ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 ค้นหาหัวข้อธรรม
๕. ปัญจมฌาน
มีองค์ฌานเพียง ๒
เท่ากับจตุตถฌาน
แต่ไม่เหมือนกับจตุตถฌาน คือ
จตุตถฌานมี สุข กับ เอกัคคตา
เป็นองค์ฌาน ส่วนปัญจมฌาน มี
อุเบกขา กับ เอกัคคตา เป็นองค์ฌาน
สุขที่เป็นองค์ฌานนี้ หมายถึง
สุขใจ คือ โสมนัสเวทนา
โสมนัสเวทนาในฌานเป็นของหยาบ
มีอานิสงส์น้อยกว่าอุเบกขาเวทนาในฌาน
เมื่อจตุตถฌานลาภีบุคคลมีวสีในจตุตถฌานแล้ว
พิจารณาเห็นว่าปัญจมฌานเป็นฌานที่ประณีตกว่าจตุตถฌาน
จึงได้ละสุขเสีย
มาตั้งอยู่ในความวางเฉยต่อความสุข
คือ อุเบกขา
ดังนั้นขณะที่เกิดปัญจมฌานจิตจึงพร้อมด้วยองค์ฌาน
๒ คือ อุเบกขา กับ เอกัคคตา
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า รูปาวจรจิต
มี ๕
ฌานนั้นแตกต่างกันที่องค์ฌานของฌานแต่ละฌานแต่ละชั้น
ซึ่งมีจำนวนมากน้อยลดหลั่นกันเป็นข้อสำคัญ
ส่วนอารมณ์นั้นอาจจะเป็นอารมณ์อย่างเดียวกัน
ไม่แตกต่างกันก็ได้
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ