ปริจเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ทรงแสดงธรรมไว้ว่า
ธรรมทั้งหลายย่อม จำแนกได้เป็น ๒
ประการ คือ บัญญัติธรรม
และ ปรมัตถธรรม
๑. บัญญัติธรรม คือ
สิ่งที่บัญญัติขึ้น
สมมุติขึ้นไม่ได้มีอยู่จริง ๆ
เป็นการ
สมมุติขึ้นเพื่อเรียกขานกันของชาวโลก
เพื่อให้รู้ได้ว่าเรียกสิ่งใด เช่น
คำว่า คน ผู้เรียกจะชี้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายว่าคน ไม่ได้ไม่มี
หรือคำว่าเก้าอี้ ผู้เรียก
จะชี้ส่วนหนึ่งส่วนใดว่าเป็นเก้าอี้ไม่ได้ เพราะเป็นการเรียกโดยสมมุติขึ้นเท่านั้น
บัญญัติธรรมนี้มี
๒ ประการ คือ อัตถบัญญัติ
และสัททบัญญัติ
ก.
อัตถบัญญัติ เป็นการสมมุติขึ้นตามความหมายแห่งรูปร่างสัณฐาน หรือ
ลักษณะอาการของสิ่งนั้น ๆ เช่น
ภูเขา ต้นไม้ บ้าน เรือน เดิน วิ่ง
การโบกมือ หมายถึงการจากลา
หรือหมายถึงการปฏิเสธก็ได้
การพยักหน้า หมายถึงการยอมรับ
หรือการให้เข้ามาหาก็ได้
ข.
สัททบัญญัติ
เป็นการสมมุติขึ้นเพื่อใช้เรียกขานสิ่งนั้น
ๆ คือ สมมุติขึ้น
เพื่อให้รู้ด้วยเสียงตามอัตถบัญญัตินั้น
เช่น ไม่ได้เห็นภูเขา
ไม่ได้เห็นการเดิน แต่เมื่อ
ออกเสียงว่า ภูเขา พูดว่าเดิน
ก็รู้ว่าภูเขามีรูปร่างสัณฐานอย่างนั้น
เดินมีลักษณะ อาการอย่างนั้น
เป็นต้น
เพราะฉะนั้นทั้งอัตถบัญญัติ
และสัททบัญญัติ
ก็คือระบบการสื่อสารให้เกิด
ความรู้
เกิดความเข้าใจกันของมนุษย์นั่นเอง
ไม่ได้มีอยู่จริง ๆ
ตัวอย่างร่างกายของเรา
ที่เรียกว่า แขน ขา จมูก ปาก ตับ
ปอด ลำไส้ ฯลฯ ต่าง ๆ เหล่านี้
คนไทยก็เรียกอย่างหนึ่ง
คนจีนก็เรียกไปอย่างหนึ่ง
คนแขกก็เรียกไป อย่างหนึ่ง
ฝรั่งก็เรียกไปอีกอย่างหนึ่ง
ไม่เหมือนกัน
แล้วแต่ใครจะสมมุติเรียกว่า
อะไร
บัญญัติจึงหมายถึงการสมมุติขึ้นของคนกลุ่มหนึ่งใช้เรียกขานกัน
ไม่ได้มีอยู่ จริง ๆ
ซึ่งกล่าวได้ว่า
เป็นความจริงโดยสมมุติ
๒. ปรมัตถธรรม
เป็นสิ่งที่มีเนื้อความอันไม่วิปริตผันแปรเป็น
ธัมมธาตุ เครื่องดำรงอยู่ของธรรม
เป็น ธัมมฐีติ เครื่องตั้งอยู่ของธรรม
เป็น ธัมมนิยาม กำหนดหมายของธรรม
อันเป็นสิ่งที่เป็นไปเอง
ตามธรรมดาธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ
ไม่มีใครแต่งตั้งขึ้น
ไม่มีใครสร้างขึ้น
มีโดยเหตุโดยปัจจัย
ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
ด้วยเหตุนี้
ปรมัตถธรรมจึงหมายถึง
ธรรมชาติที่มีอยู่จริง ๆ
ไม่วิปริตผันแปร
เป็นความจริงที่มีอยู่จริง ๆ
ซึ่งมีอยู่ ๔ อย่าง คือ
(๑) จิตปรมัตถ
คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์
(๒) เจตสิกปรมัตถ
คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต
ปรุงแต่งจิต ให้เกิดการรู้
อารมณ์
และรู้สึกเป็นไปตามตนเองที่ประกอบ
(๓) รูปปรมัตถ
คือ
ธรรมชาติที่แตกดับย่อยยับด้วยความเย็นความร้อน
(๔) นิพพานปรมัตถ
คือ
ธรรมชาติที่สงบจากกิเลสและขันธ์
ทั้ง
๔
นี้เป็นธรรมชาติที่มีอยู่จริงๆ
มีอยู่โดยความเป็นปรมัตถ
พิสูจน์ได้ รู้ได้ ด้วยปัญญา
เป็นอารมณ์ของปัญญา
จากการเรียนการศึกษา
จากการพิจารณาหาเหตุ ผล และจากการปฏิบัติ
คือภาวนามัย
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ