ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

สมฺมาสมฺพุทฺธมตุลํ      สสทฺธมฺมคณุตฺตมํ
อภิวาทิย ภาสิสฺสํ        อภิธมฺมตฺถสงฺคหํ


 

ประวัติการศึกษาพระอภิธรรมในประเทศไทย

พระอภิธรรม ออนไลน์...กงล้อพระอภิธรรม เริ่มตั้งแต่ชาติไทยสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี พ่อขุนรามคำแหงใน พ.ศ. ๑๘๒๐ – ๑๘๖๐ ทรงทำนุบำรุงพระศาสนาเป็นอย่างดี ต่อมาพญาลิไทซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหง ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วง เมื่อ พ.ศ ๑๘๙๖ โดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาพระอภิธรรมของพระพุทธเจ้าไว้ และเพื่อโปรดพระราชมารดา รวมทั้งประชาราษฎร์ทั่วไปให้เข้าใจเรื่องกรรมและผลของกรรมของมนุษย์ สัตว์ทั้งหลายในหนังสือไตรภูมิพระร่วงนั้น กล่าวถึงปรมัตถ์ธรรมอันเป็นธรรมที่ประเสริฐอย่างยิ่ง คงสภาวะไม่มีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะมีการผันแปรของโลกไปอย่างไร มีกล่าวถึง จิต เจตสิก และรูป ในคนและสัตว์ที่มีการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ๓๑ ภูมิ ของกาม ภพ รูปภพ และอรูปภพอยู่ โดยจะไปเกิดในภพภูมิใด ขึ้นอยู่กับการกระทำคือการประพฤติปฏิบัติของตนเองอย่างไรก็ดี แม้ไปอยู่ภพภูมิใดก็ยังคงเสวยความทุกข์ทั้งหลายอยู่เสมอ นอกจากนั้นแสดงถึงว่า นิพพานเป็นสภาวะที่พ้นจากความ ทุกข์ทั้งปวงเหล่านั้น แต่เนื่องจากพระอภิธรรมเป็นธรรมะชั้นสูง ลึกซึ้ง ยากที่จะเข้าใจและศึกษา โดยเฉพาะเหล่าสาธุชน พุทธศาสนิก ที่เป็นคนธรรมดาทั่วไป ผู้ที่มีภูมิปัญญาทางธรรมะอย่างจำกัด นอกจากนั้นคนส่วนมากในสมัยนั้นและ สมัยต่อๆ มาเข้าใจว่าพระอภิธรรมเป็นเรื่องของการศึกษาของเทวดา มนุษย์จึงมีความสนใจกันไม่มากนักเมื่อถึง พ.ศ. ๒๓๑๐ ไทยเสียบ้านเมืองกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า บ้านเมืองระส่ำระสาย ขาดผู้นำที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา พระอภิธรรมซึ่งธรรมดาเป็นเรื่องที่ยากอยู่แล้ว ก็ยิ่งไม่ค่อยมีสนใจขาดการศึกษาไป

กงล้อพระอภิธรรม แม้ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ พระองค์ได้ฟื้นฟูการนับถือพระพุทธศาสนาให้เริ่มจะเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีกพระอภิธรรม ออนไลน์... โดยมีการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้น ทบทวนเนื้อความในพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎกและพระอภิธัมมปิฎก พระพุทธศาสนาจึงได้รุ่งเรื่องต่อไป ถึงรัชกาลที่ ๒ รัชการที่ ๓ รัชกาลที่ ๔ รัชกาลที่ ๕ และต่อๆ มาจนถึงรัชกาลที่ ๙ ในปัจจุบันนี้ในประเทศไทย ตั้งแต่รัชสมัยของกรุงศรีอยุธยา พอมีหลักฐานอยู่บ้างว่า มีการ สวดพระอภิธรรมเป็นพิธีกรรมในการบำเพ็ญกุศลให้แก่ศพ แต่ในหนังสือตำนานพระอภิธรรม โดยอาจารย์ธนิต อยู่โพธิ์กล่าวไว้ว่า มีการสวดศพด้วยพระอภิธรรมอย่างจริงจัง เมื่อประมาณต้นรัชกาลที่ ๕ ( เสวยราชย์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๕๓ ) และมีหลักฐานเป็นหนังสือ ๒ เล่ม คือ อภิธัมมัตถสังคหะ แปลร้อยอย่างพิศดาร พิมพ์ครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐ และหนังสืออภิธัมฉบับสมบูรณ์ โดยนำเอาเทศนาพิศดารของเก่า พิมพ์ไว้เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๗๐ ดังที่ระบุไว้ที่คำนำ มาพิมพ์ใหม่โดยสำนักพิมพ์เลี่ยงเซียงในปี ๒๔๙๔ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการศึกษาพระอภิธรรมและกุศโลบายของบรรพบุรุษไทยในการสืบทอดความรู้พระอภิธรรมได้ทำกันมาอย่างต่อเนื่อง

กงล้อพระอภิธรรม เมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๕ พระอาจารย์พม่า ภัททันตวิลาสะ เจ้าอาวาสวัดปรก ตรอกจันทร์ เขตยานนาวา กทม.ได้เริ่มทำการสอนวิปัสสนาภาวนาตามนัยแห่งพระอภิธรรม เกิดได้ลูกศิษย์ที่สำคัญคนหนึ่ง คือ แนบ มหานีรานนท์ ซึ่งเรียนพระอภิธรรมทั้งภาคปริยัติ และปฏิบัติอยู่หลายปี จนพระอาจารย์ให้อาจารย์แนบนี้ทำหน้าที่สอนวิปัสสนาและพระอภิธรรมแทนท่าน ในเวลาใกล้ๆ กันนี้ พระอาจารย์พม่า ภัททันตวิลาสะ ได้เชิญอาจารย์ฆราวาสพม่า คืออาจารย์สาย สายเกษม จากจังหวัดลำปาง มาช่วยการศึกษาปริยัติและปฏิบัติธรรมโดยนัยอภิธรรม จึงเริ่มมีการสอนเป็นชั้น เรียนที่แน่นอนขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ทีวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี โดยมีท่านเจ้าคุณพระภาวนาภิรามเถระ (สุข ปวโร) เป็นอาจารย์ใหญ่ร่วมกับอาจารย์สาย อาจารย์แนบ และพระทิพย์ปริญญา (ซึ่งทั้งหมดเป็นศิษย์ของพระอาจารย์ภัททันตวิลาสะทั้งสิ้น) การสอนกระทำโดยใช้ตำราพระอภิธัมมัตถสังคหะ ๙ ปริจเฉท เป็นบันทัดฐาน ในระหว่างนี้ก็มีการเปิดการศึกษาและการสอนปริยัติและปฏิบัติทางพระอภิธรรมขึ้นที่วัดสามพระยา วัดมหาธาตุ ฯ กทม. และต่างจังหวัด เช่น อยุธยา ลพบุรี ฯลฯ อีกหลายจังหวัด จากโอวาทหลวงพ่อวัดปากน้ำเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๖ ก็ได้กล่าวไว้ว่า พระทิพย์ปริญญาสอนอภิธรรมให้กับพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาที่วัดปากน้ำ หลวงพ่อวัดปากน้ำจึงเทศน์ เรื่องจิตปรมัตถ์เพื่อเกื้อกูลแก่ผู้กำลังศึกษาพระอภิธรรม พระอภิธรรม ออนไลน์...

กงล้อพระอภิธรรม ในปีพ.ศ. ๒๔๙๑ ท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรม (พระอาสภะเถระ) เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ ดำรงตำแหน่งองค์สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองของคณะสงฆ์ประเทศไทยด้วย ได้ติดต่อก้บรัฐบาลประเทศพม่า (ฯพณฯ อูนุเป็นนายกรัฐมนตรี) ขอให้ส่งพระอาจารย์พม่าผู้เชี่ยวชาญพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ มาช่วยการสอนพระอภิธรรม ในประเทศไทย สภาแห่งคณะสงฆ์พม่าจึงส่งพระพม่า ๒ องค์ คือ พระอาจารย์สัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ และพระอาจารย์เตชินทะ ธัมมาจริยะ มาจำพรรษาเริ่มแรกอยู่ที่วัดปรก เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ แล้วต่อไปก็ย้ายไปสอนพระอภิธรรม ที่วัดระฆังฯ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้มีการเปิดการสอนพระอภิธรรมขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่ “โรงเรียนบรรยายอภิธรรมปิฏก” ที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ตรงข้ามวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ซึ่งอีก ๔ ปีต่อมาก็มีการจัดตั้ง “พระอภิธรรมมูลนิธิ” ขึ้นโดยอาจารย์บุญมี เมธางกูร รับผิดชอบเรื่องการสอนพระอภิธรรมร่วมกับอาจารย์แนบและคุณพระชาญบรรณกิจขยายการสอนให้มีมากขึ้น ซึ่งต่อมาอภิธรรมมูลนิธิ ก็ย้ายตามพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยไปอยู่ที่ถนนพระอาทิตย์ แล้วแยกตัวออกจากพุทธสมาคมฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ไปเปิดการสอนต่อที่โรงเรียนมงคลพิทย์ วัดพระเชตุพลฯ และพอถึงปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๙ อภิธรรมมูลนิธิก็ย้ายออกไปจากวัดพระเชตุพลฯ ไปเปิดที่ทำการใหม่อยู่ตรงข้ามกับพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม แล้ววัดพระเชตุพลฯ ก็จัดตั้งมูลนิธิวัดพระเชตุพนฯ ขึ้นทำการสอนพระอภิธรรมต่อไปที่ “โรงเรียนพระอภิธรรมมงคลทิพยมุนี” ทีนั้นพระอภิธรรมจึงได้มีการศึกษาและสอนที่วัดพระเชตุพนฯ เป็นเวลา ๒๖ ปีมาแล้วตราบเท่าทุกวันนี้

กงล้อพระอภิธรรม พระอาจารย์เตชินทะ สอนพระอภิธรรมอยู่ไม่นานนักก็เดินทางกลับไปพม่าแล้วไม่ได้กลับมา ส่วนพระอาจารย์สัทธัมมโชติกะ อยู่สอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ พอถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้ตั้ง “อภิธรรมมหาวิทยาลัย” ขึ้นที่ วัดระฆังฯ มีหลักสูตรอภิธรรมตรี (๑ ปี ๖ เดือน) อภิธรรมโท (๓ ปี) และอภิธรรมเอก (๓ ปี) รวมหลักสูตรอภิธรรมทั้งหมด ๗ ปีครึ่งสำเร็จได้เป็นอภิธรรมบัณฑิต ซึ่งสามารถศึกษาต่อในระดับอาจารย์อีก ๖ ชั้นต่อไป โดยต้องทำการศึกษาค้นคว้าเอง เขียนวิทยานิพนธ์ และมีการสอบอภิธรรมบัณฑิตชั้นสูงทุกปี

กงล้อพระอภิธรรม ต่อมาที่วัดมหาธาตุฯ ได้มีการสอนอภิธรรมขึ้นที่โรงเรียน “อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย” ในปีพ.ศ. ๒๕๑๑ ขึ้นและในปีต่อๆ มาก็มีการเปิดสำนักเรียนพระอภิธรรมตามวัดต่างๆ ในต่างจังหวัดอีกไม่ต่ำกว่า ๕๐ แห่ง นับว่าเป็นความก้าวหน้าในด้านการศึกษาพระอภิธรรมในประเทศไทยมิใช่น้อยเลย นับได้ว่าเริ่มต้นที่พระอาจารย์พม่าภันทันตะวิลาสะ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ พ.ศ. ๒๔๙๐ ต่อด้วยพระอาจารย์พม่า สัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ ซึ่งเป็นผู้ตั้งต้นวางรากฐานการศึกษาพระอภิธรรม โดยเมื่อท่านมาสอนพระอภิธรรมทั้งภาคปริยัติและภาคปฏิบัติที่วัดระฆังฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ในตอนแรกต้องใช้ล่ามช่วยแปล ต่อมาอีก ๑ ปี เมื่อท่านเรียนภาษาไทยได้แล้ว นอกจากสอนแล้ว ท่านยัง เขียนตำราเรียนเป็นภาษาไทย จัดวางหลักสูตรการศึกษาพระอภิธรรมเป็นชั้นๆ ตามลำดับขั้นตอน ดังกล่าวมาแล้ว ทั้งนี้โดยใช้ตำราอภิธรรมมัตถสังคห ๙ ปริเฉทเป็นบรรทัดฐาน ผู้ที่ศึกษาตำรานี้จบแล้ว ก็อาจไปศึกษาต่อในพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ภาษาบาลีและภาษาไทยต่อไปอีกได้

พระอภิธรรม ออนไลน์...กงล้อพระอภิธรรม จะเห็นได้ว่าการศึกษาพระอภิธรรมในประเทศไทยได้ดำเนินการมาในระยะเวลาไม่นานมานี้คือเป็นระยะเวลาประมาณ ๖๐ ปีเท่านั้น และยังไม่ได้รับความนิยมสนใจจากพระพุทธศาสนิกชน นักศึกษาธรรมะกันมาก

กงล้อพระอภิธรรม เนื่องจากพระอภิธรรมเป็นธรรมชั้นสูง ถ้าเปรียบได้กับการเรียนแพทย์ศาสตร์ ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการเรียนเตรียมแพทย์ศาสตร์ แล้วเรียนปรีคลีนิค ได้แก่เรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยาซึ่งเป็นวิชาพื้นฐานของวิชาแพทย์เสียก่อน ก่อนที่จะไปศึกษาเรื่องโรคภัย ไข้ เจ็บในตัวคนต่อไป นอกจากนั้นการเรียนพระอภิธรรมซึ่งเป็นปรมัตถธรรมมีการแสดงเรื่อง จิต เจตสิก รูป และนิพพานเท่านั้น เป็นการศึกษาชีวิตคนที่ลึกซึ้งมาก บุคคลผู้จะศึกษาต้องมีศรัทธาสนใจที่จะรู้ว่าชีวิตคืออะไรปัญหาของชีวิตมีอะไร ตายแล้วไปไหน และการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏเป็นความทุกข์ของชีวิต และจักแก้ปัญหาของชีวิตได้อย่างไร ฯลฯ จำนวนนักศึกษาพระอภิธรรมจึงมีจำนวนน้อย ก็เช่นเดียวกัน ในมหาวิทยาลัยย่อมมีนักเรียนแพทย์จำนวนน้อยกว่านักศึกษาวิชาอื่นๆ ทั้งสิ้น

กงล้อพระอภิธรรม ผลการศึกษาพระอภิธรรมในปีแรกๆ นั้นมีจำนวนน้อยมาก เพราะยังไม่มีการวัดผลของการศึกษาที่ดี ต่อมา “อภิธรรมมหาวิทยาลัย” ได้จัดให้มีการสอบขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ มีผู้จบหลักสูตรการศึกษาพระอภิธรรมเป็น “ อภิธรรมบัณฑิต ” เป็นรุ่นแรกของการศึกษา เป็นพระภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกาต่างๆ เท่าที่มีการศึกษาและการสอนพระอภิธรรมเป็นเวลา ๖๐ ปี ที่แล้วมานี้ มีนักศึกษาที่สอบไล่สำเร็จอภิธรรมตรี โท เอก ประมาณกว่าหนึ่งพันคน และที่ได้ “อภิธรรมบัณฑิต” ประมาณ ๒๐ ท่าน แม้ปัจจุบันนี้ ก็มีนักศึกษาพระอภิธรรมในกรุงเทพฯ ไม่กี่ร้อยคน รวมกับต่างจังหวัดด้วยแล้วมีประมาณพันกว่าคน สำหรับครูอาจารย์ที่สอนพระอภิธรรมนั้นก็มีเป็นจำนวนไม่ถึงร้อย เนื่องจากเป็นการศึกษาเกี่ยวกับจิต จึงมีคนสนใจน้อยในยุคปัจจุบัน....

กงล้อพระอภิธรรม แม้พระอภิธรรมจะเป็นเรื่องที่ศึกษาได้ยาก หากให้ความสนใจ และเห็นถึงประโยชน์ในการเข้าถึงสัจธรรมชีวิต ตามหลักพระพุทธศาสนา ทางมูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ นำโดย อาจารย์บุษกร เมธางกูร บุตรสาวของท่านพระอาจารย์บุญมี เมธางกูร ได้ดำเนินการนำพระอภิธรรมทั้ง ๙ ปริจเฉท เข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้สนใจใฝ่ธรรมทั้งหลาย ได้เข้ามากอบโกยผลประโยชน์ทางปัญญา เพื่อแสวงหาสัจธรรมให้แก่ชีวิต อันจะนำความผาสุกสวัสดีมาให้ ทั้งในภพนี้และภพหน้า ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย จงดลบันดาลให้ทุกท่าน ประสบแต่ความสุข ความเจริญ เป็นผู้เปี่ยมล้นไปด้วยปัญญา มากด้วยบุญบารมี ตราบสิ้นอายุขัย ด้วยเถิด... สาธุ สาธุ สาธุ... >>>


จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...