The Wayback Machine - https://web.archive.org/web/20180403011536/http://abhidhamonline.org:80/aphi/p1/020.htm

ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

อกุสลจิตเป็นธรรมที่ควรละ

อกุสลจิต เป็นจิตที่ชั่ว ที่บาป มีโทษและให้ผลเป็นทุกข์ จึงเป็นธรรมที่ควรละ

โลภมูลจิต เป็นจิตที่เกิดจากความโลภ ความอยากได้ ถ้าไม่ระมัดระวังไว้บ้างก็จะอยากได้จนหาประมาณหาที่สุดมิได้ จงละด้วยสันโดษ

๑. ความพอใจเท่าที่มีอยู่

๒. ความพอใจเท่าที่กำลังตนจะหาได้

๓. ความพอใจเท่าที่จะพึงหาได้โดยชอบธรรม

โทสมูลจิต เป็นจิตที่เกิดจากความเกลียด โกรธ ประทุษร้าย ทำลาย อันมีแต่ความวู่วามก่อให้เกิดโทษ จงละด้วยเมตตา โดยพิจารณาเสมอ ๆ ว่า ตัวเราเกลียดทุกข์ ต้องการความสุขฉันใด ผู้อื่นสัตว์อื่นก็เกลียดทุกข์แสวงสุขเหมือนตัวเราฉันนั้น

วิธีที่จะประหานโทสะ ๖ ประการ คือ

๑. ศึกษาในเมตตานิมิต

๒. ประกอบภาวนาในเมตตาบ่อย ๆ

๓. พิจารณาว่าเป็นกรรมของตน

๔. ทำให้มากด้วยปัญญา

๕. มีมิตรที่ดี (ที่มีเมตตา)

๖. ได้ฟังถ้อยคำที่สบาย (เมตตากถา)

โมหมูลจิต แม้จะไม่เห็นโทษเด่นชัด แต่ก็มีโทษไม่น้อย เปรียบเสมือนสนิมเหล็กที่กัดกินเนื้อเหล็กให้กร่อนลงทีละน้อย จนขาดผุไปอย่างไม่รู้ตัว วิธีประหานโมหะ

เหตุที่ประหานวิจิกิจฉา ๖ ประการ

๑. เป็นพหูสูต ได้ยินได้ฟังมามาก

๒. หมั่นสอบสวนทวนถาม

๓. รอบรู้ชำนาญและเคร่งในวินัย

๔. มากด้วยการตัดสินใจเชื่อ

๕. มีมิตรที่ดี

๖. ได้ฟังถ้อยคำอันเป็นที่สบาย (สัปปายกถา)

เหตุที่ประหานอุทธัจจะ ๖ ประการ

๑. เป็นพหูสูต ได้ยินได้ฟังมามาก

๒. หมั่นสอบสวนทวนถาม

๓. รอบรู้ชำนาญและเคร่งในวินัย

*๔. ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าบ่อย ๆ

๕. มีมิตรที่ดี

๖. ได้ฟังถ้อยคำอันเป็นที่สบาย (สัปปายกถา)

 

สอบถาม ปัญหาธรรมะ ได้ที่ลานธรรมมูลนิธิ ค่ะ...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...