ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2 3
4 5 6 7 8
9 10 11 12 13
14 15 16 17 18
19 20 21 22 23
24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
ค้นหาหัวข้อธรรม
ธรรมบางประการที่ทำให้จิตต่างกัน
๑. ในโลกุตตรจิตนั้น ฌานธรรม
คือฌานทั้ง ๕ ย่อมทำให้จิตวิเศษ
คือต่างกันจาก ๘ ดวง เป็น ๔๐ ดวง
และ
วิตกเจตสิก ทำให้โลกุตตร ปฐมฌาน
ต่างกับโลกุตตร ทุติยฌาน
วิจารเจตสิก " ทุติยฌาน " "
ตติยฌาน
ปีติเจตสิก " ตติยฌาน " "
จตุตถฌาน
สุขเวทนาเจตสิก " จตุตถฌาน " "
ปัญจมฌาน
อุเบกขาเวทนาเจตสิก " ปัญจมฌาน
" " ฌานต้น ๆ
๒. ในมหัคคตจิตนั้น
ฌานธรรมและอัปปมัญญาเจตสิก
ย่อมทำให้จิตวิเศษ คือ ต่างกัน
ดังต่อไปนี้
วิตกเจตสิก ทำให้โลกีย ปฐมฌาน
ต่างกับโลกีย ทุติยฌาน
วิจารเจตสิก " ทุติยฌาน " "
ตติยฌาน
ปีติเจตสิก " ตติยฌาน " "
จตุตถฌาน
สุขเวทนาเจตสิก " จตุตถฌาน " "
ปัญจมฌาน
อุเบกขาเวทนาเจตสิก " ปัญจมฌาน
" " ฌานต้น ๆ
อัปปมัญญาเจตสิก " ปัญจมฌาน "
" ฌานต้น ๆ
๓. ในกามาวจรโสภณจิตนั้น
วิรตีเจตสิก ญาณคือ
ปัญญาเจตสิกและปีติเจตสิก
ย่อมทำให้จิตวิเศษ คือ
ต่างกันดังนี้
มหากุสลจิต มีวิรตีประกอบ
ทำให้ต่างกับมหากิริยาจิต
ซึ่งไม่มีวิรตีประกอบ
จิตที่เป็นญาณสัมปยุตต
มีปัญญาเจตสิกประกอบ
ทำให้ต่างกับจิตที่เป็นญาณวิปปยุตต
ซึ่งไม่มีปัญญาเจตสิกประกอบ
จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา
มีปีติเจตสิกประกอบ
ทำให้ต่างกับจิตที่ไม่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา
ซึ่งไม่มีปีติเจตสิกประกอบ
อนึ่ง มีข้อที่ควรสังเกตว่า
ในกรณีใดที่ปัญญาเจตสิก
หรือปีติเจตสิกจึงประกอบ
หรือไม่ประกอบนั้น ดังนี้
จิตดวงใดที่เป็นญาณสัมปยุตตแล้ว
จิตดวงนั้นจะต้องมีปัญญาเจตสิกประกอบด้วยเสมอไปอย่างแน่นอน
จิตดวงใดที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนาแล้ว
จิตดวงนั้นจะต้องมีปีติเจตสิกประกอบด้วยเสมอไปอย่างแน่นอน
(เฉพาะกามจิต)
ดังนั้น
ก็พึงเป็นที่เข้าใจได้ว่า
จิตดวงใดที่เป็นญาณวิปปยุตต
คือไม่ประกอบด้วยปัญญาแล้ว
ปัญญาเจตสิกก็ย่อมไม่เข้าประกอบอยู่เอง
และจิตดวงใดที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัสเวทนา
ความเสียใจก็ดีเกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
เฉย ๆ ก็ดี ปีติ คือความอิ่มใจ
ย่อมเข้าประกอบด้วยไม่ได้เลย
เพราะความเสียใจ หรือความเฉย ๆ
จะไม่มีความอิ่มใจ
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ