ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 ค้นหาหัวข้อธรรม
ฌานจตุกนัย
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วเป็นการกล่าวตามนัยแห่งพระอภิธรรม
ซึ่งจำแนกฌานออกเป็น ๕ ประเภท
เรียกว่า ฌานปัญจกนัย
แต่ตามนัยแห่งพระสุตตันตปิฎก
คือ ตามแนวพระสูตร
จำแนกฌานออกไว้เป็น ๔ ประเภท
เรียกว่า ฌานจตุกนัย ดังนี้
ปฐมฌาน มีองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร
ปิติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน " ๓ คือ ปิติ สุข
เอกัคคตา
ตติยฌาน " ๒ คือ สุข เอกัคคตา
จตุตถฌาน " ๒ คือ อุเบกขา
เอกัคคตา
น้อยกว่าตามนัยแห่งพระอภิธรรม ๑
ฌาน โดยทุติยฌานละได้ทั้ง
วิตกและวิจารพร้อมกันเลย
เท่ากับรวมทุติยฌานกับตติยฌานทางปัญจกนัย
๒ ฌาน รวมเป็นฌานเดียว
ซึ่งทางจตุกนัยจัดเป็นทุติยฌานเท่านั้น
ฌานอื่น ๆ นอกนั้นเหมือนกัน
ส่วนทางพระอภิธรรมที่จำแนกเป็นปัญจกนัย
ก็เพื่อให้ตรงตามสภาวะตรงตามประเภทจิต
และตรงตามจำนวนของจิตที่มีอยู่
และที่ทุติยฌานละได้แต่เพียงวิตกอย่างเดียว
ต่อเมื่อถึงตติยฌานจึงจะละวิจารได้อีกนั้น
ก็เพราะเป็น มันทบุคคล
คือผู้รู้ช้า
จึงละได้เพียงฌานละหนึ่งองค์ฌานเท่านั้นแต่ถ้าเป็น
ติกขบุคคล คือผู้รู้เร็ว
ก็ละได้ทีเดียวทั้ง วิตก วิจาร
เหมือนกัน
เหตุนี้ทางพระสูตรจึงแสดงว่า
รูปฌานมี ๔ อรูปฌานมี ๔ รวมเป็น
ฌาน ๘
และเมื่อกล่าวถึงการเข้าฌานสมาบัติจึงกล่าวว่า
สมาบัติ ๘
ทางพระอภิธรรมแสดงว่า รูปฌานมี ๕
อรูปฌานมี ๔ รวมเป็น ฌาน ๙ สมาบัติ
๙
ฌานตามแนวพระอภิธรรมที่กล่าวถึงอยู่นี้
มี ๕ ฌาน เมื่อจำแนกโดยชาติเภท มี
กุสล วิบาก กิริยา เรียกว่า
รูปาวจรกุสลจิต ๕
รูปาวจรวิบากจิต ๕
รูปาวจรกิริยาจิต ๕
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ