The Wayback Machine - https://web.archive.org/web/20180403011515/http://abhidhamonline.org:80/aphi/p1/007.htm

ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

อำนาจของจิต

๑. มีอำนาจในการกระทำ คือ ทำให้งดงาม แปลก น่าพิศวง พิลึกกึกกือ ทำให้น่ากลัว ทำกิริยามารยาทที่น่ารัก หรือคิดผลิตสิ่งต่างๆ เช่น รถ เรือ เครื่องบิน ฯลฯ ทั้งหมดนี้เรียกว่า "วิจิตรในการกระทำ"

๒. มีอำนาจด้วยตนเอง คือ จิตนั่นเองมีทั้งจิตกุศล จิตอกุศล จิตวิบาก จิตกิริยา จิตที่เป็นบุญ จิตที่เป็นบาป จิตที่โง่เขลา จิตที่มีปัญญา จิตที่ไม่มีปัญญา ซึ่งรวมเรียกว่า "วิจิตรด้วยตนเอง"

๓. มีอำนาจในการสั่งสมกรรมและกิเลส คือ จิตนั่นเอง ที่เป็นต้นเหตุในการก่อกรรมทำบาป ทำอกุศล ทำบุญกุศล ทำฌานอภิญญา เมื่อกระทำลงไปแล้วก็เก็บความดีความชั่วนั้นไว้ เรียกว่า "วิจิตรในการสั่งสมกรรมและกิเลส"

๔. มีอำนาจในการรักษาวิบาก (วิบาก=ผลของกรรม) ผลของกรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นกุศลกรรม และอกุศลกรรม บุญ บาป ฯลฯ ที่จิตได้ทำไว้นั้นไม่สูญหายไปไหน ผลของกรรมนั้นไม่เสื่อมคุณภาพ แม้นานเท่าไรก็จะให้ผลอย่างเต็มที่เมื่อมีโอกาส ซึ่งเรียกว่า "วิจิตรในการรักษาไว้ซึ่งวิบากกรรมและกิเลสได้สั่งสมไว้"

๕. มีอำนาจในการสั่งสมสันดานของตนเอง คือ ถ้าได้คิดได้ทำกรรมอย่างใด ๆ ก็ตาม ถ้าได้กระทำบ่อย ๆ ทำอยู่เสมอ ๆ ก็จะฝังติดเป็นนิสสัยสันดาน ชอบทำ ชอบคิดอย่างนั้นเรื่อย ๆ ไป เรียกว่า "วิจิตรในการสั่งสมสันดานของตนเอง"

๖. มีอำนาจต่ออารมณ์ต่างๆ คือ จิตจะรับอารมณ์ได้ต่างๆ นานา ไม่จำกัดและที่สำคัญที่สุด คือ คนพาลจะรับอารมณ์ที่ไม่ดีที่ชั่วได้ง่าย สำหรับบัณฑิตจะรับอารมณ์ที่ดีได้ง่าย เรียกว่า "วิจิตรด้วยอารมณ์ต่าง ๆ"

 

สอบถาม ปัญหาธรรมะ ได้ที่ลานธรรมมูลนิธิ ค่ะ...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...