The Wayback Machine - https://web.archive.org/web/20180403005846/http://abhidhamonline.org:80/aphi/p1/098.htm

ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74
75
76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94
95 96 97 98 99 100
101 102 103 104
105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115
ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

อีกนัยหนึ่งนั้น จำแนกพระอรหันต์เป็น ๒ ประเภท โดยจำแนกเป็นอรหันต์ผู้มี ปฏิสัมภิทาญาณ และพระอรหันต์ ผู้ไม่มี ปฏิสัมภิทาญาณ

ปฏิสัมภิทาญาณ คือ ถึงพร้อมด้วยความรู้อันแตกฉาน แปลสั้นๆ ว่าปัญญาแตกฉาน ปฏิสัมภิทาญาณ มี ๔ ประการ คือ

๑. อตฺถปฏิสมฺภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในผลทั้งปวง อันบังเกิดจากเหตุชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทาญาณ

อัตถะ หรือ ผล นั้นได้แก่ ธรรม ๕ ประการ คือ

ก. ยํ กิญฺจิ ปจฺจยสมฺภูตํ คือ รูปธรรมทั้งปวงที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยประชุมปรุงแต่ง

ข. นิพฺพานํ คือ พระนิพพาน

ค. ภาสิตตฺโถ คือ อรรถที่กล่าวแก้ให้รู้วิบากขันธ์ ๓๒ ดวง*

ง. กิริยาจิตฺตํ คือ กิริยาจิต ๒๐ ดวง**

จ. ผลจิตฺตํ คือ ผลจิต ๔ ดวง***

๒. ธมฺมปฏิสมฺภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในเหตุที่ทำให้บังเกิดผล ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ

* อกุสลวิบาก ๗ ดวง อเหตุกกุสลวิบาก ๘ ดวง มหาวิบาก ๘ ดวง มัคคตวิบาก ๙ ดวง

** อเหตุกกิริยา ๓ ดวง มหากิริยา ๘ ดวง มหัคคตกิริยา ๙ ดวง

***โสดาปัตติผลจิต ๑ดวง สกทาคามิผลจิต ๑ดวง อนาคามิผลจิต ๑ดวง อรหัตตผลจิต ๑ ดวง

ธรรม หรือ เหตุ นั้นได้แก่ ธรรม ๕ ประการ คือ

ก. โย โกจิ ผลนิพฺพตฺตโก เหตุ คือ เหตุทั้งปวงบรรดาที่ยังผลให้เกิดขึ้น

ข. อริยมคฺคโค คือ มัคคจิตทั้ง ๔ (โสดาปัตติมัคค สกทาคามิมัคค อนาคามิมัคค อรหัตตมัคค)

ค. ภาสิตํ คือ พระธรรมทั้ง ๓ ปิฎก (พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก)

ง. กุสลจิตฺตํ คือ กุสลจิต ๑๗ ดวง (มหากุสลจิต ๘ รูปาวจรกุสลจิต ๕ อรูปา วจรกุสลจิต ๔)

จ. อกุสลจิตฺตํ คืออกุสลจิต ๑๒ ดวง(โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ โมหมูลจิต๒)

๓. นิรุตฺติปฏิสมฺภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในภาษา คือ มีความสามารถและรู้จักใช้ถ้อยคำหรือภาษาอันเป็นบัญญัติที่เรียกกันว่า โวหาร ในการอธิบายขยายความแห่งอัตถปฏิสัมภิทาและธัมมปฏิสัมภิทา ให้ผู้สดับตรับฟังรู้และเข้าใจได้แจ่มแจ้งลึกซึ้งโดยถ้วนถี่ เช่นนี้เป็นต้น

๔. ปฏิภาณปฏิสมฺภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ คือ มีปัญญาว่องไว ไหวพริบ เฉียบแหลม คมคาย ในการโต้ตอบอัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทาและนิรุตติปฏิสัมภิทาทั้ง ๓ นั้นได้อย่างถูกต้องคล่องแคล่ว ชัดแจ้ง โดยฉับพลันทันที ความรู้แตกฉานเช่นนี้แหละชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ

 

สอบถาม ปัญหาธรรมะ ได้ที่ลานธรรมมูลนิธิ ค่ะ...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...