ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 ค้นหาหัวข้อธรรม
อเหตุกกิริยาจิต
เป็นจิตที่ไม่ใช่ผลของบาปอกุสลหรือบุญกุสล
ทั้งเป็นจิตที่ไม่ใช่เป็นตัวกุสลหรืออกุสล
ไม่ประกอบด้วยเหตุ ๖
เป็นจิตที่สักแต่ว่ากระทำไปตามหน้าที่การงานของตนเท่านั้น
จึงไม่สามารถจะก่อให้เกิดผลบุญหรือบาปต่อไปได้
มีจำนวน ๓ ดวง ดังนี้
๑. อุเปกขาสหคตัง
ปัญจทวาราวัชชนจิตตัง
จิตเกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ
พิจารณาอารมณ์ทางทวารทั้ง ๕
มีความหมายว่า
เป็นจิตที่พิจารณาอารมณ์ที่มากระทบว่าเป็นอารมณ์ทางทวารไหน
จะได้ให้สัญญาณแก่วิญญาณจิตทางทวารนั้นรับอารมณ์
เปรียบเหมือนนายประตูที่รักษาประตูพระราชวัง
คอยเปิดให้เข้าตามฐานะของบุคคลนั้น
ๆ
๒. อุเปกขาสหคตัง
มโนทวาราวัชชนจิตตัง
จิตที่เกิดพร้อมด้วยความเฉย ๆ
พิจารณาอารมณ์ทางมโนทวาร
มีความหมายว่า
จิตนี้ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์ ๕
ทางทวาร ๕
และมีหน้าที่พิจารณาอารมณ์ทั้ง
๖ ที่เกิดทางมโนทวาร
คือทางใจนึกคิดโดยตรงด้วย
๓. โสมนัสสหคตัง หสิตุปปาทจิตตัง
จิตที่ยิ้มแย้มของพระอรหันต์
เกิดพร้อมด้วยความโสมนัส
มีความหมายว่าจิตดวงนี้เป็นจิตยิ้มแย้มของพระอรหันต์ทั้งหลายโดยเฉพาะ
บุคคลอื่นที่ไม่ใช่พระอรหันต์ไม่ได้ยิ้มแย้มด้วยจิตดวงนี้
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ