายอภิธรรมก็ประสบกับมรสุมลูกใหญ่ มีอันต้องปิดการเรียนการสอนที่พุทธสมาคมฯลงโดยฉับพลัน ในระหว่างที่จัดหาสถานที่ตั้งโรงเรียนบรรยายธรรมอยู่นั้น
ในปี พ.ศ.๒๕๐๘ คุณสด สังขพิทักษ์ กรรมการเลขานุการของมูลนิธิ ก็ได้มอบที่ดินจำนวน ๕ ไร่ ให้แก่อภิธรรมมูลนิธิ
เมื่อสมเด็จป๋าทรงอนุญาตให้ใช้ที่บริเวณเก็บถังน้ำมันแล้ว พระมงคลทิพยมุนี หรือหลวงพ่อเมี้ยน ได้บริจาคเงินจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ตั้งทุนประเดิมเป็นค่าก่อสร้างอาคาร ด้วยเหตุนี้ เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติของพระสงฆ์ ผู้เห็นคุณค่าของพระอภิธรรมอย่างยิ่งยวด อาคารเรียนดังกล่าวจึงได้มีนามว่า โรงเรียนมงคลทิพยอภิธรรมมูลนิธิ |
ระยะเวลา ๑๘ ปี ที่ท่านอาจารย์บุญมี ใช้อาคารแห่งนี้เป็นที่ถ่ายทอดความรู้ และผลิตบุคลากรทางพระศาสนาที่ทรงคุณภาพรวมทั้งการให้ความสงเคราะห์แก่ผู้ทุกข์ยากทั้งหลาย
ทั้งครอบครัวของท่านอาจารย์เอง |
|
อาจารย์บุษกร (บุตรคนเล็ก) ได้ใช้ชีวิตอุทิศเพื่อพระพุทธศาสนา ร่วมกับท่านอาจารย์บุญมีอย่างไม่ย่อท้อ
ตั้งแต่เริ่มบุกเบิก
จนเป็นที่ยอมรับของพระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ เสมอมา
พระธรรมราชานุวัตร (หลวงเตี่ย) พระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง โชติปาโล) พระอาจารย์สุนทร ฐิตกาโม (สุขเถื่อน) ผู้สนับสนุนกิจกรรมของมูลนิธิ ฯ มาตลอด |
การบรรยายธรรม และการแสดงบทพิสูจน์ต่างๆเพื่อให้มีความเชื่อในเรื่องกรรม เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด การล้างความเห็นผิดที่คิดว่าตายแล้วสูญนั้น ได้ก่อตำนานขึ้น ณ อาคารแห่งนี้อย่างยาวนาน
พระอาจารย์ผล |
อาจารย์แนบ มหานีรานนท์ |
พระอาจารย์สุนทร ฐิตกาโม |
||
อาจารย์วรรณสิทธิ์ ไวทยะเสวี | อาจารย์วินัย อ.ศิวะกุล | |||
|
||||
คณะบุคคล
ผู้ร่วมอุดมการณ์ สายธารธรรม
(จากซ้ายใส่แว่นตา)
พระมหาชม ภูริปัญโญ |
สายธรรมทาน ศิษย์แต่ละท่าน ที่เป็นผู้หว่านโปรยเมล็ดพันธุ์แห่งความดี ด้วยมือของตนเองบ้างแล้ว คือ
อาจารย์วรรณสิทธิ์ ไวทยะเสวี
อาจารย์ประณีต ก้องสมุทร อาจารย์สุเทพ โพธิสัทธา |
อาจารย์นิยม ฤทธิ์เสือ
อาจารย์วินัย อ.ศิวะกุล อาจารย์สรรคชัย พรหมฤาษี |
ศจ.นพ.จำลอง หะริณสุต
คุณพูลศรี เจริญพงษ์ คุณสุนีย์ พิรัถโยธิน |
ฯ ล ฯ |
|
ด้วยการเชิญชวนให้มาเป็นครูผู้สอนพระอภิธรรม
หรือสนับสนุนให้แยกย้ายไปตั้งสถานที่ศึกษาต่างหากตามความต้องการ |
มีนักศึกษาจำนวนมากติดตามมาฟังคำบรรยาย และซักถามปัญหาที่ข้องใจ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับภพภูมิ และการเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งบรรยากาศการเรียนการสอนในขณะนั้นเต็มไปด้วยความเข้มข้นในการพิสูจน์จากนักวิชาการ เช่น ศ.ดร.ระวี ภาวิไล เป็นต้น
|
||
|
ในปี พ.ศ.๒๕๓๒ หลังจากอุปสมบทได้เพียงปีเศษ สุขภาพของพระอาจารย์บุญมีเริ่มทรุดโทรมลง เนื่องจากการตรากตรำทำงานด้านการเผยแพร่พระอภิธรรม | |
ทั้งโดยการบรรยายภายในสถานที่ของมูลนิธิ
คือ
ศาลาเสือพิทักษ์
และสำนักปฏิบัติวิปัสสนาอ้อมน้อย
และตามสถานที่ต่างๆที่ได้เชิญมา |
|
ปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๒ ขณะที่ท่านมีอายุ ได้ ๘๑ ปี ทางครอบครัวได้นำท่านเข้ารับการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลธนบุรีโดยละเอียด และได้ตรวจพบมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งแพทย์ผู้ตรวจได้แนะนำให้ทำการผ่าตัดโดยด่วน หลังการผ่าตัดแล้ว ท่านได้พักรักษาตัวอยู่ประมาณ ๒ เดือน แล้วจึงได้กลับมาจำพรรษาที่สำนักวิปัสสนาอ้อมน้อย |
ต้นปี พ.ศ.
๒๕๓๔
ท่านเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลธนบุรีอีกครั้ง
จากการตรวจเลือดครั้งสุดท้าย
พบว่ามะเร็งได้ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองและลามมาที่สะโพก
แต่เนื่องจากวัยชราและร่างกายทรุดโทรมมาก แพทย์จึงไม่แนะนำให้ผ่าตัดอีกแล้ว
แต่ทำการรักษาโดยส่งไปฉายรังสีที่ศูนย์มะเร็งกรุงเทพฯ
วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
พระอาจารย์มีอาการไข้ขึ้นสูง
และถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาลธนบุรีเป็นครั้งสุดท้าย
โดยต้องเข้าพักรักษาในห้อง
I.C.U.
ต้องให้อาหารทางสายยาง ให้เลือด น้ำเกลือและออกซิเจนตลอด เวลา
จนกระทั่ง |
|
|
สุดทางชีวิต
ดาวดวงหนึ่งลับแล้วจากฟากฟ้า
เพียงฝุ่นผงยั่งยืนจักโปรยปราย สิ้นที่หมายมลายสู่.. ธุลีดิน. |
|
ประทีบแก้วลาลับนับนานแล้ว
|
รวมภาพงานวันคืนสู่เหย้า ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
หนังสือผลงานของอาจารย์บุญมี เมธางกูร