ปริจเฉทที่ ๕

วิถีมุตตสังคหวิภาค

 

                        วิถีวิมุตตะ      แปลว่า           พ้นวิถี หรือ นอกวิถี

                        สังคหะ          แปลว่า           สงเคราะห์ หรือ รวบรวม

                        วิภาค              แปลว่า           ส่วน หรือ ตอน

 

วิถีวิมุตตสังคหวิภาค  แปลว่า  ส่วนที่รวบรวมการแสดงจิตพ้นวิถี หรือนอกวิถี

                              ซึ่งเป็นการแสดงวิถีจิตในปฏิสนธิกาลนั่นเอง

 

จิตในวิถี   หมายถึง    จิตที่ทำกิจตั้งแต่ อาวัชชนกิจ จนถึง ตทาลัมพนกิจ  คือ

                               จิตที่ทำกิจเหล่านี้ นับว่าอยู่ในวิถี  มีจำนวน  ๘๐  ดวง

                               ( เว้นมหัคคตวิบากจิต  ๙  ดวง )

 

จิตในวิถี ยังแบ่งออกเป็นอีก  ๒  พวก คือ

เอกันตะ   คือ      จิตในวิถีแน่นอน  มี  ๗๐  ดวง คือ

            อกุศลจิต                 ๑๒   ดวง

อเหตุกจิต                ๑๖   ดวง

มหากุศลจิต               ๘   ดวง                        

            มหากิริยาจิต              ๘   ดวง             รวม   ๗๐      ดวง

            มหัคคตกุศลจิต        ๙   ดวง

            มหัคคตกิริยาจิต       ๙   ดวง

            โลกุตตรจิต               ๘   ดวง

 

อเนกันตะ   คือ    จิตในวิถีไม่แน่นอน  มี  ๑๐  ดวง คือ

            อุเบกขาสันตีรณจิต              ๒   ดวง          รวม   ๑๐   ดวง

            มหาวิบากจิต                         ๘   ดวง

 

 .  จิตที่พ้นวิถี   หมายถึง    จิตที่มิได้ทำกิจเพื่อรับอารมณ์ใหม่ในภพปัจจุบันดังข้อ ๑

                                   คงทำกิจเพียง กิจ คือ ปฏิสนธิกิจภวังคกิจ และจุติกิจ

 

จิตพ้นวิถีนี้มี   ๒  จำพวกเช่นกัน คือ

เอกันตะ   คือ      จิตที่พ้นวิถีแน่นอน  มี   ๙  ดวง คือ

            มหัคคตวิบากจิต      ๙   ดวง

 

อเนกันตะ   คือ    จิตที่พ้นวิถีไม่แน่นอน  มี  ๑๐  ดวง คือ

            อุเบกขาสันตีรณจิต              ๒   ดวง         

            มหาวิบากจิต                         ๘   ดวง

วิถีมุตตสังคหวิภาค     แสดงว่า  ธรรมที่พ้นวิถีนี้มี หมวด  และแต่ละหมวดยังแบ่ง  

                              ออกเป็น  ๔ ข้อธรรม ซึ่งเรียกว่า  “ จตุกะ ”  ได้แก่

           

หมวดที่ ๑.   “ ภูมิจตุกะ ”          คือ  อบายภูมิ – กามสุคติภูมิ – รูปาวจรภูมิ – อรูปาวจรภูมิ

           

หมวดที่ ๒.  “ ปฏิสนธิจตุกะ ”  คือ  อบายปฏิสนธิ – กามสุคติปฏิสนธิ – รูปาวจรปฏิสนธิ –

                                                                     –  อรูปาวจรปฏิสนธิ

           

หมวดที่ ๓.  “ กรรมจตุกะ ”  คือ กิจจตุกะ –ปากทานจตุกะ –ปากกาลจตุกะ –ปากฐานจตุกะ

           

หมวดที่ ๔.  “ มรณุปติจตุกะ ”  คือ  อายุกขยมรณะ – กัมมักขยมรณะ – อุภยักขยมมรณะ –

                                                                    --  อุปัจเฉทกมรณะ