ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2
3 4 5 6 7
8 9 10 11 12
13 14 15 16 17
18 19 20 21 22
23 24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
72 73 74 75
76 77 78 79 80 81
82 83 84 85 86 87 88 89
90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100
101 102 103 104 105 106 107 108
109 110 111 112 113 114 115 ค้นหาหัวข้อธรรม
จำแนกโลกุตตรจิตโดยชาติเภทเป็นต้น
๑. ชาติเภท โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘
ดวงก็ดี โลกุตตรจิตโดยพิสดาร ๔๐
ดวงก็ดี จำแนกโดยชาติได้ ๒ คือ
โลกุตตรกุสลจิต หรือ มัคคจิต
โดยย่อ ๔ ดวงก็ดี โดยพิสดาร ๒๐ ดวง
ก็ดี เป็นชาติกุสล
โลกุตตรวิบากจิต หรือ ผลจิต
โดยย่อ ๔ ดวงก็ดี โดยพิสดาร ๒๐ ดวง
ก็ดี เป็นชาติวิบาก
ดังนั้นจึงเรียกกันสั้น ๆ ว่า
มัคคเป็นกุสล ผลเป็นวิบาก
๒. ภูมิเภท
โลกุตตรจิตเป็นโลกุตตรภูมิ
คือเป็นจิตชั้นที่เหนือยิ่งกว่าจิตชั้นใด
ๆ ทั้งสิ้น
๓. เวทนาเภท โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘
ดวงนั้น ถ้ามหากุสลญาณ
สัมปยุตตจิตที่เจริญวิปัสสนาภาวนา
เป็นโสมนัสสเวทนา
จนโลกุตตรจิตเกิด
โลกุตตรจิตที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นโสมนัสเวทนาเช่นเดียวกัน
ถ้ามหากุสลญาณสัมปยุตตจิต
ที่เจริญวิปัสสนาภาวนานั้นเป็นอุเบกขาเวทนาจนโลกุตตรจิตเกิด
โลกุตตรจิตที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นอุเบกขาเวทนาเช่นเดียวกัน
ส่วนโลกุตตรจิตโดยพิสดาร ๔๐
ดวงนั้น
เป็นโลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยฌานซึ่งฌานที่ประกอบกับโลกุตตรจิตนั้นมีเวทนาอย่างใด
โลกุตตรจิตนั้นก็มีเวทนาอย่างนั้น
กล่าวคือ
โลกุตตรจิตที่ประกอบด้วยปฐมฌานก็ดี
ทุติยฌานก็ดี ตติยฌานก็ดี
แม้จตุตถฌานก็ดี
เหล่านี้ย่อมเป็นโสมนัสเวทนา
เพราะฌานเหล่านั้นที่ประกอบกับโลกุตตรจิตเหล่านี้
เป็นฌานที่เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนา
โลกุตตรจิตประกอบด้วยปัญจมฌาน
ย่อมเป็นอุเบกขาเวทนา
เพราะปัญจมฌานนั้น
เป็นฌานที่เกิดพร้อมกับอุเบกขาเวทนา
๔. เหตุเภท
โลกุตตรจิตเป็นสเหตุกจิต
เป็นจิตที่มี สัมปยุตตเหตุ
และเหตุที่ประกอบก็ครบทั้ง ๓
เหตุเต็มที่คือ อโลภเหตุ
อโทสเหตุและอโมหเหตุ
๕. สังขารเภท โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘
ดวงก็ดี โดยพิสดาร ๔๐
ดวงก็ดีเป็นสสังขาริกจิต
ทั้งสิ้น
เพราะโลกุตตรจิตจะเกิดได้ก็โดยอาศัยมหากุสลญาณสัมปยุตตจิตเจริญวิปัสสนาภาวนามาก่อน
จึงต้องถือว่ามหากุสลญาณสัมป
ยุตตจิตนั้นแหละเป็นสิ่งที่ชักจูงให้โลกุตตรจิตเกิดขึ้น
๖. สัมปยุตตเภท
โลกุตตรจิตจะเป็นญาณสัมปยุตต
เป็นจิตที่ประกอบด้วยปัญญา
เป็นจิตที่มีปัญญา
ถ้าเป็นจิตที่ไม่มีปัญญา
เป็นจิตญาณวิปปยุตต
ไม่ใช้ปัญญาประกอบด้วยแล้ว
โลกุตตรจิตเกิดขึ้นไม่ได้เลยเป็นอันขาด
๗. โสภณเภท โลกุตตรจิตเป็นโสภณจิต
เป็นจิตที่ประเสริฐยิ่งกว่าจิตใด
ๆ ทั้งปวง
ไม่มีจิตใดจะประเสริฐเทียบเทียมได้เลย
๘. โลกเภท
โลกุตตรจิตประเภทเดียวเท่านี้แหละเป็นโลกุตตระ
หาใช่โลกียะไม่
นอกจากโลกุตตรจิตนี้แล้ว
จิตอื่น ๆ นั้น
เป็นโลกียจิตทั้งหมด
๙. ฌานเภท โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวง
เป็นจิตที่ไม่มีฌานจิตประกอบด้วยซึ่งเป็น
อฌานจิต
แต่อย่างใดก็ดี
โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘
ดวงที่ไม่ได้ฌานด้วยนี้
ก็ถือว่าเป็นปฐมฌาน
ถึงซึ่งปฐมฌานด้วย
ด้วยเหตุนี้จึงเห็นว่า
โลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงนี้
ควรจัดเป็นฌานจิตได้ด้วย
ส่วนโลกุตตรจิตโดยพิสดาร ๔๐
ดวงนั้น
เป็นจิตที่ประกอบด้วยฌานโดยแท้
จึงเป็น ฌานจิต อย่างไม่มีปัญหา
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ