อารมณ์ทางปัญจทวารวิถี

 

อารมณ์ทางปัญจทวารวิถี ย่อมมี ปัญจารมณ์  คือ 

รูปารมณ์    สัททารมณ์    คันธารมณ์    รสารมณ์    โผฏฐัพพารมณ์ 

เป็นอารมณ์แก่จิตตามสมควร

ปัญจารมณ์  ที่เป็นอารมณ์ของปัญจทวารวิถีเหล่านั้น  ย่อมเป็นผลมาจากกรรมในอดีต

         จากผลอกุศลกรรมกุศลกรรม  ที่ได้ทำไว้

         

วิบากจิตแห่งสัตว์ ที่จะรับผลของกรรมนั้น เป็นวิบากจิตของกรรมในอดีตเช่นกัน

          กล่าวคือ ….กรรม…นั้นย่อมเป็นปัจจัยแก่  นามธรรม  และรูปธรรม 

กรรมที่เป็นปัจจัยแก่ นามธรรม ก็ได้แก่วิบากจิตทั้งหมด ที่ปรากฏในปฏิสนธิกาล

                   และปวัตติกาล   

 

ส่วนกรรมที่เป็นปัจจัยแก่ รูปธรรมนั้น  รูปธรรมที่เป็นผลของกรรมโดยตรงก็ได้แก่ 

          กัมชรูปทั้งหลาย  ที่ปรากฏในร่างกายของสัตว์  มีจักขุปสาท โสตปสาทฆานปสาท

กายปสาทหทยวัตถุ  และรูปสภาวะ  ภาวรูปที่แสดงความเป็นหญิงหรือชาย 

ย่อมได้ปัจจัยจากกรรมโดยตรง

 

ประเภทของปัญจารมณ์

ที่สัตว์ได้รับนั้น  ย่อมมีความแตกต่างกัน  มีทั้งประเภทดี  และไม่ดี  จึงแบ่งได้เป็น  ๓  คือ

 

อติอิฏฐารมณ์  เป็นอารมณ์ที่ดียิ่ง

 

                    ตี.   .   .   .   วิ.   สํ.   .   วุ.   ช ช ช ช ช ช ช.   .

                                กุศลวิบากอุเบกขา                                     กุศลวิบากโสมนัส      

                                                               กุศลวิบากโสมนัส

          

เมื่อประสพอารมณ์นี้แล้ว    วิบากจิตที่ทำกิจการงานเพื่อขึ้นวิถี   รับปัญจารมณ์นี้ 

ได้แก่ ปัญจวิญญาณจิตสัมปฏิจฉันนจิตสันตีรณจิตตทาลัมพนจิต 

ย่อมเป็นจิตที่เป็นผลของกุศล ที่เรียกว่า “กุศลวิบาก”  โดยเฉพาะ

          สันตีรณจิต  และตทาลัมพนจิต  ย่อมเกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา  เสมอ

 

อิฏฐารมณ์  เป็นอารมณ์ที่ดีน้อยกว่า อติอิฏฐารมณ์

 

                    ตี.   .   .   .   วิ.   สํ.   .   วุ.   ช ช ช ช ช ช ช.   .

                                         กุศลวิบากอุเบกขา                           กุศลวิบากอุเบกขา      

 

            เมื่อประสพอารมณ์นี้แล้ว    วิบากจิตที่ทำกิจการงานเพื่อขึ้นวิถีรับ  ปัญจารมณ์นี้ 

ก็ได้แก่ ปัญจวิญญาณจิตสัมปฏิจฉันนจิตสันตีรณจิตตทาลัมพนจิต 

ย่อมเป็นจิตที่เป็นกุศลวิบาก ชนิดที่เกิดพร้อมกับอุเบกขาเวทนา   ทั้งสิ้น

 

 

อนิฏฐารมณ์  เป็นอารมณ์ชนิดไม่ดี

 

                    ตี.   .   .   .   วิ.   สํ.   .   วุ.   ช ช ช ช ช ช ช.   .

                                         กุศลวิบากอุเบกขา                    อกุศลวิบากอุเบกขา      

 

            เมื่อประสพอารมณ์นี้แล้ว    ย่อมทำให้จิตเกิดความไม่พอใจในอารมณ์  ส่วนมาก

วิบากจิตที่ทำกิจในวิถี รับปัญจารมณ์ที่เป็น อนิฏฐารมณ์นี้คือ    ปัญจวิญญาณจิต

สัมปฏิจฉันนจิต,   สันตีรณจิต,   ตทาลัมพนจิต       เป็นจิตที่เป็นผลฃองอกุศล

ที่เรียกว่า “อกุศลวิบาก”  

และจิตเหล่านี้  ย่อมเกิดพร้อมกับ    อุเบกขาเวทนา    เพียงอย่างเดียวเท่านั้น  

 

ชวนะ เกิดได้   ๕   ขณะ

          มหากิริยาญาณสัมปยุต ของพระพุทธเจ้าเป็นปัจจเวกได้  ๕  ขณะ

          กามาวจรชวนะของมรณาสันนวิถี   เกิดชวนะได้  ๕  ขณะ

          การที่พระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์ได้ด้วยมหากิริยาญาณวิปปยุต 

 

 

ชวนะ  ๖  ขณะ  มี  ๑  คือ   เวลาคนป่วยหนัก

 

ชวนะ  ๗  ขณะ  มี  ๑  คือ   กามาวจรชวนะ ในยามคนปกติทั่วไป

 

ชวนะที่เกิดได้มากขณะ  ไม่มีกำหนด   คือ  

. ในเวลา   ฌานลาภีบุคคล     ที่ได้เข้าฌานสมาบัติ

                ในขณะ ผลบุคคล ๔     เข้าผลสมาบัติ  ย่อมเกิดผลชวนะไม่มีกำหนด