ปริจเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค
ความเบื้องต้น
ปกิณณกะ แปลว่า
กระจัดกระจาย
คละกัน เบ็ดเตล็ด ต่าง ๆ
สังคหะ แปลว่า รวบรวมโดยย่อ
วิภาค แปลว่า
ส่วน
เมื่อประมวลรวมกันเข้าแล้ว
ปกิณณกะสังคหวิภาค
ก็แปลว่า
ส่วนที่รวบรวม
แสดงโดยย่อซึ่งธรรมต่าง ๆ
ธรรมต่าง
ๆ ในที่นี้ หมายถึงธรรม ๖ หมวด คือ
๑. หมวด เวทนา ธรรมชาติที่เสวยอารมณ์
๒. หมวด เหตุ ธรรมชาติที่ทำให้ผลเกิด
๓. หมวด
กิจ คือ
การงานของจิต ๑๔ อย่าง
๔. หมวด
ทวาร คือ
ทางรับรู้อารมณ์ของจิต
๕. หมวด
อารมณ์ คือ
สิ่งที่จิตรู้, สิ่งที่ถูกจิตรู้
๖. หมวด
วัตถุ คือ
ที่ตั้งที่อาศัยเกิดรับรู้อารมณ์ของจิต
ทั้ง ๖
หมวดนี้
เป็นการเรียนรู้ถึงจิตและเจตสิกโดยละเอียด
สรุปได้ว่าให้เรียนรู้ว่า
จิตและเจตสิกแต่ละดวงนั้น
มีเวทนาเป็นสุขเวทนา
หรือทุกขเวทนา เป็น โทมนัสเวทนา
หรือโสมนัสเวทนา
หรืออุเบกขาเวทนา
จิตและเจตสิกแต่ละดวงนั้น
มีเหตุประกอบหรือไม่ ถ้ามี
มีเหตุประกอบเท่าไร อะไรบ้าง
เหตุมี ๖ คือ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ, อโลภเหตุ, อโทสเหตุ
และ อโมหเหตุ ในแต่ละเหตุนั้น
ประกอบกับจิตอะไรได้บ้าง
จิตและเจตสิกแต่ละดวงนั้น
ทำกิจ(งาน)อะไรใน ๑๔ อย่าง
ในกิจทั้ง ๑๔ นั้น
มีจิตอะไรทำหน้าที่ได้บ้าง
จิตและเจตสิก
อาศัยทวารไหนในการรู้อารมณ์
อาศัยจักขุทวารหรือโสตทวาร
อาศัยฆานทวารหรือชิวหาทวาร
อาศัยกายทวารหรือมโนทวาร
หรือไม่ได้อาศัยทวาร ใด ๆ เลย
จิตและเจตสิก
รับรู้อารมณ์อะไรได้บ้างในอารมณ์
๖ และอารมณ์ ๖ นั้น องค์
ธรรมได้แก่อะไร
จิตและเจตสิก
อาศัยวัตถุอะไรเกิด
อาศัยจักขุวัตถุหรือโสตวัตถุ อาศัยฆานวัตถุ
หรือชิวหาวัตถุ
อาศัยกายวัตถุหรือหทยวัตถุ
หรือไม่ได้อาศัยวัตถุใดๆ
เกิดขึ้นเลย
ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้
คือ สรุป ธรรม ๖ หมวด
อันมีจิตและเจตสิก
ทำหน้าที่ต่าง ๆ จิตและเจตสิก
รวมเรียกว่า สภาวธรรม
๕๓ คือ
จิต ๑ และ เจตสิก ๕๒
ที่นับจิตเพียง ๑ นั้น เพราะจิตมีลักษณะ
รับรู้อารมณ์เพียงลักษณะ
เดียวเท่านั้น
ส่วนที่นับเจตสิกเต็มจำนวนทั้ง
๕๒ ก็เพราะว่า เจตสิกนั้นมีลักษณะ แตกต่างกันทั้ง
๕๒ ดวง
จิตตุปปาทะ
คือ
จิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับเจตสิกที่ประกอบนั้น
ย่อมเกี่ยวข้อง
ต้องระคนกับธรรมทั้ง ๖
หมวดดังกล่าวแล้วอย่างแน่นอนเสมอไปทุกขณะ
ไม่มีเว้น เลย
ดังจะได้กล่าวต่อไปทีละหมวด
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ