ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2 3
4 5 6 7 8
9 10 11 12 13
14 15 16 17 18
19 20 21 22 23
24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
ค้นหาหัวข้อธรรม
เจตสิก คืออะไร
เจตสิก คือ ธรรมชาติสิ่งหนึ่ง
ซึ่งประกอบกับจิต
และปรุงแต่งจิตให้ประพฤติเป็นไปตามนั้น
อาการที่ประกอบกับจิตนั้น
เรียกว่า เจโตยุตฺตลกฺขณํ
คือมีสภาพที่ประกอบกับจิต
บริบูรณ์ด้วยลักษณะ ๔ ประการ คือ
เอกุปฺปาท เกิดพร้อมกับจิต
เอกนิโรธ ดับพร้อมกับจิต
เอกาลมฺพณ มีอารมณ์เดียวกับจิต
เอกวตฺถุก
อาสัยวัตถุเดียวกับจิต
สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต
ดับพร้อมกับจิต
มีอารมณ์เดียวกับจิต
และมีวัตถุที่อาสัยเกิดก็เป็นอันเดียวกับจิต
ธรรมชาตินั้นเรียกว่า เจตสิก
มีจำนวน ๕๒ ดวง
เจตสิก มี ลักษณะ (คือคุณภาพ
หรือเครื่องแสดง) รสะ (กิจการงาน
หรือหน้าที่) ปัจจุปัฏฐาน (อาการปรากฏ
หรือผล) ปทัฏฐาน (เหตุใกล้ให้เกิด)
เป็น ๔ ประการ ซึ่งรวมเรียก
ลักขณาทิจตุกะ นั้นดังนี้
จิตฺตนิสฺสิตลกฺขณํ
อาสัยจิตเกิดขึ้น เป็นลักษณะ
อวิโยคุปฺปาทนรสํ
เกิดร่วมกับจิต เป็นกิจ
เอกาลมฺพณปจฺจุปฏฺฐานํ
รับอารมณ์เดียวกับจิต เป็นผล
จิตฺตุปฺปาทปทฏฺฐานํ
มีการเกิดขึ้นแห่งจิตเป็นเหตุใกล้
อนึ่งเจตสิกนี้แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ปรุงแต่งจิต
ให้จิตประพฤติเป็นไปตามลักษณะของเจตสิกก็ตาม
แต่ก็ต้องถือว่าจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน
เพราะเจตสิกเป็นสิ่งที่ต้องอาสัยจิตเกิด
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ