ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
ความเบื้องต้น
ปริจเฉทที่
๗ รวบรวม คำสอน
พระอภิธัมมัตถสังคหะ
ที่มีชื่อว่า สมุจจยสังคหวิภาค
สมุจจยสังคหะ
มาจากคำว่า สํ(เข้าด้วยกัน)
+ อุจฺจย(รวบรวม)
+ สงฺคห
(แสดงโดยย่อ)
จึงรวมหมายความว่า
แสดงการรวบรวมธรรมที่มีสภาพเข้าด้วยกัน
ได้นั้นโดยย่อ
สํ
ปิณฺเฑตฺวา อุจฺจียนฺเต เอเตนาติ
สมุจฺจโย ฯ ที่ชื่อว่าสมุจจย
เพราะ
เป็นการแสดงการรวบรวมปรมัตถธรรมที่มีสภาพเข้ากันได้
ให้อยู่เป็นหมวด ๆ
ในสมุจจยสังคหะนี้
พระอนุรุทธาจารย์ได้แสดงไว้ว่า
วัตถุธรรม ๗๒ ประการ
อันเป็นไปพร้อมด้วยลักษณะนั้นได้กล่าวมาแล้ว
บัดนี้จักแสดง สมุจจยสังคหะแห่ง
วัตถุธรรมทั้ง ๗๒ นั้น
ตามควรแก่สภาพที่พึงรวบรวมเข้ากันได้เป็นหมวด
ๆ
วัตถุธรรม
๗๒
นั้นเป็นการนับจำนวนตามลักษณะแห่งวัตถุนั้นๆ
คือ จิต ๑,
เจตสิก
๕๒,
นิปผันนรูป
๑๘ และนิพพาน ๑
ที่นับจิตเพียง
๑
เพราะจิตมีลักษณะรับรู้อารมณ์เพียงลักษณะเดียวเท่านั้น
ที่นับเจตสิก
๕๒
เต็มจำนวน
เพราะเจตสิกแต่ละดวงต่างก็มีลักษณะเฉพาะ
ตน แตกต่างกันทั้ง ๕๒ ดวง
ที่นับเฉพาะนิปผันนรูป
๑๘
(คือมหาภูตรูป
๔,
ปสาทรูป
๕,
โคจรรูป
๔,
ภาวรูป
๒,
หทยรูป
๑,
ชีวิตรูป
๑ และ อาหารรูป ๑)
เท่านั้น
เพราะเป็น
รูปปรมัตถที่มีสภาวะของตนเองปรากฏชัดเจน
เป็นรูปที่เกิดด้วยปัจจัย ๔ (คือ
กรรม จิต อุตุ อาหาร)ปรุงแต่ง
เป็นรูปที่สาธารณกับไตรลักษณ์
และเป็นรูปที่
ควรแก่การเจริญวิปัสสนา ภาวนา
ส่วนที่ไม่นับอนิปผันนรูป
๑๐ (คือปริจเฉทรูป
๑,
วิญญัตติรูป
๒,
วิการรูป
๓ และลักขณรูป ๔)
ด้วยนั้น
เพราะอนิปผันนรูปเป็นรูปปรมัตถที่จะเกิดมีเกิด
ปรากฏขึ้นมาได้
ก็ต้องอาศัยนิปผันนรูป
นิปผันนรูปมี
อนิปผันนรูปจึงปรากฏ
ถ้าไม่มีนิปผันนรูปแล้ว
อนิปผันนรูปก็มีไม่ได้
ปรากฏขึ้นไม่ได้
ดังนั้นจึงไม่นับอนิป
ผันนรูปรวมในที่นี้ด้วย
และที่นับ
นิพพาน ๑
ก็เพราะนิพพานมีลักษณะแต่อย่างเดียวเท่านั้น
คือ สันติลักขณะ
จัดทำโดย มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ