หมวดที่ ๕
มรณุปปตติจตุกก
มรณา หมายถึง ความตาย
อุปปตติ หมายถึง การเกิดขึ้น
จตุกกัก หมายถึง จตุกก มี ๔ อย่าง
เมื่อรวมแล้ว มรณุปปตติจตุกก แปลว่า ความเกิดขึ้นแห่งความตายมี ๔ ประการ
หรือหมายความว่า เหตุที่ทำให้ความตายปรากฏขึ้น มี ๔ ประการ คือ
๑. อายุกขยมรณะ ได้แก่ ตายเพราะสิ้นอายุ
๒. กัมมักขยมรณะ ได้แก่ ตายเพราะสิ้นกรรม
๓. อุภยักขยมรณะ ได้แก่ ตายเพราะสิ้นอายุ และสิ้นกรรม
๔. อุปัจเฉทกมรณะ ได้แก่ ตายเพราะกรรมเข้าไปตัดรอน
แสดงนิมิตที่ปรากฏเมื่อใกล้จะตาย
เมื่อเวลาใกล้ตาย กรรมอารมณ์, กรรมนิมิตอารมณ์, คตินิมิตอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ย่อมปรากฏในทวารใดทวารหนึ่ง ในทวารทั้ง ๖ อยู่เสมอ
กรรมอารมณ์ ตัวกรรมคือ กุศล อกุศลเจตนานี้ จะมาเป็นอารมณ์ปรากฏ
ทางทวารทั้ง ๕ ไม่ได้ นอกจากปรากฏทางใจอย่างเดียว ฉะนั้นผู้ที่ทำความดี, ความชั่ว
แต่ภายในใจส่วนมาก เมื่อเวลาใกล้จะตาย การทำดี ทำชั่ว แต่ทางวาจาและกายยัง
ไม่ปรากฏ เช่นนี้ กรรมอารมณ์ ย่อมมีโอกาสปรากฏได้
กรรมนิมิตอารมณ์ หมายถึงอารมณ์ทั้ง ๖ ที่ได้ประสพพบแล้วด้วยการ
กระทำทางกาย, วาจา, ใจ ของตนนั้น กรรมนิมิต คือเครื่องหมายจากการกระทำ
ไม่ว่าจะดีหรือชั่วอย่างไรก็ตาม ย่อมปรากฏได้ทางทวารทั้ง ๖ เมื่อเวลาใกล้จะตาย
กรรมนิมิตเครื่องหมายจาการกระทำ ย่อมมีโอกาสปรากฏได้
คตินิมิตอารมณ์ หมายถึงอารมณ์ทั้ง ๖ ที่ได้ประสพพบแล้วด้วยการพบเห็น
จุติมี ๒ ประเภท
๑. รูปจุติ ๙ รูป
๒. นามจุติ ๑๙ ดวง
รูปจุติ ๙ คือ อสัญญสัตตพรหม จุติด้วย รูป ๙ คือ
๑. อวินิพโภครูป ๘
๒. ชีวิตรูป ๑
นามจุติ ๑๙ คือ กามจุติจิต ๑๐ ดวง
รูปจุติจิต ๕ ดวง
อรูปจุติ ๔ ดวง
การสิ้นสุดแห่งปัจจุบันภพ
การเกิดขึ้นแห่งภวังคจิต และ กัมมชรูปที่เกิดขึ้น สืบต่อกันอย่างไม่ขาดสาย
ในภพหนึ่งๆ เรียกว่า ปัจจุบันภพ ครั้นภวังคจิตตุปาทเปลี่ยนหน้าที่มาเป็นจุติ และ
กัมมชรูปก็เกิดขึ้นเป็นครั้งสุดท้าย เรียกว่า ความเป็นไปแห่งปัจจุบันภพได้สิ้นสุดลง
ปัจจุปปนน ภวปริโยสานภูตํ จุติจิต .เป็นจิตสุดท้ายแห่งปัจจุบันภพ
และการเกิดขึ้นแห่งจุติจิตมี ๒ อย่างคือ
เกิดขึ้นสุดท้ายแห่งวิถีจิต อย่างหนึ่ง
เกิดขึ้นเมื่อภวังคจิตสิ้นสุดลง อีกอย่างหนึ่ง
ใน ๒ อย่างนี้จุติจิตเกิดขึ้นสุดท้ายแห่งวิถีจิต มี ๒ อย่าง
และจุติจิตเกิดขึ้นเมื่อภวังคจิตสิ้นสุดลงก็มี
๒ อย่าง
รวมความแล้ว
มรณาสันนวิถี ชนิดที่เป็น
ปัญจมรณาสันนวิถี
จึงมี ๔ อย่าง คือ
๑. ช. ช. ช. ช. ช. ต. ต. จุติ.
๒. ช. ช. ช. ช. ช. จุติ.
๓. ช. ช. ช. ช. ช. ต. ต. ภ. ภ. ภ. จุติ.
๔. ช. ช. ช. ช. ช. ภ. ภ. ฯ. จุติ.
วิถีจิตทั้ง ๔ ประเภทนี้ มุ่งหมายเอาผู้ตายในกามภูมิ และจะเกิดในกามภูมิอีก
ส่วนผู้ ตายใน กามภูมิแล้ว จะเกิด ในพรหมภูมิก็ดี,
ตายใน พรหมภูมิ แล้วจะเกิด ในพรหมภูมิก็ดี หรือ
ตายใน พรหมภูมิ และจะเกิด ในกามภูมิก็ดี
ทั้ง ๓ ประเภทนี้ มรณาสันนวิถี ได้แต่เฉพาะ ชวนะวาระ ๒ วิถี เท่านั้น คือ
๑. ช. ช. ช. ช. ช. จุติ.
๒. ช. ช. ช. ช. ช. ภ . จุติ.
สำหรับตทาลัมพนวาระอีก ๒ วิถีนั้น ย่อมไม่เกิด การที่ตทาลัมพนวาระ๒ วิถี
ไม่เกิดแก่บุคคล ๓ ประเภทนั้น เพราะตทาลัมพนะ จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย
สภาพธรรม ๓ ประการคือ กามชวนะ, กามบุคคล, กามอารมณ์
ธรรม ๓ ประการนี้ต้องครบบริบูรณ์ ตทาลัมพนะจึงจะเกิดได้
ฉะนั้นบุคคล ๓ จำพวก จึงมีธรรม ๓ ประการไม่ครบองค์
มรณาสันนวิถีทั้ง ๒ ที่มีตทาลัมพนะ จึงเกิดไม่ได้
มรณุปปัตยานุกกะ
( จุติ ปฏิสนธิปุถุชน)
๑. อบาย จุติ ๑ ได้กามปฏิสนธิ ๑๐ ดวง
๒. สุคติ และทวิเหตุก จุติ ๕ ได้ปฏิสนธิ ๑๐ คือกามปฏิสนธิจิต ๑๐ ดวง
๓. มหาวิบากญาณสัมปยุต จุติ ๔ ให้ได้ปฏิสนธิ ๑๙
๔. รูปาวจรวิบาก ๕ ดวง ดวงใดดวงหนึ่ง จุติลงแล้ว ย่อมให้ได้ปฏิสนธิจิต ๑๗ ดวงคือ
มหาวิบากจิต ๘
มหัคคตวิบากจิต ๙
๕. สุทธาวาสปัญจมฌาน จุติจิต ๑ ดับลงแล้ว
ย่อมเป็นปัจจัยให้ได้ปัญจมฌานวิบากปฏิสนธิ ๑ เจตสิก ๓๐ ดวง
แม้ในปวัตติกาล ก็ได้ปัญจมฌานวิบากจิตนั้นแหละทำภวังค์ และจุติกิจ
๖. อากาสาจุติ ๑ ดับลงแล้ว ย่อมได้ปฏิสนธิจิต ๘ ดวง คือ
มหาวิบากญาณสัมปยุตตจิต ๔
อรูปาวจรวิบากจิต ๔
และในปวัตติกาล ก็ได้จิต ๘ ดวงนี้ มาทำกิจ
๗. วิญญาจุติ ๑ ดับลงแล้ว ก็เป็นปัจจัยให้ได้ปฏิสนธิจิต ๗ ดวง คือ
มหาวิบากญาณสัมปยุตตจิต ๔
อรูปาวจรวิบากจิตเบื้องบน ๓ (เว้น อากาสาวิบาก ๑)
และในปวัตติกาล ก็ได้จิต ๗ ดวงนี้แหละ มาทำกิจ
๘. อากิญจัญญาวิบากจุติ ๑ ย่อมเป็นปัจจัยให้ได้ปฏิสนธิจิต ๖ ดวง คือ
มหาวิบากญาณสัมปยุตตจิต ๔
อรูปาวจรวิบากจิตเบื้องบน ๒
๙. เนวสัญญาวิบากจุติ ๑ ย่อมเป็นปัจจัยให้ได้ปฏิสนธิจิต ๕ ดวง คือ
มหาวิบากญาณสัมปยุตตจิต ๔
เนวสัญญาวิบากจิต ๑
มรณาสันนกาล มีอารมณ์ ๓ ชนิด
๑. กรรม ได้แก่ โลกียเจตนา ๒๙
๒. กรรมนิมิต ได้แก่ อารมณ์ ๖ ที่มาปรากฏ เวลาใกล้ตาย
๓. คตินิมิต ได้แก่คติ ๕ คือ มนุสสคติ, นิรยคติ, ติรัจฉานคติ, เปตติคติ, เทวคติ
* จิตที่รับมรณาสันนอารมณ์ ๓ *
จิต ๔๑ ดวง คือ มโนทวาราวัชชนจิต ๑
กามชวนะจิต ๒๙
ตทาลัมพนะจิต ๑๑
* จิตที่มีอารมณ์เหมือนกัน *
๑. มรณาสันนชวนะ ๒๙ ดวง ในอดีตภพ
๒ ปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวง ในปัจจุบันภพ
๓. ภวังคจิต ๑๙ ดวง ในปัจจุบันภพ
๔. จุติจิต ๑๙ ดวง ในปัจจุบันภพ
* ลักษณะของอารมณ์ ๓ ชนิด *
๑. กรรม ได้แก่ โลกียเจตนา ๒๙ เป็นอดีต
ปรากฏ มีเฉพาะปัจจุบัน ที่ยังไม่ตายเท่านั้น
๒. กรรมนิมิต ได้แก่ อุปกรณ์ของกรรม คือ อารมณ์ ๖ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่มาปรากฏตลอดเวลาใกล้ตาย เช่นเห็นมีดสำหรับสังหารเป็นต้น
เป็นได้ ๒ กาล คือ อดีตกาล และ ปัจจุบันกาล
๓. คตินิมิต ได้แก่คติ ๕ เป็นปัจจุบันอารมณ์
รูปมาปรากฏทางมโนทวารอย่างเดียว ปรากฏทางจักขุทวารไม่ได้
และปรากฏมีในภพนี้เช่นกัน
* จุติ ปฏิสนธิของพระอริยะ *
๑. กามโสดา และสกทาคามี
ได้มหาวิบากญาณสัมปยุตจุติ ๔ ดวง ดับลงแล้ว
ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดปฏิสนธิ ๑๓ ดวง คือ มหาวิบากญาณสัมปยุตตจิต ๔ ดวง
และ มหัคคตวิบากจิต ๙ ดวง รวม ๑๓ ดวง
และในขณะที่จิต ๑๓ ดวงนี้ ทำภวงัคกิจ ตทาลัมพนกิจ และจุติกิจ เป็นปวัตติกาล
๒. กามอนาคามี
ได้จุติมหาวิบากญาณสัมปยุตจิต ๔ ดวง แล้วให้เกิด มหัคคตวิบากปฏิสนธิ ๙
๓. อริยบุคคลในรูปภูมิ ๑๐
๔. พระเสกขบุคคลในทุติยฌานภูมิ ๓
ส่วนปฐมฌานวิบาก ๑ พระอริยะ ไม่กลับมาอีกแล้ว
๕. พระเสกขบุคคล ที่ในตติยฌานภูมิ ๓
๖. พระเสกขบุคคล ที่ในจตุตถฌานภูมิ ๕ คือ สุทธาวาส ๕
๗. พระเสกขบุคคล ในพรหมชั้น อากาสา
๘. พระเสกขบุคคล ในพรหมชั้น วิญญาณัญจา
๙. พระเสกขบุคคล ในพรหมชั้น อากิญจัญญา
๑๐. เนวเสกขบุคคล ในพรหมชั้น เนวภูมิ
พระอริยะ ที่ขึ้นไปเกิดในภูมิพิเศษ ๓ ภูมิ
ย่อมไม่ย้ายไปเกิดที่ภูมิอื่นอีก
ย่อมอยู่ที่นั่น จนบรรลุพระขีณาสพ
แล้วก็นิพพานในที่นั้นที่เดียว
สมตามบาลีที่มีว่า |
|
เวหปผเล อกนิฏเฐ | ภวคเค จ ปติฏฐิตา |
น ปุน ยตถ ชายนติ | สพเพ อริยปุคคลา |