ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 ค้นหาหัวข้อธรรม
นิวรณ์ของฌาน
นิวรณ์อันเป็นเครื่องกีดขวางไม่ให้เกิดฌานได้นั้น
มี ๕ ประการ คือ กามฉันทนิวรณ์
พยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
และวิจิกิจฉานิวรณ์
๑. กามฉันทนิวรณ์
คือความติดใจในกามคุณอารมณ์
อันมี รูป เสียง กลิ่น รส
และการสัมผัสถูกต้อง
ซึ่งเปรียบไว้ว่าเหมือนน้ำที่ระคนด้วยสี
ถ้ามัวไปเพลิดเพลินติดใจในสิ่งเหล่านี้เป็นไม่ได้ฌานแน่
ต้องใช้เอกัคคตาเผากามฉันทนิวรณ์อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย
๒. พยาปาทนิวรณ์
ความมุ่งจะปองร้ายผู้อื่น
ซึ่งเปรียบไว้ว่าเหมือนน้ำที่เดือดพล่าน
ถ้ามัวแต่ครุ่นคิดปองร้ายผู้อื่นอยู่
ฌานจิตก็เกิดไม่ได้
ต้องใช้ปิติเผาพยาปาทนิวรณ์อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ ความหดหู่
ความท้อถอยไม่ใส่ใจเป็นอันดีต่ออารมณ์ที่เพ่งนั้น
ซึ่งเปรียบเหมือนน้ำที่มีจอกมีแหนปิดบังอยู่
ถ้าใจท้อถอยคลายความใส่ใจในอารมณ์ที่เพ่งนั้นแล้ว
ย่อมไม่เกิดผลให้ถึงฌานได้
ต้องใช้วิตกเผาถีนมิทธนิวรณ์อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ
ซึ่งเปรียบไว้ว่าเหมือนน้ำที่ถูกลมพัดกระเพื่อมอยู่เสมอ
ถ้าจิตใจเลื่อนลอยซัดส่ายอยู่เรื่อย
ๆ แล้วก็ไม่เป็นฌานจิต
ต้องใช้สุขเผาอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์
ความลังเลไม่แน่ใจ
ซึ่งเปรียบไว้ว่าเหมือนน้ำที่ขุ่นเป็นตมหรือน้ำที่ตั้งอยู่ในที่มืด
ถ้าเกิดลังเลใจไม่แน่ใจอยู่ตราบใด
ก็เป็นอันว่าไม่ทำให้ถึงฌานได้อยู่ตราบนั้น
ต้องใช้วิจารเผาวิจิกิจฉานิวรณ์
อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ