The Wayback Machine - https://web.archive.org/web/20180403003812/http://abhidhamonline.org:80/aphi/p1/049.htm

ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

วิบากจิตมีหน้าที่เป็นวิบาก ผลของกุสลและอกุสล โดย

๑. ทำหน้าที่ปฏิสนธิ

๒. เป็นภวังค เป็นองค์แห่งภพรักษาภพชาติ

๓. ทำหน้าที่เป็น ตทาลัมพนะ

๔. ทำหน้าที่จุติจากภพชาติ

มหาวิบากจิต ได้สั่งสมผลของกรรมดีกรรมชั่วที่ได้กระทำไว้เพื่อสืบต่อให้ผลต่อไป เหมือนเมล็ดพืชซึ่งสั่งสมชีวภาวะไว้ในเมล็ด เมื่อนำเม็ดไปเพาะในสภาพแวดล้อมที่พอดี (เหตุและปัจจัยพร้อม) สมบูรณ์แล้ว เมล็ดพืชนั้นก็จะงอกงามออกมาเป็นต้น พืชแต่ละชนิด เช่น เมล็ดมะม่วงก็จะงอกเงยเป็นต้นมะม่วง เป็นต้น ในขณะที่เมล็ดยังไม่งอกออกนั้น ต้นก็อยู่ในเมล็ดเหมือน วิบาก ที่ทำไว้เมื่อเหตุปัจจัยยังไม่พร้อมก็จะรออยู่ เพื่อให้ผลเมื่อเหตุและปัจจัยพร้อม

วิบากจิต จะทำหน้าที่กักเก็บ สิ่งที่เป็นกุสลหรืออกุสลไว้ ๗ อย่างดังนี้

๑. วิปากกิจ ทำหน้าที่เป็นผลของกรรมแต่ปางก่อน (ปฏิสนธิ, ภวังค, ตทาลัมพนะ, จุติ)

๒. อาเสวนกิจ ทำหน้าที่อาเสวนะ คือเสพบ่อย ๆ

๓. อุปนิสสยกิจ ทำหน้าที่เป็นอุปนิสสัย คือความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นในสันดาน

๔. วาสนกิจ ทำหน้าที่เป็นวาสนา (กิเลสละได้แต่วาสนาละได้ยาก แม้พระสารีบุตรก็ยังละวาสนาไม่ได้ มีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้นที่ละได้ทั้งกิเลสและวาสนา วาสนาเปรียบเทียบได้เหมือนกลิ่นน้ำปลาที่ติดอยู่ในไหใส่น้ำปลา แม้จะเทน้ำปลาในไหออกแล้ว กลิ่นน้ำปลาก็ยังติดอยู่ในไหล้างไม่ออก น้ำปลาสมมติเป็นกิเลส กลิ่นที่ติดไหสมมติเป็นวาสนา)

๕. อนุสยกิจ ทำหน้าที่เป็นอนุสัยนอนเนื่องในขันธสันดาน (กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดาน) มี ๗ คือ

๑) กามราคะ ความกำหนัดในกาม

๒) ปฏิฆะ ความหงุดหงิด

๓) ทิฏฐิ ความเห็นผิด

๔) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

๕) มานะ ความถือตัว

๖) ภวราคะ ความกำหนัดในภพ

๗) อวิชา ความไม่รู้จริง



๖. จริตกิจ ทำหน้าที่เป็นจริตพื้นนิสัย มี ๖ คือ

๑) ราคจริต หนักไปทางรักสวยรักงามมักติดใจ น้ำเลี้ยงหัวใจมีสีแดง

๒) โทสจริต หนักไปทางใจร้อนหงุดหงิด น้ำเลี้ยงหัวใจสีดำ

๓) โมหจริต หนักไปทางเหงา ซึม งมงาย น้ำเลี้ยงหัวใจสีหม่นเหมือนน้ำล้างเนื้อ

๔) สัทธาจริต หนักไปทางโน้มใจเชื่อ น้ำเลี้ยงหัวใจสีเหลืองอ่อน คล้ายสีดอกกัณณิกา

๕) วิตกจริต หนักไปทางคิดจับจด ฟุ้งซ่าน น้ำเลี้ยงหัวใจสีเหมือนน้ำเยื่อถั่วพู

๖) พุทธิจริต หนักไปทางคิด พิจารณา น้ำเลี้ยงหัวใจสีขาวเหมือนสีแก้วเจียรนัย

๗. บารมีกิจ ทำหน้าที่เป็นบารมี (คุณความดีที่ได้บำเพ็ญมา คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่)

 

สอบถาม ปัญหาธรรมะ ได้ที่ลานธรรมมูลนิธิ ค่ะ...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...