The Wayback Machine - https://web.archive.org/web/20180403003727/http://abhidhamonline.org:80/aphi/p1/023.htm

ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

อเหตุกกุสลวิบากจิต เป็นจิตที่เป็นผลของกุสลกรรม เป็นผลของฝ่ายดีฝ่ายบุญกุสล ที่ได้กระทำสั่งสมมาแต่อดีต จึงได้มารับผลเป็น อเหตุกกุสลวิบากจิต อันเป็นผลที่ดี มี ๘ ดวงดังนี้

๑. อุเปกขาสหคตัง กุสลวิปากัง จักขุวิญญาณัง

จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ เป็นผลของกุสล เห็นรูปที่ดี

๒. อุเปกขาสหคตัง กุสลวิปากัง โสตวิญญาณัง

จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ เป็นผลของกุสล ได้ยินเสียงที่ดี

๓. อุเปกขาสหคตัง กุสลวิปากัง ฆานวิญญาณัง

จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ เป็นผลของกุสล ได้กลิ่นที่ดี

๔. อุเปกขาสหคตัง กุสลวิปากัง ชิวหาวิญญาณัง

จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ เป็นผลของกุสล ได้รสที่ดี

๕. สุขสหคตัง กุสลวิปากัง กายวิญญาณัง

จิตเกิดพร้อมด้วยสุขเวทนา เป็นผลของกุสล กายได้สัมผัสถูกต้องสิ่งที่ดี

๖. อุเปกขาสหคตัง กุสลวิปากัง สัมปฏิจฉันจิตตัง

จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ เป็นผลของกุสล รับอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดี

๗. อุเปกขาสหคตัง กุสลวิปากัง สันตีรณจิตตัง

จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ เป็นผลของกุสล พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดี

๘. โสมนัสสหคตัง กุสลวิปากัง สันตีรณจิตตัง

จิตเกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนาเป็นผลของกุสล พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดี

อเหตุกกุสลจิตดวงที่ ๑-๔ เกิดพร้อมกับอุเบกขาเวทนา คือความเฉย ๆ อย่างเดียว ไม่รู้สึกเป็นสุข (เป็นการกระทบกันระหว่างอุปาทายรูปกับอุปาทายรูป)

ส่วนอเหตุกกุสลวิบากจิต ดวงที่ ๕ เกิดพร้อมด้วยสุขเวทนา เพราะกายวิญญาณเกิดขึ้นโดยอาศัยการกระทบกันระหว่างมหาภูตรูป(คือความแข็ง ความร้อน) กับอุปาทายรูป (คือกายปสาท) จึงรู้สึกเป็นสุขเวทนากับกายปสาทขึ้น

อนึ่ง อเหตุกกุสลวิบากจิต มีมากกว่า อกุสลวิบากจิต ๑ ดวง คือโสมนัสสันตีรณจิต ซึ่งทางฝ่ายอกุสลวิบากจิตไม่มีโทมนัสสันตีรณจิตเป็นคู่กันเหมือน ๗ คู่ข้างต้นนั้น ก็เพราะโทมนัสเป็นโทสะ เมื่อเกิดโทสะต้องมีโมหะหนุน จึงเป็นการมีเหตุประกอบ คือ โทสเหตุ กับโมหเหตุ ถ้าเข้าประกอบก็มิใช่ อเหตุกจิต ด้วยเหตุนี้ทางด้านอกุสลวิบากจิตจึงไม่มีโทมนัสสันตีรณจิต

 

สอบถาม ปัญหาธรรมะ ได้ที่ลานธรรมมูลนิธิ ค่ะ...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...