ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2 3
4 5 6 7 8
9 10 11 12 13
14 15 16 17 18
19 20 21 22 23
24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
ค้นหาหัวข้อธรรม
สัมปโยคนัย
สัมปโยค แปลว่า ประกอบพร้อม
ในที่นี้หมายความว่า
เจตสิกแต่ละดวงนั้น ดวงหนึ่ง ๆ
ประกอบกับจิตได้กี่ดวง
คือจิตใดบ้าง เฉพาะในจิตตุป ปาทะ
(จิตที่เกิดขึ้น) ดวงหนึ่ง ๆ
ซึ่งจะได้แสดงต่อไปนี้
สัมปโยคนัยแห่งอัญญสมานาเจตสิก
๑. สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
ดวงประกอบในจิตได้ทุกดวง(โดยย่อจิตมี
๘๙ ดวง)
๒. ปกิณณกเจตสิก ๖
ดวงประกอบกับจิตได้เฉพาะแต่ที่ควร
(ประกอบ ได้ บางดวง)
๓. อกุสลเจตสิก ๑๔ ดวง
ประกอบได้เฉพาะในอกุสลจิต ๑๒
ดวงเท่านั้น
๔. โสภณเจตสิก ๒๕ ดวง
ประกอบได้เฉพาะโสภณจิตเท่านั้น
จิตที่ปกิณณกเจตสิกไม่ประกอบ
มีจำนวนตามลำดับดังนี้
วิตก ไม่ประกอบกับจิต ๖๖ ดวง
วิจาร " " ๕๕ ดวง
อธิโมกข " " ๑๑ ดวง
วิริยะ " " ๑๖ ดวง
ปีติ " " ๗๐ ดวง
ฉันทะ " " ๒๐ ดวง
จิตที่ปกิณณกเจตสิกย่อมเข้าประกอบ
มีจำนวนตามลำดับดังนี้
วิตก ย่อมเข้าประกอบกับจิต ๕๕ ดวง
วิจาร " " ๖๖ ดวง
อธิโมกข " " ๗๘ ดวง
วิริยะ " " ๗๓ ดวง
ปีติ " " ๕๑ ดวง
ฉันทะ " " ๖๙ ดวง
อธิบาย
รวมความว่า อัญญสมานาเจตสิก ๑๓
ดวง กล่าวโดยสัมปโยคนัย
คือการประกอบกับจิตต่าง ๆ
ได้นั้น แบ่งออกเป็น ๗ นัย คือ
นัยที่ ๑ สัพพจิตตสาธารณ ๗ ดวง คือ
ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา
ชีวิตินทรีย และ มนสิการ
นี้ประกอบกับจิตได้ทั้งหมดทุกดวง
คือทั้ง ๘๙ ดวง
หรือนับอย่างพิศดาร ก็ทั้ง ๑๒๑
ดวง ไม่มีเว้นเลย
นัยที่ ๒ วิตกเจตสิก ประกอบกับจิต
๕๕ ดวง แต่ไม่ประกอบกับจิต ๖๖ ดวง
" ๓ วิจารเจตสิก " " ๖๖ ดวง " "
๕๕ ดวง
" ๔ อธิโมกขเจตสิก " " ๗๘ ดวง "
" ๑๑ ดวง
" ๕ วิริยเจตสิก " " ๗๓ ดวง " "
๑๖ ดวง
" ๖ ปีติเจตสิก " " ๕๑ ดวง " "
๗๐ ดวง
" ๗ ฉันทเจตสิก " " ๖๙ ดวง " "
๒๐ ดวง
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ