ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 ค้นหาหัวข้อธรรม
การประหารกิเลส
กิเลส คือ
ธรรมชาติที่เศร้าหมองและเร่าร้อน
เมื่อกิเลสเกิดพร้อมกับจิตใดหรือประกอบกับจิตใดแล้วก็ทำให้จิตนั้นเศร้าหมองและเร่าร้อนไปด้วย
กิเลสนี้ประกอบเฉพาะอกุสลจิตเท่านั้น
ดังนั้นการประหารกิเลสเท่ากับประหารอกุสลจิตนั่นเอง
กิเลสนี้แบ่งเป็น ๓ ชั้น คือ
๑. วิติกกมกิเลส
ได้แก่กิเลสที่เกิดขึ้นชั้นนอก
หมายความว่ากิเลสพวกนี้ได้ล่วงออกมาแล้วถึงกายทวารหรือวจีทวาร
คือถึงกับลงมือกระทำการทุจริตทางกายหรือทางวาจาแล้ว
กิเลสชนิดนี้ระงับไว้ได้ด้วยสีลเป็นการระงับไว้ได้ชั่วคราวชั่วขณะที่ยังรักษาสีลอยู่
การระงับ การข่ม
หรือการประหารเช่นนี้เรียกว่า
ตทังคปหาน
หมายความว่าขณะใดที่จิตเป็นมหากุสลอยู่กิเลสเหล่านี้ก็สงบระงับไปชั่วขณะ
ไม่สามารถประกอบกับจิตก่อให้เกิดกายทุจริตหรือวจีทุจริตได้ในชั่วขณะนั้น
๒. ปริยุฏฐานกิเลส
ได้แก่กิเลสที่อยู่ภายใน
หมายความว่ากิเลสจำพวกนี้เกิดอยู่ในมโนทวาร
คือคิดอยู่ในใจเท่านั้น
ไม่ถึงกับแสดงออกมาทางกายหรือทางวาจา
ตัวเองรู้ได้
ผู้อื่นบางทีก็รู้บางทีก็ไม่รู้
กิเลสชนิดนี้ข่มไว้ได้ด้วยสมาธิ
คือ
ฌานข่มไว้หรือระงับไว้ได้นานตราบเท่าที่ฌานยังไม่เสื่อม
เรียกว่า วิกขัมภนปหาน
๓. อนุสยกิเลส
ได้แก่กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในจิตตสันดาน
ซึ่งตนเองและผู้อื่นก็ไม่สามารถรู้ได้
กิเลสจำพวกนี้ต้องประหารด้วยปัญญา
อันหมายถึงมัคคจิต
ซึ่งมัคคจิตสามารถประหารได้จนหมดสิ้นสูญเชื้อได้โดยสิ้นเชิง
ที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ