ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2 3
4 5 6 7 8
9 10 11 12 13
14 15 16 17 18
19 20 21 22 23
24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
ค้นหาหัวข้อธรรม
กายกัมมัญญตาเจตสิก และ
จิตตกัมมัญญตาเจตสิก
๑๔. กายกัมมัญญตาเจตสิก คือ
เจตสิกที่ควรแก่การงานอันเป็นกุสล
ความควรแก่การงานของเจตสิก
๑๕. จิตตกัมมัญญตาเจตสิก
คือเจตสิกที่ทำให้จิตควรแก่การงานอันเป็นกุสล
การทำให้จิตควรแก่งาน
เจตสิก ๒ ดวงนี้ มีลักขณาทิจตุกะ
ดังนี้
กายจิตฺตากมฺมญฺญภาววูปสมลกฺขณา
มีการทำให้เจตสิกทำให้จิตสงบจากความไม่ควรแก่การงาน
เป็นลักษณะ
กายจิตฺตา กมฺมญฺญภาว
นิมฺมทฺทนรสา
มีการทำลายความไม่ควรแก่การงานของเจตสิก
ของจิต เป็นกิจ
กายจิตฺตานํ
อารมฺมณกรณสมฺปตฺติปจฺจุปฏฺฐานา
ทำให้เจตสิก
ทำให้จิตมีอารมณ์สมควรแก่การงาน
เป็นผล
กายจิตฺตปทฏฺฐานา
มีเจตสิก มีจิต เป็นเหตุใกล้
จิตที่ไม่ควรแก่การงาน
จะใช้จิตทำสมาธิก็มีผลน้อย
เช่นจิตที่มีร่างกายอ่อนเพลีย
หรือป่วย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง
เมื่อร่างกายไม่สะบายการทำสมาธิก็ได้ผลน้อยเสียเวลาทำสมาธิ
๒ ชั่วโมง ก็ทำไม่ได้
เพราะจิตไม่มีกัมมัญญตาเจตสิกประกอบ
จิตและเจตสิกที่ไม่ควรแก่การงาน
คือจิตและเจตสิกที่ถูกนิวรณ์ครอบงำ
นิวรณ์เปรียบเหมือน ตะปูตรึงจิต
หรือสนิมกินเนื้อเหล็กทำให้เหล็กกร่อน
นิวรณ์ทั้ง ๕ อันมี กามฉันทนิวรณ์
พยาปาทนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์
ถีนมิทธนิวรณ์
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
เมื่อนิวรณ์ครอบงำจิตแล้วจิตก็ไม่ควรแก่การงาน
ต้องละนิวรณ์ให้ได้ก่อน
แล้วจึงใช้จิตทำงาน
เมื่อจิตมีกัมมัญญตาเจตสิกประกอบแล้ว
การทำสมาธิก็จะได้ผลในชั่วระยะเวลาเพียงเล็กน้อย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ