ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 ค้นหาหัวข้อธรรม
ปรมัตถธรรม
เป็นธรรมที่มีเนื้อความไม่เปลี่ยนแปลง
ไม่วิปริตผันแปร มี ๔ คือ จิต
เจตสิก รูป และนิพพาน
บัญญัติธรรม
เป็นสิ่งที่บัญญัติขึ้น
สมมติขึ้นเพื่อเรียกขานกัน
ตามความนิยมเฉพาะหมู่เฉพาะเหล่า
(ไม่มีวิเสสลักษณะ)
สามัญญลักษณะ คือ
ลักษณะสามัญทั่วๆไป
ลักษณะตามธรรมชาติ
ตามปกติปรมัตถธรรมจะต้องมีเหมือน
ๆ กันอยู่ ๓ อย่าง คือ อนิจจลักษณะ
ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ
อนิจจลักษณะ
เป็นลักษณะที่ไม่เที่ยงไม่มั่นคง
ไม่ยั่งยืนอยู่ได้ตลอดกาล
ทุกขลักษณะ
เป็นลักษณะที่ทนอยู่ไม่ได้
ต้องแตกดับเสื่อมสลายสูญหายไป
อนัตตลักษณะ
เป็นลักษณะที่ว่างเปล่า
ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้
จะให้เป็นไปตามที่ใจชอบไม่ได้
วิเสสลักษณะ
เป็นลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของปรมัตถธรรมแต่ละอย่าง
ซึ่งไม่เหมือนกันเลย
วิเสสลักษณะมี ๔ ประการ คือลักษณะ
รสะ ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐาน
ลักษณะ คือ
คุณภาพหรือเครื่องแสดง
หรือสภาพโดยเฉพาะที่มีประจำตัวของธรรมนั้น
ๆ
รสะ คือ กิจการงาน
หรือหน้าที่ของธรรมนั้น ๆ
ปัจจุปัฏฐาน คือผลของรสะ
หรืออาการปรากฏของธรรมนั้นๆ
ปทัฏฐาน คือ
เหตุใกล้ที่ทำให้ธรรมนั้น ๆ
เกิดขึ้น
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ