ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 ค้นหาหัวข้อธรรม
องค์ฌาน ๕ เผานิวรณ์ ๕
ประการนั้น มีอธิบายไว้ดังนี้
๑. วิตก คือการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์
เริ่มแรกทำฌานต้องมีสิ่งสำหรับเพ่ง
เป็นต้นว่า
ใช้ดินมาทำเป็นดวงกสิณ
ต้องยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ คือ
เพ่งดวงกสิณนี้
ไม่ให้จิตใจไปคิดอะไรอื่น
ถ้าจิตไปคิดอะไรอื่นก็หมายความว่า
มีถีนมิทธ คือ
จิตหดหู่ท้อถอยจากอารมณ์ที่เพ่ง
คลายความใส่ใจในอารมณ์ที่เพ่ง
เป็นจิตที่ตกไปจากดวงกสิณแล้ว
ต้องยกจิตให้กลับมาที่ดวงกสิณใหม่
คือให้เพ่งดวงกสิณอีก
จนไม่เคลื่อนไปจากดวงกสิณอีกเลย
เช่นนี้เป็นอันว่ามีวิตกโดยสมบูรณ์
เมื่อจิตมี
วิตกอยู่เฉพาะดวงกสิณ
ก็ได้ชื่อว่าเผาหรือข่มถีนมิทธได้แล้ว
เพราะจิตไม่ท้อถอยคลาดเคลื่อนไปจากดวงกสิณเลย
๒. วิจาร คือ
การประคองจิตให้มั่นอยู่ในอารมณ์ที่เพ่ง
เมื่อวิตกยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ที่เพ่งแล้ว
วิจารก็ประคองจิตไม่ให้ตกไปจากอารมณ์ที่เพ่ง
ไม่ให้ลังเลใจว่าการเพ่งเช่นนี้จะได้ฌานละหรือ
ถ้าเกิดลังเลใจขึ้น
จิตก็จะหน่ายในการประคองจิต
ก็จะตกไปจากอารมณ์ที่เพ่ง
ความลังเลใจเป็นวิจิกิจฉา
เมื่อประคองจิตไม่ให้ตกไปจากอารมณ์ที่เพ่งโดยปราศจากความลังเลใจ
ก็ได้ชื่อว่ามี วิจาร โดยสมบูรณ์
เผาหรือข่มวิจิกิจฉานิวรณ์ แล้ว
๓. ปิติ คือ ความปลาบปลื้มใจ
อิ่มเอิบในการเพ่งอารมณ์
เมื่อได้ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์
ประคองจิตให้อยู่ในอารมณ์
โดยปราศจากการท้อถอยและลังเลใจแล้ว
ย่อมเกิดความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจในการกระทำเช่นนั้น
ขณะที่จิตมีปิติปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจอยู่
ขณะนั้นจิตก็ไม่ได้คิดไปถึงความพยาบาทมุ่งจะทำร้ายขุ่นเคืองใครจึงได้ชื่อว่า
ปิติ นี้เผาหรือข่มพยาปาทนิวรณ์
ได้แล้ว
ปิติที่เป็นองค์ฌาน
สามารถเผาหรือข่มพยาปาทนิวรณ์ได้นั้น
ต้องถึงขั้น ผรณาปิติ ส่วนปิติ
อีก ๔ ไม่นับว่าเป็นองค์ฌาน
เพราะยังเป็นของหยาบและมีกำลังน้อยอยู่
๔. สุข ในองค์ฌานนี้ หมายถึง
ความสุขใจ คือ โสมนัสเวทนา
เมื่อยกจิตขึ้นสู่อารมณ์
ประคองจิตจนตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์
ถึงกับเกิดปิติแล้ว
ย่อมเป็นสุขใจยิ่งนัก
ความสุขก็คือ ความสงบ
ปราศจากความฟุ้งซ่านรำคาญใจเป็นธรรมดา
จึงได้ชื่อว่า
สุขนี้เผาหรือข่มอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
ได้แล้ว
๕. เอกัคคตา
คือจิตที่มีสมาธิแน่วแน่ในอารมณ์เดียว
เมื่อจิตตั้งอยู่ในอารมณ์ที่เพ่งดังที่กล่าวมาเป็นลำดับเช่นนี้แล้ว
ขณะนั้นจิตก็ไม่ได้มีอารมณ์อื่นใดอีกเลย
หมายความว่า
ขณะนั้นไม่ได้คิดคำนึงถึง รูป
เสียง กลิ่น รส หรือการสัมผัส
แต่ประการใด ๆ ทั้งสิ้น
แน่วแน่แต่อารมณ์ที่เพ่งอย่างเดียวเท่านั้น
จึงได้ชื่อว่า เอกัคคตา
นี้เผาหรือข่มกามฉันทนิวรณ์
ได้แล้ว
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ