การให้ผลของกามาวจรกุศลกรรม

           

มนุษย์และเทวดาสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ 

เกิดขึ้นด้วยอำนาจของมหากุศลกรรม อันได้มาจาก บุญกริยาวัตถุ ๑๐

โดยมีมหาวิบาก ๘ ดวงใดดวงหนึ่งเป็นปฏิสนธิจิต  เรียกว่า  “สเหตุกปฏิสนธิ”

           

มนุษย์และเทวดาที่ไม่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ 

โดยพิการมา  เกิดจากอำนาจของอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากจิตเป็นปฏิสนธิจิต

หรือ  เรียกว่า  “ทุคติอเหตุกปฏิสนธิ”

 

การให้ผลในปวัตติกาล

            สเหตุกผล           ได้แก่              มหาวิบากจิต  ๘  ดวง

            อเหตุกผล           ได้แก่              อเหตุกกุศลวิบากจิต  ๘  ดวง

            ทั้งผล ทั้ง ๒ อย่างนี้     มหาวิบากจิต  ๘  เป็นผลที่ได้รับเฉพาะในกามสุคติภูมิ ๗ เท่านั้น

            โดยทำหน้าที่เป็นภวังคกิจ  และตทาลัมพนกิจ

                                                   ส่วนอเหตุกกุศลวิบากจิต ๘ นั้น เป็นผลที่ได้รับใน กามภูมิ ๑๑

            (เว้นอสัญญสัตตภูมิ ตามสมควรแก่ทวาร และอารมณ์  คือทวารใดไม่มีก็รับไม่ได้

 

จำแนก ติเหตุกกุศล และ ทวิเหตุกกุศล  โดยอุกกัฏฐะ และโอมกะ

 

ติเหตุกกุศล   และ ทวิเหตุกกุศล   ยังจำแนกแจกออกไปได้อีกอย่างละ   ๒ พวกคือ

 

ติเหตุกกุศล           ชนิด            อุกกัฏฐะ      คือ     ชั้นสูง

ติเหตุกกุศล           ชนิด            โอมกะ        คือ     ชั้นต่ำ

ทวิเหตุกกุศล         ชนิด            อุกกัฏฐะ      คือ     ชั้นสูง

ทวิเหตุกกุศล         ชนิด            โอมกะ        คือ     ชั้นต่ำ

 

* อุกกัฏฐกุศล *     คือ   กุศลชั้นสูง  

หมายความว่า ในการกระทำกุศลใดๆก็ตามย่อมมีความตั้งใจในการกระทำเสมอ

เจตนา อาจแบ่งออกได้เป็น  ๓  ระยะ  คือ

                                    บุพเจตนา         ได้แก่           ความตั้งใจก่อนทำ

                                    มุญจเจตนา       ได้แก่           ความตั้งใจขณะกระทำ

                                    อปรเจตนา        ได้แก่           ความตั้งใจเมื่อได้กระทำแล้ว

ถ้ากุศลมีความบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา  ไม่มีอกุศลเข้าเจือปนจัดว่าเป็น   อุกกัฏฐกุศล

คือกุศลชั้นสูง จะเป็นติเหตุกกุศล หรือทวิเหตุกกุศล ก็ตาม  ก็จัดเป็นกุศลชนิด อุกกัฏฐะ

 

*โอมกกุศล*     คือกุศลชั้นต่ำ   ได้แก่การกระทำกุศลที่มีอกุศลเจือปน  เช่น

ก่อนลงมือกระทำ มีความตั้งใจและเต็มใจกระทำ 

หากแต่ว่ากระทำไปด้วยความจำเป็นบังคับ  หรือทำแข่งกันกับเขา  หรือทำเพื่อ

หวังผลประโยชน์   เช่น ก่อนทำ  คือบุพเจตนา  เป็นไปโดยไม่บริสุทธิ์  

 

 เมื่อทำไปแล้ว ก็ไม่เกิดโสมนัสใด    กลับกลุ้มใจคิดเสียดายทรัพย์    หรือคิดถึงความต้อง

เหนื่อยยากลำบากต่างๆ  ไม่ว่าทาน ศีล ภาวนา     จะเป็นติเหตุกกุศล ก็ตาม  หรือ

ทวิเหตุกกุศล ก็ตาม    ล้วนจัดเป็นกุศลชั้นต่ำ ชนิด โอมกะ

ตามเหตุผล จะเห็นว่า     สำคัญอยู่ที่เจตนาในการกระทำ   ๒  ประการ คือ

บุพเจตนา  และอปรเจตนา  จะเป็นเครื่องวินิจฉัยว่ากุศลนั้นๆ จัดเป็น อุกกัฏฐกุศล  หรือ

โอมกกุศล   และในเจตนาทั้ง ๒ ประการนี้  อปรเจตนา  มีความสำคัญมากกว่า เพราะ

อปรเจตนา เป็นเจตนาที่เกิดภายหลังการกระทำกุศล  อาจเกิดได้เป็นเวลานาน

            * อปรเจตนานี้ ยังจำแนกออกไปเป็น  อปราปรเจตนา ได้อีก   หมายความว่า

เมื่อทำกุศลเสร็จใหม่ๆ  จัดเป็นอปรเจตนา    แหละแม้การกระทำล่วงมาเป็นเวลา

นานหลายเดือน  หรือหลายปี  ก็ยังปีติโสมนัสอยู่    เช่นนี้  อปราปรเจตนา เป็นกุศล

ชนิด อุกกัฏฐ

 

ติเหตุกกุศล  ทั้ง ๔    และทวิเหตุกกุศล  ทั้ง ๔  มีความเป็นไป คือ

           

ขณะที่   มุญจเจตนา      ประกอบด้วย       ไตรเหตุ          ขื่อว่า     ติเหตุกกุศล

            ขณะที่   มุญจเจตนา      ประกอบด้วย       ทวิเหตุ           ขื่อว่า     ทวิเหตุกกุศล

 

ขณะที่               อปรเจตนาดี  และอปราปรเจตนาเกิดขึ้นก็ดี    ชื่อว่า     อุกกัฏฐุกกัฏฐะ

ขณะที่               อปรเจตนาดี        แต่อปราปรเจตนาไม่ดี           ชื่อว่า     อุกกัฏโฐมกะ

ขณะที่               อปรเจตนาไม่ดี    แต่อปราปรเจตนาดี               ชื่อว่า     โอมกุกกัฏฐะ

ขณะที่               อปรเจตนาไม่ดี  และอปราปรเจตนาก็ไม่ดี       ชื่อว่า     โอมโกมกะ

* ติเหตุกกุศล  และทวิเหตุกกุศล  จึงจำแนก โดย  อปรเจตนา  และ  อปราปรเจตนา 

ที่เป็นชนิด อุกกัฏฐะ  หรือ โอมกะ ก็ได้

 

* แสดงการส่งผลของ  ติเหตุกกุศล  และทวิเหตุกกุศล*

            ติเหตุกอุกกัฏฐกุศล  ให้ผล

                        ในปฏิสนธิ        ให้มหาวิบากญาณสัมปยุตตจิต  ๔  เป็นติเหตุกปฏิสนธิ

   ให้เกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดาชั้นสูง

ในปวัตติกาล    ให้ได้รับผลอเหตุกกุศลวิบากจิต  ๘  และมหาวิบากจิต  ๘ ดวง

   รวม ๑๖ ดวง

            ติเหตุกอุกกัฏฐุกกัฏฐะ  และ ติเหตุกอุกกัฏโฐมกกุศล  ทั้ง ๒ ประเภทนี้   เมื่อว่า…

·   โดยธรรมาธิษฐาน       ทั้งในปฏิสนธิ   และ  ในปวัตติกาล    
ให้ผลเช่นเดียวกับ ติเหตุกอุกกัฏฐกุศล (ข้อ ๑)
·   แต่เมื่อว่าโดยปุคคลาธิษฐาน แล้ว   ย่อมให้ผลต่างกันบ้างคือ

                                    ติเหตุกอุกกัฏฐุกกัฏฐกุศล ย่อมให้ผลดีที่ประณีตกว่า ติเหตุกอุกกัฏฐกุศล

                                    ส่วนติเหตุกอุกกัฏโฐมกกุศล ย่อมให้ผลดีที่ต่ำกว่าผลของ ติเหตุกอุกกัฏฐกุศล

 

            ติเหตุกโอมกกุศล  และ ทวิเหตุกอุกกัฏฐกุศล  ทั้ง ๒ ประเภทนี้

ในปฏิสนธิ        ให้มหาวิบากญาณวิปปยุตตจิต  ๔   เป็นทวิเหตุกปฏิสนธิ

   ให้เกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดาชั้นกลาง

ในปวัตติกาล    ให้ได้รับผลอเหตุกกุศลวิบากจิต  ๘  และ

   มหาวิบากญาณวิปปยุตตจิต  ๔ ดวง   รวม   ๑๒ ดวง

           

ติเหตุกโอมกุกกัฏฐกุศล,    ติเหตุกโอมโกมกกุศล,   
                  ทวิเหตุกอุกกัฏฐุกกัฏฐกุศล 
และ  ทวิเหตุกอุกกัฏโฐมกกุศล
    ทั้ง ๔  ประเภทนี้  เมื่อว่า…

·   โดยธรรมาธิษฐาน       ทั้งในปฏิสนธิ   และ  ในปวัตติกาล    

ให้ผลเช่นเดียวกับ ติเหตุกโอมกกุศล และ ทวิเหตุกอุกกัฏฐกุศล

·   แต่เมื่อว่าโดยปุคคลาธิษฐาน แล้ว   ย่อมให้ผลต่างกันบ้างคือ

                                    ติเหตุกโอมกุกกัฏฐกุศล  และ ทวิเหตุกอุกกัฏฐุกกัฏฐกุศล 
       
ย่อมให้ผลดีที่ประณีตกว่า ผลของ ติเหตุกโอมโกมกกุศลและทวิเหตุกอุกกัฏโฐมกกุศล

 

                                    ส่วนติเหตุกโอมโกมกกุศล และทวิเหตุกอุกกัฏโฐมกกุศล  

ย่อมให้ผลดีที่ต่ำกว่าผลของ  ติเหตุกโอมกะและ ทวิเหตุกอุกกัฏฐกุศล

 

ทวิเหตุกโอมกุกกัฏฐกุศล   และ  ทวิเหตุกโอมโกมกกุศล    ทั้ง ๒ ประเภทนี้   เมื่อว่า…

·   โดยธรรมาธิษฐาน       ทั้งในปฏิสนธิ   และ  ในปวัตติกาล    

ให้ผลเช่นเดียวกับ ทวิเหตุกโอมกกุศล

·   แต่เมื่อว่าโดยปุคคลาธิษฐาน แล้ว   ย่อมให้ผลต่างกันบ้างคือ

                                    ทวิเหตุกโอมกุกกัฏฐกุศล ย่อมให้ผลดีที่ประณีตกว่าผลของ

 ทวิเหตุกโอมกกุศล

                                    ส่วนทวิเหตุกโอมโกมกกุศล ย่อมให้ผลดีที่ต่ำกว่าผลของ

ทวิเหตุกโอมกกุศล

 

 

            ทวิเหตุกโอมกกุศล

ในปฏิสนธิกาล  ให้อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากจิต         เป็นอเหตุกปฏิสนธิ

ให้เกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดาชั้นต่ำ  คือเป็นมนุษย์พิการ   ใบ้

บ้า   บอด   หนวกเป็นต้น  หรือ เป็นเทวดา พวก วินิปาติกอสุรา

ในปวัตติกาล      ให้ได้อเหตุกกุศลวิบากจิต ๘ ดวง 

      เป็นผลรับอารมณ์ต่างๆ มีการเห็น   ได้ยิน อย่างสามัญธรรมดา

 

การให้ผลของ  อสังขาริก  และ สสังขาริกกุศลกรรม

            ตามมติของเกจิอาจารย์

            อสังขาริกกุศลกรรม                        ไม่ให้เกิดเป็นสสังขาริกวิบาก และ

            สสังขาริกกุศลกรรม                        ก็ไม่ให้ผลเป็นอสังขาริกวิบากเช่นกัน

           

เมื่อนับจำนวนวิบากของกามาวจรกุศลกรรม คือ

            .   ติเหตุกอุกกัฏฐกุศลอสังขาริก  ๒ ดวง    ให้ผลเป็นวิบากจิต เกิดได้  ๑๒ ดวง

คือ อเหตุกกุศลวิบากจิต ๘   และมหาวิบากอสังขาริกจิต ๔

 

            .   ติเหตุกอุกกัฏฐกุศลสสังขาริก  ๒ ดวง    ให้ผลเป็นวิบากจิต เกิดได้  ๑๒ ดวง

คือ อเหตุกกุศลวิบากจิต ๘   และมหาวิบากสสังขาริกจิต ๔

 

            .   ติเหตุกโอมกกุศลอสังขาริก  ๒ ดวง   และ ทวิเหตุกอุกกัฏฐกุศลอสังขาริก  ๒ ดวง     

                        ให้ผลเป็นวิบากจิต เกิดได้  ๑๐ ดวง

คือ อเหตุกกุศลวิบากจิต ๘   และมหาวิบากญาณวิปปยุตอสังขาริกจิต  ๒

 

            .   ติเหตุกโอมกกุศลสสังขาริก  ๒ ดวง   และ ทวิเหตุกอุกกัฏฐกุศลสสังขาริก  ๒ ดวง     

                        ให้ผลเป็นวิบากจิต เกิดได้  ๑๐ ดวง

คือ อเหตุกกุศลวิบากจิต ๘   และมหาวิบากญาณวิปปยุตสสังขาริกจิต  ๒

 

            .   ทวิเหตุกโอมกกุศลอสังขาริก  ๒ ดวง   และ สสังขาริก  ๒ ดวง     

                        ให้ผลเป็นวิบากจิต เกิดได้   ๘ ดวง   คือ อเหตุกกุศลวิบากจิต   ๘  ดวง  

 

 

จำนวนวิบากของกามาวจรกุศล  ตามสมานวาทะ  และเกจิวาทะ

 

กามาวจรกุศล

จำนวนวิบาก

สมานวาทะ

เกจิวาทะ

                                   อสังขาริก  ๒

ติเหตุกอุกกัฏฐะ

                                   สสังขาริก  ๒

 

 

๑๖

 

 

๑๒

ติเหตุกโอมกะและ      อสังขาริก  ๔

ทวิเหตุกอุกกัฏฐะ       สสังขาริก  ๔

๑๒

๑๐

                                   อสังขาริก  ๒

ทวิเหตุกโอมก

                                             สสังขาริก ๒