|
.
+++ วันอาสาฬหบูชา +++ .
.
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับ วันเพ็ญ เดือน ๘ ก่อนปุริมพรรษา ๑ วัน(ปุริมพรรษาเริ่ม ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ในปีที่ไม่มีอธิกมาสเป็นต้นไป ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ปฐมเทศนา คือ เทศน์กัณฑ์แรก ชื่อว่า.. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรด พระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมือง พาราณสี ในปีแรกที่ทรงตรัสรู้ และเพราะผลของพระ ธรรมเทศนากัณฑ์นี้เป็นเหตุให้ท่าน พระโกณฑัญญะ ในจำนวนพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้ธรรมจักษุ (โสดา ปัตติมรรค หรือ โสดาปัตติมรรคญาณ คือ ญาณที่ทำ ให้สำเร็จเป็นโสดาบัน) ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญา รู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไป เป็นธรรมดา แล้วขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระองค์ เป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกของ พระพุทธศาสนา และ ทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ในเมื่อวันนี้ของทุก ๆ ปี เวียนมาถึง พุทธศาสนิกชน จึงนิยมทำการบูชาเป็นพิเศษ และ พุทธศาสนิกชนในที่บางแห่ง ยังตั้งชื่อวันอาสาฬหบูชานี้ว่า "วันพระสงฆ์" ก็มี
: : อาสาฬหะ คือ เดือน ๘ อาสาฬหบูชา คือ การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ ความสำคัญ ของวันเพ็ญเดือน ๘ นี้ มีอยู่อย่างไร
นับแต่วันที่สมเด็จพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ คือ ในวันเพ็ญเดือน ๖ พระองค์ประทับเสวย วิมุตติสุขในบริเวณโพธิมัณฑ์นั้น ตลอด ๗ สัปดาห์
.
สัปดาห์ที่ ๑ คงประทับอยู่ที่ควงไม้...อสัตถะ...อันเป็นไม้มหาโพธิ์ เพราะเป็นที่ตรัสรู้ ทรงใช้เวลาพิจรณาปฏิจจสมุปปาทธรรมทบทวนอยู่
ตลอด ๗ วัน
. สัปดาห์ที่ ๒ เสด็จไปทางทิศอีสานของต้นโพธิ์ ประทับยืนกลางแจ้งเพ่งดูไม้มหาโพธิ์โดยไม่กระพริบพระเนตรอยู่ในที่แห่งเดียวจนตลอด ๗ วัน
ที่ที่ประทับยืนนั้นปรากฎเรียกในภายหลังว่า "อนิมิสสเจดีย์" .
สัปดาห์ที่ ๓ เสด็จไปประทับอยู่ในที่กึ่งกลางระหว่าง ..อนิมิสสเจดีย์ กับต้นมหาโพธิ์..แล้วทรง จงกรมอยู่ ณ ที่ตรงนั้นตลอด ๗ วัน ซึ่งต่อมาเรียก
ที่ตรงนั้นว่า "จงกรมเจดีย์" .
.สัปดาห์ที่ ๔ เสด็จไปทางทิศพายัพ ของต้นมหาโพธิ์ ประทับนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิธรรมอยู่ตลอด ๗ วัน ที่ประทับขัดสมาธิเพชร ต่อมา
เรียกว่า"รัตนฆรเจดีย์"
สัปดาห์ที่ ๕ เสด็จไปทางทิศบูรพาของต้นมหาโพธิ์ ประทับที่ควงไม้ไทรชื่อ อชาปาลนิโครธ อยู่ตลอด ๗ วัน ในระหว่างนั้น ทรงแก้ปัญหา
ของพราหมณ์ผู้หนึ่ง ซึ่งทูลถามในเรื่องความเป็นพราหมณ์ ...
.สัปดาห์ที่ ๖ เสด็จไปทางทิศอาคเนย์ ของต้นมหาโพธิ์ ประทับที่ควงไม้จิกเสวยวิมุตติสุขอยู่ตลอด ๗ วัน ฝนตกพรำตลอดเวลา พญานาคมา
วงขดล้อมพระองค์ และแผ่พังพานบังฝนให้พระองค์ทรงเปล่งพระอุทานสรรเสริญความสงัดและความไม่เบียดเบียนกันว่า เป็นสุขในโลก
สัปดาห์ที่ ๗ เสด็จย้ายสถานที่ไปทางทิศใต้ ของต้นมหาโพธิ์ ประทับที่ควงไม้เกดเสวยวิมุตติ สุขตลอด ๗ วัน มีพาณิช ๒ คน ชื่อ ตปุสสะ กับ
ภัลลิกะ เดินทางจากอุกกลชนบท มาถึงที่นั้น ได้เห็นพระพุทธองค์ประทับอยู่ จึงนำ ข้าวสัตตุผง ข้าวสัตตุก้อน ซึ่งเป็นเสบียงกรังของตน
ไปถวาย พระองค์ทรงรับเสวยเสร็จแล้ว สองพาณิชก็ประกาศตนเป็นอุบาสก นับเป็นอุบาสกคู่แรกในประวัติกาลทรงพิจารณาสัตว์โลก .
เมื่อล่วงสัปดาห์ที่ ๗ แล้ว พระองค์เสด็จกลับมาประทับที่ควงไม้ไทร ชื่ออชาปาลนิโครธอีก ทรงคำนึงว่า ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้
นี้ลึกซึ้งมาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม จึงท้อ พระทัยที่สอนสัตว์ แต่อาศัยพระกรุณาเป็นที่ตั้ง ทรงเล็งเห็นว่าโลกนี้ผู้ที่พอจะรู้ตามได้ยังมี .
..- ตอนนี้แสดงถึงบุคคล ๔ เหล่า เปรียบกับดอกบัว ๔ ประเภท คือ
๑. อุคฆติตัญญู ได้แก่ ผู้ที่มีอุปนิสัยสามารถรู้ธรรมวิเศษได้ทันทีทันใดในขณะที่มีผู้สอนสั่ง
สอนเปรียบเทียบ เหมือนดอกบัวที่โผล่ขึ้นพ้นน้ำแล้ว พร้อมที่จะบานในเมื่อได้รับแสงพระอาทิตย์ในวันนั้น
๒. วิปัจจิตัญญู ได้แก่ ผู้ที่สามารถจะรู้ธรรมวิเศษได้ ต่อเมื่อท่านขยายความย่อ ให้พิสดารออกไปเปรียบเหมือนดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอระดับน้ำ
จักบานในวันรุ่งขี้น
๓. เนยยะ ได้แก่ ผู้ที่พากเพียรพยายาม ฟัง คิด ถาม ท่องอยู่เสมอไม่ทอดทิ้ง จึงได้รู้ธรรมวิเศษ เปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังไม่โผล่ขึ้นจากน้ำ ได้รับการหล่อเลี้ยงจากน้ำ แต่จะโผล่แล้วบาน ขี้นในวันต่อๆ ไป
๔. ปทปรมะ ได้แก่ ผู้ที่แม้ฟัง คิด ถาม ท่อง แล้ว ก็ไม่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ เปรียบเหมือนดอกบัว ที่อยู่ใต้น้ำติดกับเปือกตม รังแต่จะเป็น
ภักษาหาร แห่งปลาและเต่า
เมื่อเล็งเห็นเหตุนี้ จึงตกลงพระทัยจะสอน ทรงนึกถึงผู้ที่ควรโปรดก่อนคือ อาฬารดาบส กับ อุทกดาบส แต่ท่าน
เหล่านี้ก็ได้เสียชีวิตหมดแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ปัญจวัคคีย์ จีงทรงตัดสินพระทัยว่า ควรโปรดปัญจวัคคีย์ก่อน แล้วก็เสด็จออก
เดินไป จากควงไม้ไทรนั้น มุ่งพระพักตร์เสด็จไปยัง ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี การที่เสด็จเดินทางจาก
ตำบลพระศรีมหาโพธิ์ จนกระทั่งถึงกรุงพาราณสีเช่นนี้ แสดงให้เห็น พระวิริยอุตสาหะอันแรงกล้าเป็นการตั้งพระทัย
แน่วแน่ที่จะประทานปฐมเทศนา แก่ปัญจวัคคีย์เป็นพวกแรกอย่างแทัจริง
|
|
ทางสายกลางเท่านั้น
เป็นข้อปฏิบัติที่สมควร แล้วทรงแสดงทางสายกลางคือ อริยมรรค ๘ ประการ ได้แก่
|
|
| |
| |
| |
| |
| |
| |
|
สรุปด้วยอริยสัจ 4 ได้แก่
๑. ทุกข์ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒. สมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธความดับทุกข์
๔. มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ชี้ให้เห็นโดยปริวรรตและอาการต่างๆ ว่า เมื่อรู้แล้วอาจยืนยันได้ว่า ตรัสรู้โดยชอบถึงความหลุดพ้นและสุดชาติสุดภพแน่นอน ขณะที่พระองค์ทรงแสดงธรรมนี้อยู่ท่านโกณฑัญญะได้ส่องญาณไปตามจนเกิด "ธรรมจักษุ" คือดวงตาเห็นธรรมขึ้นทางปัญญาพระองค์ทรงทราบจึงเปล่งพระอุทานว่า
"อัญญสิๆ" "อัญญสิๆ" (โกณฑัญญะรู้แล้วๆ) เพราะ พระองค์ทรงอุทานนี้ภายหลังท่านโกณฑัญญะจึง ได้นามใหม่ว่า "อัญญาโกณฑัญญะ"
แต่นั้นก็ทูลขอบรรพชา พระองค์ประทานอนุญาต ด้วยเอหิภิขุอุปสัมปทาน นับเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระศาสนาที่บวช ตามพระพุทธองค์ :..ตามพุทธประวัติที่เล่ามานี้ จะเห็นว่า
วันอาสาฬหบูชามีความสำคัญ คือ
๑. เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา
๒. เป็นวันแรกที่พระบรมศาสดาทรงแสดง พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ประกาศสัจจธรรมอันเป็นองค์แห่งสัมมาสัมโพธิญาณ
๓. เป็นวันที่พระอริยสงฆ์สาวกองค์แรกบังเกิดขึ้นในโลก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้รับประทานเอหิภิขุอุปสัมปทาในวันนั้น
๔. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระสังฆรัตนะสมบูรณ์เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ
. อาสาฬหบูชา
|
ไปรับศีลฟังธรรมนำกุศล |
เพราะรำลึกเหตุสำคัญในวันนี้
|
จึงได้เป็นภิกษุองค์ปฐม |
พุทธศาสน์สถิตอย่างมั่นคง ได้ยืนยงคงอยู่คู่ไทยนี่ พระพุทธ พระธรรม ค้ำชีวี พระสงฆ์นี้นาบุญคุณอนันต์ |
ขอชวนเชิญพวกเราเหล่าชาวพุทธ หลีกละหยุดความชั่วกลัวโทษมหันต์ สร้างกุศลพูนเพิ่มเสริมทุกวัน จิตมุ่งมั่นฝึกสร้างทางปัญญา |
ดำเนินตามรอยบาทพุทธองค์ เสริมส่งงานบุญหนุนรักษา เจริญสติ สมาธิ วิปัสสนา ผลบุญพาให้ท่านนั้นทุกข์คลาย |
ขออานุภาพพระไตรรัตน์ จงขจัดสรรพภัยให้สูญหาย ใช้ปัญญาครองตนพ้นอบาย ท่านทั้งหลายจักอยู่ดี มีสุขเทอญ |