กัมมจตุกะ

 

            กรณํ    =   กมมํ          แปลว่า           การกระทำ     ชื่อว่า  กรรม

            ธรรมชาติใดที่สัตว์ทั้งหลายพึงกระทำ  ธรมชาตินั้นชื่อว่า  “ กรรม ” 

ได้แก่ เจตนาเจตสิก ที่ประกอบใน อกุศลจิต ๑๒    และ โลกียกุศลจิต ๑๗  เป็นผู้กระทำ

 

ส่วนเจตนาที่ประกอบในโลกุตตรกุศลจิต ๔  หรือมรรคจิต ๔  ไม่ชื่อว่าเป็นกรรม 
เพราะเป็นการกระทำที่ตัดวัฏฏะ  คือตัดความเวียนว่ายตายเกิด

            ส่วนเจตนา ใน วิบากจิต ๓๖  ก็ไม่ชื่อว่ากรรม  เพราะเป็น ผลของกรรม

                    เจตนา ใน กิริยาจิต ๒๐ ก็ไม่ชื่อว่ากรรม เพราะ เป็นกิริยาจิต สักแต่ว่ากระทำ

                                                   ไม่เป็นบุญเป็นบาป ที่ก่อให้เกิดผล

           

ฉะนั้น เจตนาเจตสิกที่ประกอบกับอกุศลจิต ๑๒  และโลกียกุศลจิต ๑๗ เท่านั้นที่เป็นกรรม

 


 

   กิจจตุกะ

               

            กิจจตุกะ        เป็นจตุกะว่าด้วยฐานที่ให้เกิดการงานของกรรม มี     หน้าที่

                        ชนกกรรม                        มีหน้าที่ทำให้วิบากจิต และกรรมชรูปเกิดขึ้น

                        อุปถัมภกกรรม               มีหน้าที่ช่วยอุดหนุนกรรมอื่นๆ

                        อุปปีฬิกกรรม                 มีหน้าที่เบียดเบียนกรรมอื่นๆ

                        อุปฆาตกกรรม               มีหน้าที่ตัดรอนกรรมอื่นๆ

 

 การให้ผลของกรรม

 

.    ครุกรรม              คือกรรมที่หนักแน่น  โดยกรรมอื่นไม่สามารถห้ามการให้ผลได้

                                    นอกจากจะเป็นครุกรรมเหมือนกัน และหนักกว่ากันเท่านั้น

           

ครุกรรมมี  ๓  ประเภทคือ

            นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม     คือการเห็นผิดเป็นกรรมหนัก

ให้ผลแน่นอนในการจุติ      มี  ๓  อย่างคือ

                                    นัตถิกทิฏฐิ           เห็นผิดว่า การทำดีทำชั่วย่อมไม่มีผล   (ปฏิเสธผล)

                                    อเหตุกทิฏฐิ         เห็นผิดว่าสัตว์ทั้งหลายที่กำลังเป็นไปอยู่นี้

มิได้อาศัยเหตุใดๆ   (ปฏิเสธเหตุ)

                                    อกิริยาทิฏฐิ          เห็นผิดว่าการกระทำต่างๆ ของสัตว์นั้น

                                                                        ไม่สำเร็จเป็นบุญเป็นบาปแต่อย่างใด

                        อนันตริยกรรม  ๕  ได้แก่  ฆ่าบิดา – ฆ่ามารดา – ฆ่าพระอรหันต์ –
                               ทำร้ายพระ
พุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต – ทำสงฆ์ให้แตกแยกกัน  

                        มหัคคตกุศลกรรม  เป็นกุศลกรรมหนักที่ทำให้เกิดในพรหมโลก

           

 

.    อาสันนกรรม    คือ กรรมที่ได้กระทำในเวลาใกล้จะตาย  หรือการระลึกถึงกรรมใดๆ

                                                ในเวลาใกล้ตาย       

 

.    อาจิณณกรรม   คือ กรรมที่ได้กระทำอยู่เสมอๆ    หมายการทำบุญทำบาปที่ตนได้

กระทำอยู่เสมอๆ   และ ระลึกได้เสมอๆ

 

.    กฏัตตากรรม     คือ กรรมที่ได้กระทำไปแล้ว เป็นกรรมอย่างสามัญ ไม่เข้าขั้นครุกรรม

                                    อาสันนกรรม  หรือ อาจิณณกรรม  แต่เป็นกรรมเล็กๆ น้อยๆ

         

 

ลำดับการให้ผลของกรรม   ๔

  อกุศลเจตนา  ๑๑      เว้น อุทธัจจเจตนา   ให้ได้

                                    อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก  ปฏิสนธิ      

                                                                                       เจตสิก         ๑๐

                                                                                                                   กัมมชรูป      ๒๐

                                                                                       อบายภูมิ         

            *  อกุศลเจตนา    ๑๒ ดวง  ให้ได้   อกุศลวิบากใน ปวัตติกาลได้       

   ติเหตุกอุกกัฏฐเจตนา   ๔  ดวง               ให้ได้

                                    มหาวิบากญาณสัมปยุต       ปฏิสนธิ             

                                                                                    เจตสิก            ๓๓

                                                                                                                กัมมชรูป        ๒๐

            *  และได้   กุศลวิบากในปวัตติกาล ๑๖  ใน กามสุคติภูมิ  ๗

   ติเหตุกโอมกเจตนา  ๔  และ ทวิเหตุกอุกกัฏฐเจตนา   ๔  ดวง   รวมดวง   ให้ได้

มหาวิบากญาณวิปปยุต       ปฏิสนธิ           

                                                                                    เจตสิก          ๓๒

                                                                                                                กัมมชรูป       ๒๐

*และได้  กุศลวิบากในปวัตติกาล ๑๒  (เว้นมหาวิบากญาณสัมปยุต ๔) ใน กามสุคติภูมิ  ๗

 

.  ทวิเหตุกโอมกเจตนา  ๔  ให้ได้

                                    อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก ปฏิสนธิ           

                                                                                    เจตสิก            ๑๑

                                                                                                                กัมมชรูป       ๒๐

*  และให้ได้   อเหตุกกุศลวิบาก  ๘  ดวงใน ปวัตติกาลที่ มนุษย์ และ เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา

                         (เว้น มหัคคตวิบากจิต ๘  ดวง)

 

รูปาวจรกุศลเจตนา  ๕  ให้ได้

                                    รูปาวจรวิบาก           ปฏิสนธิ           

                                                                        เจตสิก            ๓๕

                                                                                                กัมมชรูป        ๑๕ (เว้น ฆาน, ชิวหา, กายภาวรูป ๒)

*  และได้ รูปภูมิ ๑๕  (แต่ถ้าฌานลาภีบุคคลผู้บำเพ็ญปัญจมฌานนั้น บำเพ็ญกัมมฐาน

นามวิราคะ  คือ เบื่อนาม ปรารถนาที่จะให้มีรูปอย่างเดียว    หากฌานนั้นไม่เสื่อม ก็  

สามารถเป็น  “ ชนกกรรม ” ให้ได้ อสัญญีสัตตาอีก ๑ ภูมิ  รวม  ๑๖  ภูมิ)

 

อรูปาวจรกุศลเจตนา  ๔  ให้ได้

                                    อรูปาวจรวิบาก         ปฏิสนธิ           

                                                                        เจตสิก            ๓๐

*  และได้ อรูปวิบาก ๔  ในปวัตติกาล   ใน อรูปภูมิ ๔

 

ฐานของผลกรรม

 

.   อกุศลกรรม                    ได้แก่              อกุศลเจตนา      ๑๒

.   กามาวจรกุศลกรรม     ได้แก่              มหากุศลเจตนา    ๘

.   รูปาวจรกุศลกรรม        ได้แก่              รูปกุศลเจตนา       ๕

.   อรูปาวจรกุศลกรรม     ได้แก่              อรูปกุศลเจตนา    ๔

 


 

อกุศลกรรมบท ๑๐  มี มูล  ๓

 

.   โลภะมูล        ให้เกิด          อกุศลกรรมบทได้    

.   โทสะมูล      ให้เกิด          อกุศลกรรมบทได้    

.   โมหะมูล      ให้เกิด          อกุศลกรรมบทได้    ๑๐

 

 

                                      แจกมูลตามกรรมบท ๑๐

กายกรรม  ๓

            ปาณาติบาต               มี         โทสะ    โมหะ                       เป็นมูล  ๒

            อทินนาทาน              มี         โลภะ     โทสะ    โมหะ       เป็นมูล  ๓

            กาเมสุมิจฉาจาร       มี         โลภะ     โมหะ                      เป็นมูล  ๒

 

วจีกรรม  ๔

            มุสาวาท                     มี         โลภะ     โทสะ    โมหะ       เป็นมูล  ๓

            ปิสุณวาท                   มี         โลภะ     โทสะ    โมหะ       เป็นมูล  ๓

            ผรุสวาท                     มี         โทสะ    โมหะ                     เป็นมูล  ๒

            สัมผัปลาปะ              มี         โลภะ     โทสะ    โมหะ       เป็นมูล  ๓

มโนกรรม  ๓

            อภิชฌา                      มี         โลภะ     โมหะ          เป็นมูล

            พยาบาท                     มี         โทสะ     โมหะ          เป็นมูล

            มิจฉาทิฏฐิ                 มี         โลภะ      โมหะ         เป็นมูล

 


 

ประธานกรรมของอกุศลกรรมบท

 

            กายและวจีกรรม  ๗       มี  เจตนา  เป็นประธาน

            อภิชฌา                            มี โลภะเหตุ เป็นประธาน

            พยาบาท                          มี โทสะเหตุ เป็นประธาน

            มิจฉาทิฏฐิ                       มี  ทิฏฐิ  เป็นประธาน

 

โลภะ  เป็นมูลให้มิสสกกรรมบท  ๓  ชนิด คือ

 

            โลภะ        เป็นมูลให้      กาเมสุมิจฉาจาร

            . โลภะ        เป็นมูลให้      อภิชฌา

            . โลภะ        เป็นมูลให้      มิจฉาทิฏฐิ

 

โทสะ  เป็นมูลให้มิสสกกรรมบท  ๓  ชนิด คือ

 

            โทสะ        เป็นมูลให้      ปาณาติบาต

            . โทสะ        เป็นมูลให้      ผรุสวาท

            . โทสะ        เป็นมูลให้      พยาบาท

 

โลภะ - โทสะ  เป็นมูลให้มิสสกกรรมบท  ๔  ชนิด คือ

 

            โลภ - โทสะ        เป็นมูลให้      อทินนาทาน

            . โลภ - โทสะ        เป็นมูลให้      มุสาวาท

            . โลภ - โทสะ         เป็นมูลให้      ปิสุณวาท

            . โลภ - โทสะ         เป็นมูลให้      สัมผัปลาวาท

โมหะเหตุ เป็นสาธารณมูลให้แก่ อกุศลกรรมบทได้ทั้ง ๑๐  อย่าง

 

โลภะเป็นมูลให้  ๗  คือ    .    เป็นมูลให้          อทินนาทาน

                                                .   เป็นมูลให้          กาเมสุมิจฉาจาร

                                                .   เป็นมูลให้           มุสาวาท

                                                .   เป็นมูลให้           ปิสุณาวาท

                                                .   เป็นมูลให้           สัมผัปลาปวาท

                                                .    เป็นมูลให้          อภิชฌา

                                                .   เป็นมูลให้           มิจฉาทิฏฐิ

 

 

โทสะเป็นมูลให้  ๗  คือ   .    เป็นมูลให้          ปาณาติบาต

                                                .   เป็นมูลให้          อทินนาทาน

                                                .   เป็นมูลให้           มุสาวาท

                                                .   เป็นมูลให้           ปิสุณาวาท

                                                .   เป็นมูลให้           ผรุสวาท

                                                .    เป็นมูลให้          สัมผัปลาวาท

                                                .   เป็นมูลให้           พยาบาท

 

โมหะ  เป็นมูลให้ทั้ง  ๑๐  คือ     เป็นมูลให้   กายกรรม  ๓

                                                            เป็นมูลให้     วจีกรรม  ๔

                                                            เป็นมูลให้  มโนกรรม  ๓

 

 

ทวารของอกุศลกรรม  ๓  ชนิด

กายวิญญัติรูป  ๑  

เป็นประตูสำหรับการเดินเข้าออกของ อกุศลเจตนากรรม  ๑๒  ดวง

วจีวิญญัติรูป  ๑  

เป็นประตูทางวาจาที่เดินเข้าออกของ อกุศลเจตนากรรม  ๑๒  ดวง

อกุศลจิต  ๑๐  ดวง   (เว้นโมหะมูลจิต ๒)  

เป็นประตูที่เดินเข้าออกของ โลภะโทสะ  และ มิจฉาทิฏฐิ

 

รวม  ๓  ทวาร