ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 ค้นหาหัวข้อธรรม
อุปปัตติเหตุ
แห่งอเหตุกจิต
อเหตุกจิต เป็นจิตที่ไม่มีเหตุ ๖
คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
อโลภเหตุ อโทสเหตุ และอโมหเหตุ
ประกอบเลย
แต่ว่าอเหตุกจิตเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีเหตุ
เหตุที่ให้เกิดขึ้นนี้มีชื่อว่า
อุปัตติเหตุ ที่เราเรียกกันว่า
อุบัติเหตุ ไม่ใช่เหตุ ๖
แต่เป็นเหตุที่ให้เกิด
อุบัติเหตุนั้นมีดังนี้
อุปปัตติเหตุให้เกิด
จักขุวิญญาณจิต
๑. จักขุปสาท มีประสาทตาดี
มีนัยตาดี
๒. รูปารมณ์ มีรูป คือ สีต่าง ๆ
๓. อาโลกะ มีแสงสว่าง
๔. มนสิการ มีความสนใจ (ปัญจทวาราวัชชนะ)
อุปปัตติเหตุให้เกิด
โสตวิญญาณจิต
๑. โสตปสาท มีประสาทหูดี
๒. สัททารมณ์ มีเสียง
๓. วิวรากาส มีช่องว่างของหู (มีอากาศ)
๔. มนสิการ มีความสนใจ (ปัญจทวาราวัชชนะ)
อุปปัตติเหตุให้เกิด
ฆานวิญญาณจิต
๑. ฆานปสาท มีประสาทจมูกดี
๒. คันธารมณ์ มีกลิ่น
๓. วาโยธาตุ มีธาตุลม
๔. มนสิการ มีความสนใจ (ปัญจทวาราวัชชนะ)
อุปปัตติเหตุให้เกิด
ชิวหาวิญญาณจิต
๑. ชิวหาปสาท มีประสาทลิ้นดี
๒. รสารมณ์ มีรส
๓. อาโปธาตุ มีธาตุน้ำ
๔. มนสิการ มีความสนใจ (ปัญจทวาราวัชชนะ)
อุปปัตติเหตุให้เกิด
กายวิญญาณจิต
๑. กายปสาท มีประสาทกายดี
๒. โผฏฐัพพารมณ์ มีแข็ง อ่อน ร้อน
เย็น หย่อน ตึง
๓. ถัทธปฐวี
มีปฐวีธาตุที่มีลักษณะแข็ง
๔. มนสิการ มีความสนใจ (ปัญจทวาราวัชชนะ)
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ