ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค
หน้าที่
: 1 2 3
4 5 6 7 8
9 10 11 12 13
14 15 16 17 18
19 20 21 22 23
24 25
26 27 28 29 30 31 32
33 34 35 36 37 38 39
40 41 42 43 44 45 46
47 48 49 50
51 52 53 54 55 56 57
58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71
ค้นหาหัวข้อธรรม
อเหตุกสังคหนัย
อเหตุกจิต ๑๘ ดวง
มีเจตสิกประกอบได้ประเภทเดียวเท่านั้น
คือ อัญญสมานาเจตสิก
และอัญญสมานาเจตสิกก็เข้าประกอบกับอเหตุกจิตได้เป็นอย่างมากเพียง
๑๒ ดวงเท่านั้น ส่วนอีกดวง คือ
ฉันทเจตสิกเข้าประกอบกับ
อเหตุกจิตด้วยไม่ได้เลยเป็นเด็ดขาดแน่นอน
เหตุที่ฉันทเจตสิกไม่ประกอบกับอเหตุกจิตเลยนั้น
เพราะว่าฉันทเจตสิกนี้มีลักษณะ
คือ ความพอใจในอารมณ์
มีความปรารถนาจะกระทำ
มีความปลงใจกระทำ
ส่วนอเหตุกจิตนั้นเป็นจิตที่แม้ว่าจะปลงใจกระทำหรือไม่
ก็ต้องเกิด เช่น จักขุวิญญาณจิต
มีหน้าที่เห็นรูป
ไม่ว่ารูปนั้นจะสวยงามอยากเห็นหรือเป็นรูปที่น่าเกลียดน่ากลัว
ไม่อยากเห็น
เมื่อรูปนั้นมาปรากฏเฉพาะหน้า
ก็จะต้องเห็น
จะเลือกเห็นเฉพาะรูปที่สวยงามไม่ได้
ทางโสตวิญญาณจิต
มีหน้าที่ได้ยินเสียงก็เช่นกัน
จะเลือกได้ยินแต่เสียงที่เพราะ
ๆ รื่นหู ก็ไม่ได้
ซึ่งผิดกับจิตอื่นที่มีฉันทเจตสิกประกอบ
เช่นโทสจิต เป็นต้น
เมื่อได้เห็นสิ่งที่ไม่ดี
เช่นเห็นสุนัขขี้เรื้อน
ผู้เห็นพอใจปลงใจจะให้เกิดความเกลียดชังก็ได้
หรือจะเลือกในทางไม่เกลียดก็ได้
ถ้าเลือกในทางเกลียด
โทสจิตก็เกิด
ถ้าเลือกในทางสงสารว่าเป็นกรรมของสัตว์นั้น
โทสจิตก็ไม่เกิด
แต่กลับเป็นโสภณจิต
ดังนั้นฉันทเจตสิกจึงไม่เกิดร่วมกับอเหตุกจิตเลย
เพราะเป็นจิตที่เลือกไม่ได้ตามใจชอบ
อเหตุกจิต ๑๘ ดวง มีสังคหะ ๔ นัย
คือ
นัยที่ ๑ หสิตุปปาทจิต ๑ ดวง
อันเป็นจิตยิ้มแย้มของพระอรหันต์โดยเฉพาะ
บุคคลอื่นใดไม่มีจิตดวงนี้
หสิตุปปาทมีเจตสิกประกอบ ๑๒ ดวง
ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันท)
นัยที่ ๒ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง (เรียกอีกชื่อหนึ่งตามกิจ
หรือหน้าที่การงานว่า
โวฏฐัพพนจิตก็ได้)
และโสมนัสสันตีรณจิต ๑ ดวง จิต ๒
ดวงนี้ มีเจตสิกประกอบ ๑๑ ดวง
เท่ากัน แต่มีที่ต่างกัน คือ
เจตสิกที่ประกอบกับมโนทวาราวัชชนจิต
ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นปีติเจตสิก
และฉันทเจตสิก)
ส่วนเจตสิกที่ประกอบกับโสมนัสสันตีรณจิต
ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑
แต่เว้นวิริยเจตสิก
กับฉันทเจตสิก
นัยที่ ๓ มโนธาตุ ๓ ดวง (ปัญจทวาราวัชชนจิต
๑ สัมปฏิจฉันนจิต ๒ ดวง)
กับอเหตุกปฏิสนธิจิต ๒ ดวง (คืออุเบกขาสันตีรณจิต
๒) รวมจิต ๕ ดวงนี้
มีเจตสิกประกอบได้ ๑๐ ดวง คือ
อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิริย
ปีติ ฉันท)
นัยที่ ๔ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง
มีเจตสิกประกอบได้จำพวกเดียว
คือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิกทั้ง ๗
ดวงเท่านั้นเอง
อธิบาย
สัมปโยคนัย
หมายถึงนัยที่แสดงว่า
เจตสิกแต่ละดวงเข้าประกอบกับจิตใดบ้าง
สังคหนัย
หมายถึงนัยที่แสดงว่าจิตแต่ละดวงมีเจตสิกใดมาร่วมสงเคราะห์บ้าง
สัมปโยคนัย มี ๑๖ นัย คือ
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง
ได้สัมปโยค ๑ นัย
ปกิณณกเจตสิก ๖ " " ๖ นัย
อกุสลเจตสิก ๑๔ " " ๕ นัย
โสภณเจตสิก ๒๕ " " ๔ นัย
รวม ๕๒ " " ๑๖ นัย
สังคหนัย มี ๓๓ นัย คือ
โลกุตตรจิต ๔๐ ดวง มีสังคหะ ๕ นัย
มหัคคตจิต ๒๗ " " ๕ "
กามาวจรโสภณจิต ๒๔ " " ๑๒ "
อกุสลจิต ๑๒ " " ๗ "
อเหตุกจิต ๑๘ " " ๔ "
รวมจิต ๑๒๑ " " ๓๓ "
จบปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกปรมัตถ
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ