อริยะสัจจ์ ๔
 

(งานสัปดาห์วิสาขบูชา วันที่ ๒๓ พ.. ๒๕๔๕ เวลา ๑๘.๐๐ น.  ณ ท้องสนามหลวง)

โดย อาจารย์วิชิต   ธรรมรังษี


 

ชุด หัวข้อที่ควรกำหนดในอริยสัจ ๔

 

.  ความเบื้องต้นที่ควรทราบ

ความหมายของอริยสัจ ๔      --- มีกี่อย่าง  อะไรบ้าง ?

องค์ธรรมของอริยสัจ ๔         --- แยกประเภทได้กี่อย่าง ?

กิจที่ควรทำในอริยสัจ ๔  มีอะไรบ้าง ?

อรรถคือความหมายของอริยสัจ ๔ แต่ละข้อ

ญาณ ๓ ในอริยสัจ ๔ มีอาการ ๑๒

 

 

 

 

 

 

                       ๑.    ความเบื้องต้นที่ควรทราบ

 

ธรรมเทศนาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น ทรงแสดงได้ยอดเยี่ยมที่สุด  ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ทรงแสดงธรรมนี้แก่พุทธบริษัทเป็นส่วนมาก  จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
“สามุกกังสิกเทสนา”  แปลว่า เทศนาที่พระพุทธเจ้าให้รุ่งเรืองผ่องใส ด้วยพระองค์เอง  นั้นก็คืออริยสัจจ์ ตั้งแต่ธรรมเทศนากัณฑ์แรก จนถึงกัณฑ์สุดท้าย

 

 

กัณฑ์แรก ทรงแสดง ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคย์ ก็มี อริยสัจ ๔

โดยทรงแสดงทางที่ไม่ควรเสพ ๒ ทาง คือ กามสุขัลลิกานุโยค  และ อัตตกิลมถานุโยค 
แต่ทรงให้ดำเนินไปในทางส่ายกลาง ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา

 

เทศนากัณฑ์สุดท้าย ทรงแสดงแก่ สุภัททปริพาชก ที่มาทูลถามว่า 

สมณที่ ๑  ที่ ๒  ที่ ๓  ที่ ๔  มีในศาสนาของพระองค์หรือไม่  แต่พระพุทธเจ้าไม่ตรัสตอบโดยตรง  กลับทรงแสดงว่า มัชฌิมาปฏิปทามีอยู่ในศาสนาใด  ในศาสนานั้นจะมีสมณะที่ ๑ - ๒ -  ๓ - ๔  
หากมัชฌิมาปฏิปทา  ไม่มีอยู่ในศาสนาใด  ในศาสนานั้นจะไม่มีสมณะที่ ๑ -  ๒ - ๓ - ๔


top

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                              ความหมายของอริยสัจจ์ ๔

 

 ธรรมชาติมี ทุกข์ เป็นต้น ชื่อว่า อริยะ เพราะทำความเป็นอริยะ
ชื่อว่า สัจจะ เพราะเป็นของแท้ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่นไปได้  รวมความว่า ธรรมชาติที่เป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่นไปได้ เพราะทำให้เป็นพระอริยะ หรือของจริงของพระอริยะ
(ตติยวรรค ตถสูตร)

ของจริงที่ทำปุถุชนให้เป็นอริยะเจ้า  (วิภาวินีฎีกา)

เป็นของจริงที่พระอริยะสาวกจะพึงตรัสรู้  และของจริงที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง      
              
(วิภาวินีฏีกา ปริจเฉทที่ ๗)

อริยสัจ คือข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงความดับทุกข์  (ตติยวรรค สัจจะสังยุต)

 

 

.๑  อริยสัจ มีกี่อย่าง  อะไรบ้าง

 

อริยสัจ มี อย่าง คือ

. ทุกขอริยสัจ  สภาวะที่ทนได้ยาก เกิด แก่ ตาย โศก ร้องไห้ร่ำไรรำพัน ทุกข์ใจ คับแค้น
              ใจ พบสิ่งไม่เป็นที่รัก พลัดพรากจากสิ่งที่รัก  รวมก็คือ ยึดมั่นในขันธ์ ๕
 

. ทุกขสมุทัยอริยสัจ  เหตุให้เกิดทุกข์  คือความทะยานอยาก  ความกำหนัด  ความ
               เพลิดเพลิน  ความยินดีในอารมณ์ต่างๆ  คือ กามตัณหา ภวตัณหา  วิภวตัณหา
 

. ทุกขนิโรธอริยสัจ  ความดับโดยสิ้นกำหนัด  โดยไม่มีเหลือตัณหา  ความสละตัณหา   
               ความวางตัณหา  ความปล่อยตัณหา  ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น
 

. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ  ความเห็นชอบ  ความดำริชอบ  พูดชอบ  ทำชอบ 
               เลี้ยงชีวิตชอบ  เพียรชอบ  ระลึกชอบ  ตั้งจิตชอบ

 

 

 

top

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

องค์ธรรมของอริยสัจ ๔  มีอะไรบ้าง

 

.ทุกขอริยสัจ     องค์ธรรมได้แก่  โลกียจิต๘๑ เจตสิก ๕๑(เว้นโลภเจตสิก) รูป ๒๘

.สมุทัยอริยสัจ  องค์ธรรมได้แก่  โลภเจตสิก ๑

.นิโรธอริยสัจ    องค์ธรรมได้แก่   พระนิพพาน

.มัคคอริยสัจ     องค์ธรรมได้แก่  มรรคมีองค์ ๘ ในมรรคจิตตุปบาททั้ง ๔ 
            

นอกนั้นเป็นสัจจวิมุติ  ที่เว้น เพราะไม่ได้อยู่ในกิจของอริยสัจ ๔ นั่นเอง

 

 

.๑  อริยสัจแยกประเภทได้ ๗ ประเภท

 

ประเภทของอริยสัจจ์

ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
  ๑.   โลกียะ โลกุตตรอริยสัจจ์

โลกียะ

โลกุตตร
  ๒.  สังกิลิฏฐ อสังกิลิฏฐะอริยสัจจ์

สังกิลิฏฐ(ความเศร้าหมอง)

อสังกิลิฏฐ(ความไม่เศร้าหมอง)
  ๓.   วัฏฏะ  วิวัฏฏะอริยสัจจ์

วัฏฏะ

วิวัฏฏะ
  ๖.   รูป นามอริยสัจจ์ นามรูปทั้ง ๒ นาม
  ๕.   สุทธิ มิสสกะอริยสัจจ์ มิสสกะ(เจือปน) สุทธิ (นาม) สุทธิ (นาม) มิสสกะ(เจือปน)

  ๔  เหตุ-ผลอริยสัจจ์

ผล เหตุ ผล เหตุ
  ๗.   สังขตะ อสังขตะอริยสัจจ์ สังขตะ สังขตะ อสังขตะ สังขตะ

 

top

 

 

 

 

 

 

 

 


 

๔.     ธรรมที่เป็นกิจ และไม่เป็นกิจ ในอริยสัจ

 

     ๑.     ทุกข์  สมุทัย  นิโรธ  มรรค  เป็นกิจในอริยสัจ

     ๒.     มัคคจิตตุปปาท และผลจิตตุปปาท (นอกจากองค์มรรค ๘) ไม่เป็นกิจในอริยสัจ
      คือกิจจวิมุตติ

 

จัดกิจที่ควรทำในอริยสัจ ๔

๑.  ทุกขอริยสัจ      จัดเป็นปริญญาตัพพกิจ     กิจที่ควรกำหนดรู้

๒.  สมุทัยอริยสัจ    จัดเป็นปหาตัพพกิจ          กิจที่ควรประหาณ

๓.  นิโรธอริยสัจ      จัดเป็นสัจฉิกาตัพพกิจ      กิจที่ควรทำให้แจ้ง

๔.  มรรคอริยสัจ     จัดเป็นภาเวตัพพกิจ          กิจที่ควรเจริญ

ในอรรถกถา อัฏฐมสูตร ในปฐมวรรค และอรรถกถา สัจจวิภังค์ กล่าวไว้ว่า

การรู้อริยสัจนั้น มีการรู้แจ้งด้วยญาณดวงเดียว คือ ในขณะเดียวกัน
(ในมงคลสูตร นิพพานกถาบาลี หน้า ๔๐๘)


ในตติยสัจจสังยุต พระองค์ตรัสว่า เพราะเราและเธอ ไม่รู้แจ้งอริยสัจ จึงทำให้สงสารของเราและเธอ ต้องยาวไกล เนิ่นนาน แล่นไป ร่อนเร่ รอนแรมไป ในภพน้อยภพใหญ่ แต่เมื่อเราและเธอได้ตรัสรู้อริยสัจแล้ว สงสารของเราและเธอจึงขาดสะบั้นลง ไม่ต้องยาวไกล เนิ่นนาน แล่น ร่อนเร่ รอนแรมไป

 

 

 

 

top

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๕.     อรรถของอริยสัจจ์ ๔

 

ทุกขอริยสัจ มีอรรถ ๔

สมุทัยอริยสัจ มีอรรถ ๔

๑.   ปิฬนัตโถ    มีการบีบคั้น
๒.  สังขตัตโถ    มีการปรุงแต่ง
๓.  สันตาปัตโถ  มีความเร่าร้อน
๔. วิปริณามัตโถ   มีความแปรปรวน

๑.  อายุหนัตโถ   มีการประมวลทุกข์มาให้
๒. นิทานัตโถ   มีการนำทุกข์มามอบให้
๓.  สังโยคัตโถ  มีการร้อยรัดสัตว์ให้ติดอยู่ในภพ
๔.  ปลิโพธัตโถ มีการพัวพันสัตว์ให้ติดอยู่ในกองทุกข์

 

(ตัณหา เปรียบเหมือนคนเลี้ยงนกฉลาด นำเชือกผูกขานกปล่อยไป พอสุดเชือกก็ต้องกลับมาอีก)

 

ตัณหา ๑๐๘ ได้แก่  ตัณหา ๓  คูณด้วยอารมณ์ ๖  =  ๑๘  

                             ๑๘  คูณด้วยภายใน ภายนอกอีก ๒  =  ๓๖

                             ๓๖  คูณด้วยกาล ๓ =  ๑๐๘

 

กิเลส ๑๕๐๐ ได้แก่  จิต ๑  เจตสิก ๕๒  รูป ๑๘  ลักขณรูป ๔    รวมเป็น  ๗๕ 

            ๗๕     คูณด้วย ๒ (ภายใน ๑ กับ ภายนอก ๑) = ๑๕๐

            ๑๕๐  คูณด้วย ๑๐  =  กิเลส  ๑๕๐๐

 

นิโรธอริยสัจจ์ มีอรรถ ๔

มรรคอริยสัจจ์ มีอรรถ ๔

 ๑.  นิสระณัฏโฐ   เป็นธรรมที่อยู่นอกกองทุกข์

 ๒.  วิเวกัฏโฐ   เป็นธรรมที่สงบจากกิเลส / กองทุกข์
 
๓.  อสังขะตัฏโฐ   เป็นธรรมที่ไม่มีปัจจัยมาปรุงแต่ง

 ๔.  อมะตัฏโฐ     เป็นธรรมที่ไม่ตายเป็นอรรถ

๑.   เหตุวัฏโฐ  เป็นเหตุให้สัตว์พ้นทุกข์

๒.   ทัสสะนัฏโฐ   เป็นเหตุให้เห็นนิโรธ

๓.   นิยยานัฏโฐ   มีการมอบความพ้นทุกข์ให้

๔.  อธิปเตยยัฏโฐ    มีความเป็นอธิบดี

 

 

  

๕.๑  จัดสรุปองค์ ๘  ลงในไตรสิกขา

 

สัมมาวาจา        สัมมากัมมันต   สัมมาอาชีวะ          จัดเป็นสีลสิกขา

สัมมาวายามะ    สัมมาสติ          สัมมาสมาธิ           จัดเป็นสมาธิสิกขา

สัมมาทิฏฐิ          สัมมาสังกัปปะ                             จัดเป็นปัญญาสิกขา

   มรรค ๘ เกิดพร้อมกันบ้าง  ไม่พร้อมกันบ้าง 

มรรคมีองค์ ๘  เมื่อเกิดในมหากุศลที่ไม่เจริญวิปัสสนา มีไม่ครบ ๘  มีได้เพียง ๕-๖ เท่านั้น   เพราะมีอารมณ์มาก    หากเจริญวิปัสสนา จนวิปัสสนาเกิดขึ้น มีครบทั้ง

 

 

๕.๒  อุปมาอริยสัจ ๔

 

     ๑.  ทุกข์       เปรียบเหมือนภาระที่หนัก

     ๒.  สมุทัย    เปรียบเหมือนกับผู้แบกภาระที่หนักนั้น

     ๓.  นิโรธ      เปรียบเหมือนกับปลงภาระหนัก
                        ออกจากบ่าเสียได้แล้ว

     ๔.  มรรค      เปรียบเหมือนกับอุบายที่ปลงภาระนั้น

 

 

 

 

top

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                               

                               ๖.  ญาณ ๓ ในอริยสัจ ๔  มีอาการ ๑๒

 

๑.  ทุกขอริยสัจ    มีญาณ ๓ คือ  สัจจญาณ – กิจจญาณ – กตญาณ

๒.  สมุทัยอริยสัจ มีญาณ ๓ คือ  สัจจญาณ – กิจจญาณ – กตญาณ

๓.  นิโรธอริยสัจ   มีญาณ ๓ คือ  สัจจญาณ – กิจจญาณ – กตญาณ

๔.  มรรคอริยสัจ  มีญาณ ๓ คือ   สัจจญาณ – กิจจญาณ – กตญาณ

 

๖.๑  สัจจญาณในอริยสัจ ๔  ที่เกิดขึ้นแก่พระโสดาปัตติมรรคว่า 
                        -  ทุกข์นี้เป็นความจริงของพระอริยะ
                        -  นี้เป็นเหตุตั้งขึ้นพร้อมแห่งทุกข์
                        -  นี้เป็นธรรมที่ดับสนิทแห่งทุกข์
                        -  นี้เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ จัดไว้ในภูมิของพระเสขะ

 

๖.๒  กิจจญาณในอริยสัจ ๔  ที่เกิดขึ้นแก่พระอริยมรรคเบื้องสูง ๓ ว่า
        ทุกข์ควรกำหนดรู้ เป็นต้น จัดไว้ในภูมิของ พระเสขะเหมือนกัน

 

๖.๓  กตญาณในอริยสัจ ๔  คือ ปัญญาที่กลับพิจารณาว่า ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว
        เป็นต้น จัดไว้ในภูมิของพระอเสขะ (ปัจจเวกขณญาณ)