ตทาลัมพนนิยม

ตทาลัมพนนิยม  หมายถึง  ข้อกำหนดของตทาลัมพนะที่จะเกิดขึ้นได้นั้น

ต้องมีเงื่อนไขจำกัดประการใดประการหนึ่ง ที่ตทาลัมพนะเกิดขึ้นได้ และไม่ได้

อาลัมพนะ หรืออารัมมณะ   หมายถึงอารมณ์  และเป็นอารมณ์ที่ปรากฎชัดเจนชวนให้จิต
ได้เสพทางทวารทั้ง ๖  ซึ่งประกอบด้วยอารมณ์

          มี อย่าง    คือ     อนิฏฐารมณ์           คือ     อารมณ์ที่ไม่ดี

                                      อิฏฐารมณ์             คือ     อารมณ์ที่ดี

                   อติอิฏฐารมณ์         คือ     อารมณ์ที่ดียิ่ง

          ตทาลัมพนะจะเกิดได้นั้น ต้องอาศัยองค์ประกอบครบบริบูรณ์  คือ

                  

ชวนะ               ต้องเป็น       กามชวนะ

                   สัตว์                 ต้องเป็น       กามสัตว์

                   อารมณ์            ต้องเป็น       กามอารมณ์

                   วิถี                   ต้องเป็น       อติมหันตารมณ์  หรือ  วิภูตารมณ์

                  

เมื่อครบองค์ประกอบทั้ง  ๔  ประการแล้ว   ตทาลัมพนะย่อมเกิด 

จิตที่ทำหน้าที่ตทาลัมพนะมี   ๑๑   ดวง   คือ           

                  

อุเบกขาสันตีรณ อกุศลวิบาก       ๑   ดวง

                   อุเบกขาสันตีรณ กุศลวิบาก         ๑   ดวง

                   โสมนัสสันตีรณ กุศลวิบาก          ๑   ดวง

                   มหาวิบากจิต                              ๘   ดวง

                   รวมตทาลัมพนะจิต                  ๑๑   ดวง       

 

* ข้อยกเว้น * ตามที่กล่าวถึงตทาลัมพนะมาแล้วนั้น   เป็นการแสดงการเกิดของ

ตทาลัมพนะทั่วไป  แต่บางกรณี ตทาลัมพนะควรเกิด  แต่ไม่ได้เกิด  เพราะ  จะเกิด

ติดต่อกับโสมนัสเวทนาไม่ได้  เพราะสภาพเวทนาทั้งสอง เป็นปฏิปักษ์แก่กัน 

ดังนั้นจึงต้องมีจิตอื่นมาแทน   จิตที่แทนนั้นเรียกว่า “ อาคันตุกภวังค์ “

ชวนะนิยม

 

ชวนะนิยม  หมายถึงธรรมเนียมของชวนะ  หรือ ข้อจำกัดความแน่นอนของชวนะ คือ 

ในจิต  ๕๕  ดวง  กำหนดได้ว่าชวนะดวงไหนจะเกิดขึ้นที่ใดบ้าง   และ ในระหว่างใดบ้าง 
รวมถึง
เกิดได้  ๕  ขณะบ้าง  บางทีก็   ขณะบ้าง  หรือ  ๗  ขณะบ้างเป็นต้น