ทวารสังคหะ เป็นการแสดงถึง การรวบรวมช่องทางรู้อารมณ์ของจิต และเจตสิก
๑. จักขุทวาร องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท
๒. โสตทวาร องค์ธรรมได้แก่ โสตปสาท
๓. ฆานทวาร องค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท
๔. ชิวหาทวาร องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท
๕. กายทวาร องค์ธรรมได้แก่ กายปสาท
๖. มโนทวาร องค์ธรรมได้แก่ ภวังคจิต ๑๙ (ภวังคุปัจเฉทะ)
๑. จิตที่อาศัยเกิดได้ ทวารเดียว มี ๓๖ ดวง คือ
๒. จิตที่อาศัยเกิดได้ ๕ ทวาร มี ๓ ดวง คือ
สัมปฏิจฉนจิต ๒ ดวง
๓. จิตที่อาศัยเกิดได้ ๖ ทวาร มี ๓๑ ดวง คือ
กามชวนจิต ๒๙ ดวง
๔. จิตที่บางทีก็อาศัย ทวาร ๖ บางทีก็ไม่ต้องอาศัย มี ๑๐ ดวง คือ
มหาวิบากจิต ๘ ดวง
อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ ดวง เมื่อทำหน้าที่ สันตีรณกิจ หรือ ตทาลัมพนกิจ
มหาวิบากจิต ๘ ดวง เมื่อทำหน้าที่ ตทาลัมพนกิจ
จิตทั้ง ๑๐ ดวงนี้ เมื่อทำหน้าที่เสร็จแล้ว ต้องอาศัยทวาร เป็นทางเกิด
แต่ถ้าทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจ, ภวังคกิจ, จุติกิจ อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ กิจนี้แล้ว
ไม่ต้องอาศัยทวารเกิดเลย
๕. ทวารวิมุตตจิต คือ จิตที่พ้นจากทวารทั้ง ๖ โดยไม่ต้องอาศัยทวารใดทวารหนึ่ง
มี ๙ ดวง คือ มหัคคตวิบากจิต ๙ ดวง
การจำแนกเจตสิกโดยทวาร
เจตสิก |
แน่นอน (เอกันตะ) |
ไม่แน่นอน (อเนกันตะ) |
เจตสิกที่อาศัยเกิดในทวารเดียว)
|
อัปปมัญญาเจตสิก ๒ (ที่ประกอบในกุศล,กิริยา) |
เจตสิก ๕๐ ดวง (เว้น อัปปมัญญาเจตสิก ๒) |
เจตสิกที่เกิดในทวาร ๕ |
ไม่มี |
เจตสิก ๕๐ ดวง (เว้น อัปปมัญญาเจตสิก ๒) |
เจตสิกที่เกิดในทวาร ๖
|
อกุศลเจตสิก ๑๔ วิรตีเจตสิก ๓ ๑๗ |
อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๐(เว้น วิรตี ๓, อัปป ๒) ๓๓ |
ทวาริกเจตสิก(เจตสิกที่เกิดในทวาร)
|
อกุศลเจตสิก ๑๔ วิรตีเจตสิก ๓๑๗ |
อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๒(เว้น วิรตี ๓ ) ๓๕ |
ทวารวิมุตตเจตสิก(เจตสิกที่พ้นจากทวาร)
|
ไม่มี |
อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๒(เว้น วิรตี ๓) ๓๕ |