The Wayback Machine - https://web.archive.org/web/20180403011653/http://abhidhamonline.org:80/aphi/p1/076.htm

ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

อรูปาวจรจิต

อรูปาวจรจิต เป็นจิตของผู้ถึงอรูปฌาน เป็นจิตที่ถึงซึ่งอรูปฌาน อรูปาวจรจิตเป็นฌานจิตของผู้ที่ได้เจริญรูปาวจรจิตได้ถึง ฌาน ๕ แล้วเห็นว่ารูปเป็นเหตุให้เกิดราคะ เกิดตัณหา จึงต้องการให้เกิด วิราคะ ซึ่งเป็นภาระอันหนัก จึงพยายามเจริญฌานโดยละรูปเสีย ในขณะที่เจริญรูปาวจรฌานที่ ๕ แล้วภาวนาละรูป (เพิกรูป=ไม่ใส่ใจในรูป)

อรูปาวจรจิต มี ๑๒ ดวง คือ เป็นกุสล ๔ วิบาก ๔ กิริยา ๔

อรูปาวจรจิต ตามประเภทแห่งอารมณ์ มี ๔ คือ

๑. มี อากาศที่ว่างเปล่าเป็นอารมณ์ คือบุคคลที่เจริญฌานจนได้ปัญจมฌาน โดยเพ่งกสิณจนเป็นปฏิภาคนิมิตแล้ว ได้เลิกใส่ใจในปฏิภาคนิมิตนั้นเสีย แล้วเจริญฌานโดยเพ่งอากาศว่างเปล่าโดยบริกรรมว่า อากาโส อนนฺโต อากาศไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าฌานจิตจะเกิดขึ้น ฌานจิตที่เกิดขึ้นโดยเพ่งอากาศที่ว่างเปล่าเป็นอารมณ์ ชื่อว่า อากาสานัญจายตนฌาน บางทีก็เรียกว่า ปฐมารูปจิต คือ ปฐมอรูปจิต เป็นอรูปาวจรจิตชั้นต้น

๒. มี อากาสานัญจายตนจิต เป็นอารมณ์ โดยบริกรรมว่า วิญฺญาณํอนนฺตํ วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าฌานจิตจะเกิดขึ้น ฌานจิตที่เกิดขึ้นโดยมีอากาสานัญจายตนจิตเป็นอารมณ์นี้ ชื่อว่า วิญญานัญจายตนฌาน วิญญาณในที่นี้ หมายเอาตัวรู้ที่ไปรู้จิต(ที่มีอากาศไม่มีที่สุดนั้นแหละ)เป็นอารมณ์ บางทีเรียกว่า ทุติยารูปจิต คือ ทุติย อรูปาจิต เป็นอรูปาวจรจิตชั้นที่ ๒

๓. มี สภาพที่ไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์ โดยเจริญวิญญาณัญจายตนฌานบ่อย ๆ จนชำนาญ ก็จะรู้สึกขึ้นมาว่า วิญญาณ คือตัวรู้ ที่รู้ว่าอากาศไม่มีที่สุดก็ดี แม้แต่อากาศที่ไม่มีที่สุดนั้นเองก็ดี ความจริงไม่มีอะไรแม้สักหน่อยหนึ่ง จึงได้มาเพ่งถึงความไม่มี โดยบริกรรม นตฺถิ กิญฺจิ นิดหนึ่งก็ไม่มี หน่อยหนึ่งก็ไม่มี จนกว่าฌานจิตจะเกิดขึ้น ฌานจิตที่เกิดขึ้นโดยมี นัตถิภาวบัญญัติ เป็นอารมณ์ชื่อว่า อากิญจัญญายตนฌาน บางทีเรียกว่า ตติยารูปจิต คือ ตติยอรูปจิต เป็น อรูปาวจรจิตชั้นที่ ๓

๔. มี อากิญจัญญายตนจิตเป็นอารมณ์ โดยกำหนดเอาความประณีต ความละเอียดของตติยารูปจิตเป็นอารมณ์ โดยความรู้สึกที่ว่า สัญญา คือจิตที่รู้ว่านิดหนึ่งก็ไม่มี หน่อยหนึ่งก็ไม่มีนั้นจะว่าไม่มีก็ไม่ใช่ เพราะยังมีตัวรู้ว่าไม่มีอยู่จะว่ามีก็ไม่เชิงเพราะสัญญานั้นประณีต ละเอียดอ่อนและสงบมากเหลือเกิน จนแทบจะไม่รู้ว่ามี ดังนั้นจึงกำหนดเพ่งธรรมชาติที่สงบประณีต โดยบริกรรมว่า เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ สงบหนอ ประณีตหนอ จนกว่าฌานจิตจะเกิดขึ้น ฌานจิตที่เกิดขึ้นนี้ชื่อว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แปลว่า ฌานที่ไม่มีสัญญาหยาบมีแต่สัญญาละเอียด เรียกว่า จตุตถารูปจิต คือ จตุตถอรูปจิต เป็นอรูปาวจรจิตชั้นที่ ๔ อันเป็นชั้นสูงสุดเพียงนี้

อรูปาวจรจิต อรูปจิต อรูปฌาน ซึ่งมี ๔ ชั้น หรือ ๔ ฌานนี้ แตกต่างกันด้วยประเภทแห่งอารมณ์ ไม่ใช่ต่างกันด้วยองค์ฌาน เพราะองค์ฌานของอรูปฌานมี ๒ องค์ คือ อุเบกขา กับเอกัคคตาเท่ากัน เหมือนกันทั้ง ๔ ชั้น

อนึ่ง องค์ฌานของอรูปฌานนี้เท่ากัน และเหมือนกันกับองค์ฌานของรูปาวจรปัญจมฌาน จึงจัดว่า อรูปฌาน เป็นปัญจมฌานด้วย

อรูปาวจรจิตหรือ อรูปฌาน ๔ จำแนกโดยชาติได้ คือ อรูปาวจรกุสลจิต อรูปาวจรวิบากจิต และ อรูปาวจรกิริยาจิต ก็มีอย่างละ ๔ คือ

 

สอบถาม ปัญหาธรรมะ ได้ที่ลานธรรมมูลนิธิ ค่ะ...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...