The Wayback Machine - https://web.archive.org/web/20180403011748/http://abhidhamonline.org:80/aphi/p2/020.htm

ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71
ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

ฉันทเจตสิก

๖. ฉันทเจตสิก คือ ความพอใจในอารมณ์ ความปลงใจที่จะทำ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

กตฺตุกมฺยตา ลกฺขโณ มีความปรารถนาเพื่อจะกระทำ เป็นลักษณะ

อารมฺมณปริเยสนรโส มีการแสวงหาอารมณ์ เป็นกิจ

อารมฺมเณน อตฺถิกตาปจฺจุปฏฺฐาโน มีความปรารถนาอารมณ์ เป็นผล

อารมฺมณปทฏฺฐาโน มีอารมณ์ เป็นเหตุใกล้

ฉันทเจตสิก จำแนกเป็น ๒ คือ ความพอใจในกาม กับความพอใจใคร่ที่จะทำ

๑) ความพอใจในกามฉันทะ คือความยินดีใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส นอกจากนั้นแล้วถ้าตกอยู่ในอกุสลจิต ก็จะเป็นนิวรณ์ ก็ทำแต่บาป เป็นสนิม ตกอยู่ในความกันดาร ไม่ใคร่คิดทำบุญทำกุสล ถ้าตกอยู่ในโลภมูลจิตก็จะโลภ ทำแต่สิ่งที่คิดว่าจะได้ โดยไม่คิดให้รอบคอบ ถ้าไม่ได้ดังที่ตั้งใจไว้ก็จะโกรธ ครั้นได้มาก็เกิดความหลงอยู่ แม้สิ่งอื่นที่พอใจในกาม ก็เป็นกามฉันทะ เช่นพอใจในอัญญมณี พอใจในการหาลาภ ยศ สรรเสริญ คำเยินยอ พอใจในการฟุ้งเฟ้อ ฯลฯ ก็เป็นกามฉันทะ

๒) ความพอใจใคร่ที่จะทำ คือความยินดีที่จะทำในสิ่งที่ตนชอบตนพอใจ ถ้าทำในสิ่งที่เป็นอกุสล ก็จะพอใจในการทำสิ่งที่ผิด ๆ ก็เกิดโทษอายุจะสั้น ถ้าทำในสิ่งที่เป็นกุสลก็จะได้ประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น เช่น พอใจในการเจริญอิทธิบาทภาวนา พอใจในการทำประโยชน์แก่ส่วนรวม ตนเองปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบก็ได้กุสล ถ้าฉันทะแรงกล้าเป็นอิทธิบาทภาวนาก็จะทำสิ่งที่พอใจได้สำเร็จได้ เช่น ตั้งใจและพอใจในการทำงานชิ้นหนึ่งให้สำเร็จ และได้ลงมือทำติดต่อกันงานนั้นก็สำเร็จได้ก่อนที่ตนจะต้องตายลง เพราะแรงของฉันทะแรงกล้า ช่วยต่ออายุให้ยืนยาวออกไป

อีกประการหนึ่ง แยกกามฉันทะ ออกเป็น ๕ ประการ คือ

ก. พอใจในการแสวงหาอารมณ์

ข. พอใจในอารมณ์ที่ได้รับแล้ว

ค. พอใจในการเสวยอารมณ์

ง. พอใจในการรักษาอารมณ์

จ. พอใจในการแจกจ่ายอารมณ์ให้ผู้ที่ตนรักตนหวังพึ่ง เช่น หาทรัพย์มาได้ก็จะพอใจแล้วใช้สอยทรัพย์นั้น ส่วนที่เหลือก็จะเก็บไว้ เพื่อแจกจ่ายให้บุคคลที่ตนรัก หรือตนหวังพึ่งพาอาศัย

ฉันทะทั้ง ๕ ประการ ดังกล่าวเป็นตัณหา เป็นต้นเหตุให้เกิดความรักความชังขึ้นได้ เป็นอกุสล เป็นทางให้เกิดอคติขึ้นได้ ถ้าไม่มีฉันทะทั้ง ๕ ประการดังกล่าวแล้ว ความรักความชังก็ไม่เกิด


สอบถาม ปัญหาธรรมะ ได้ที่ลานธรรมมูลนิธิ ค่ะ...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...