ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2 3
4 5 6 7 8
9 10 11 12 13
14 15 16 17 18
19 20 21 22 23
24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
ค้นหาหัวข้อธรรม
ทิฏฐิเจตสิก
๖. ทิฏฐิเจตสิก
คือธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิต
ทำให้จิตเห็นผิดจากความเป็นจริง
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
อโยนิโส อภินิเวส ลกฺขณา
มีการถือมั่นด้วยหาปัญญามิได้
เป็นลักษณะ
ปรามาส รสา มีการถือผิดจากสภาวะ
เป็นกิจ
มิจฺฉาภินิเวสปจฺจุปฏฺฐานา
มีการยึดถือความเห็นผิด เป็นผล
อริยานํ อทสฺสน กามตาทิ ปทฏฺฐานา
ไม่ต้องการเห็นพระอริยะเป็นต้น
เป็นเหตุใกล้
คำว่า ทิฏฐิ ถ้าใช้ลอย ๆ
ก็หมายถึงมิจฉาทิฏฐิ
คือความเห็นผิด
เว้นไว้แต่ที่ใดบ่งว่าเป็น
สัมมาทิฏฐิ
จึงมีความเห็นว่าเป็นความเห็นชอบ
ความเห็นถูก
โดยเฉพาะ ทิฏฐิเจตสิก
เป็นความเห็นผิดเสมอไป
และทิฏฐินี้แบ่งอย่างหยาบ ๆ เป็น
๒ คือ ทิฏฐิสามัญ และทิฏฐิพิเศษ
ทิฏฐิสามัญ ได้แก่ สักกายทิฏฐิ
คือเห็นเป็นตัวตนบุคคลเราเขา
อันเป็นความเห็นผิดแต่ที่จัดเป็นสามัญ
เพราะทิฏฐิชนิดนี้มีประจำทั่วทุกตัวสัตว์เป็นปกติวิสัย
(เว้นพระอริยบุคคล)
ทิฏฐิพิเศษ ได้แก่
นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ คืออเหตุกทิฏฐิ
ไม่เชื่อเหตุ นัตถิกทิฏฐิ
ไม่เชื่อผล อกิริยทิฏฐิ
ไม่เชื่อทั้งเหตุทั้งผล
และสัสสตทิฏฐิ
เห็นว่าเที่ยงแท้แน่นอน
อุจเฉททิฏฐิ เห็นว่าสูญ
ตลอดทั้งทิฏฐิ ๖๒
ที่จัดเป็นทิฏฐิพิเศษ
ก็เพราะว่าทิฏฐิชนิดนี้บางคนก็มี
บางคนก็ไม่มี
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ