The Wayback Machine - https://web.archive.org/web/20180403005424/http://abhidhamonline.org:80/aphi/p2/060.htm

ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค

หน้าที่ : 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71
ค้นหาหัวข้อธรรม

ละความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ใสบริสุทธิ์...

สัมปโยคนัยแห่งอกุสลเจตสิก

อกุสลเจตสิก ๑๔ ดวง กล่าวโดยสัมปโยคนัย คือการประกอบกับอกุสลจิตนั้นแบ่งออกเป็น ๕ นัย คือ

นัยที่ ๑ เจตสิก ๔ ดวง คือ โมหเจตสิก อหิริกเจตสิก อโนตตัปปเจตสิก และอุทธัจจเจตสิก ซึ่งมีชื่อรวมเรียกว่า โมจตุกะ หรือสัพพากุสลสาธารณเจตสิกนั้น ประกอบกับอกุสลจิตได้ทั้งหมด คือทั้ง ๑๒ ดวง

นัยที่ ๒ เจตสิก ๓ ดวงคือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก และ มานเจตสิก ซึ่งมีชื่อรวมเรียกว่า โลติกะ นั้น

โลภเจตสิก ประกอบกับโลภมูลจิตได้ทั้งหมด คือ ทั้ง ๘ ดวง

ทิฏฐิเจตสิก ประกอบกับโลภมูลจิตได้ เฉพาะแต่ที่เป็นทิฏฐิคตสัมป ยุตตจิต ๔ ดวง

มานเจตสิก ก็ประกอบกับโลภมูลจิตได้เฉพาะที่เป็นทิฏฐิคตวิปปยุตตจิต ๔ ดวง

นัยที่ ๓ เจตสิก ๔ ดวง คือ โทสเจตสิก อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก และกุกกุจจเจตสิก ซึ่งมีชื่อรวมเรียกว่า โทจตุกะ นั้น ย่อมประกอบกับโทสมูลจิต ๒ ดวง

นัยที่ ๔ เจตสิก ๒ ดวง คือ ถีนเจตสิกและมีทธเจตสิก ซึ่งมีชื่อรวมเรียกว่า ถีทุกะ นั้นย่อมประกอบกับสสังขาริกในอกุสลจิต อันมีจำนวน ๕ ดวง ได้แก่ โลภมูลจิต ที่เป็นสสังขาริก ๔ ดวง และโทสมูลจิต ที่เป็นสสังขาริก ๑ ดวง

นัยที่ ๕ เจตสิก ๑ ดวง คือวิจิกิจฉาเจตสิก ย่อมประกอบกับวิจิกิจฉาสหคตจิต ได้เฉพาะดวงเดียวเท่านั้น


สอบถาม ปัญหาธรรมะ ได้ที่ลานธรรมมูลนิธิ ค่ะ...
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...