ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 ค้นหาหัวข้อธรรม
สภาพหรือลักษณะของจิต
จิตเป็นปรมัตถธรรม
ดังนั้นจิตจึงมีสภาวะ หรือสภาพ
หรือลักษณะทั้ง ๒ อย่าง คือ
สามัญลักษณะ และวิเสสลักษณะ
๑. สามัญญลักษณะ
จิตมีไตรลักษณ์ครบ คือ
อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ
และอนัตตลักษณะ
จิตนี้เป็นอนิจจัง คือ ไม่เที่ยง
ไม่มั่นคง
ไม่ตั้งอยู่ได้ตลอดกาล
จิตนี้เป็นทุกขัง คือ
ทนอยู่ไม่ได้ตลอดกาลจึงมีอาการเกิดดับเกิดดับ
จิตนี้เป็นอนัตตา คือ
เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน
เป็นสิ่งที่บังคับบัญชาให้ยั่งยืน
ให้ทนอยู่ ไม่ให้เกิดดับไม่ได้
๒. วิเสสลักษณะ
หรือลักขณาทิจตุกะของจิต
มีครบทั้ง ๔ ประการคือ
มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
เป็นประธานในธรรมทั้งปวงเป็นกิจ
(รสะ)
มีการเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไม่ขาดสายเป็นอาการปรากฏ(ปัจจุปัฏฐาน)
มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด
(ปทัฏฐาน)
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ