The Wayback Machine - https://web.archive.org/web/20180403003707/http://abhidhamonline.org:80/aphi/p1/015.htm

ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

โทสมูลจิต

โทสมูลจิต เป็นจิตที่มีความโกรธความเกลียดเป็นมูลเหตุ หรือเป็นจิตที่มีโทสะเป็นตัวนำ หรือเรียกว่า "ปฏิฆจิต" คือจิตที่กระทบอารมณ์ที่ไม่ชอบ

เหตุให้เกิดโทสะหรือปฏิฆะ มี ๕ ประการ ได้แก่

๑. มีอัธยาศัยเป็นคนมักโกรธ

๒. มีความคิดไม่สุขุม

๓. มีการศึกษาน้อย

๔. ได้ประสบกับอารมณ์ที่ไม่ดี

๕. ได้ประสบกับอาฆาตวัตถุ ๑๐ ประการ

อาฆาตวัตถุ ๑๐ ประการ คือ

๑. อาฆาตเขาโดยคิดว่า ได้ทำ ความเสื่อมเสียแก่เรา

๒. อาฆาตเขาโดยคิดว่า กำลังทำ ความเสื่อมเสียแก่เรา

๓. อาฆาตเขาโดยคิดว่า จักทำ ความเสื่อมเสียแก่เรา

๔. อาฆาตเขาโดยคิดว่า ได้ทำ ความเสื่อมเสียแก่ผู้ที่เรารักเราชอบ

๕. อาฆาตเขาโดยคิดว่า กำลังทำ ความเสื่อมเสียแก่ผู้ที่เรารักเราชอบ

๖. อาฆาตเขาโดยคิดว่า จักทำ ความเสื่อมเสียแก่ผู้ที่เรารักเราชอบ

๗. อาฆาตเขาโดยคิดว่า ได้ทำ คุณประโยชน์แก่ผู้ที่เราเกลียดเราชัง

๘. อาฆาตเขาโดยคิดว่า กำลังทำ คุณประโยชน์แก่ผู้ที่เราเกลียดเราชัง

๙. อาฆาตเขาโดยคิดว่า จักทำ คุณประโยชน์แก่ผู้ที่เราเกลียดเราชัง

๑๐. ความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่สมควร เช่น เกิดโกรธขึ้นเมื่อเดินสะดุดตอไม้หรือเหยียบหนาม เป็นต้น

โทสมูลจิต หรือ ปฏิฆจิต มี ๒ ดวง คือ

๑. โทมนัสสสหคตัง ปฏิฆสัมปยุตตัง อสังขาริกัง

จิตเกิดพร้อมด้วยความเสียใจ ประกอบด้วยความโกรธ เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งชักชวน

๒. โทมนัสสสหคตัง ปฏิฆสัมปยุตตัง สสังขาริกัง

จิตเกิดพร้อมด้วยความเสียใจ ประกอบด้วยความโกรธ เกิดขึ้นโดยมีสิ่งชักชวน

โทมนัสสสหคตัง แปลว่า เกิดพร้อมด้วยความเสียใจ

โทมนัสนี้เป็นเวทนา ชื่อว่า โทมนัสเวทนา เกิดได้พร้อมกับโทสจิต ๒ ดวงเท่านั้นเอง จะเกิดพร้อมกับจิตอื่นไม่ได้

ปฏิฆสัมปยุตตัง แปลว่า ประกอบด้วยความโกรธ

ปฏิฆะ ความโกรธ องค์ธรรมได้แก่โทสเจตสิก ปฏิฆะหรือโทสะจะต้องเกิดพร้อมกับโทมนัสเวทนา จะเกิดพร้อมกับเวทนาอื่นไม่ได้

(๑) โทมนัสเป็นเวทนาเจตสิก มีลักษณะเสวยอารมณ์ที่ไม่ดีเป็นเวทนาขันธ์

(๒) ปฏิฆะเป็นโทสเจตสิก มีลักษณะดุร้าย หยาบคาย เป็นสังขารขันธ์

โทมนัสเวทนาจะต้องเกิดกับปฏิฆะเสมอ เพราะเป็นธรรมที่ต้องเกิดร่วมกัน

 

สอบถาม ปัญหาธรรมะ ได้ที่ลานธรรมมูลนิธิ ค่ะ...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...