จดหมายเหตุจากประเทศอังกฤษ
๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
ณ บ้านเลขที่ ๗ MORECOOMBE CLOSEKINGSTON UPON THAMSURREY KT 2 7 JQภายใต้ความหนาวเย็นยะเยือกที่ผ่านพัดเข้ามาทางช่องลม ฉันนั่งสั่น กอดเข่าเจ่าจุกอยู่เพียงลำพังในบ้านพักที่แสนงาม ตามการตกแต่งของผู้เป็นเจ้าของ ดอกทิวลิปบานสะพรั่งหลากหลายสีสลับกับดอกไม้อื่นๆ และดอกหญ้าที่บานท้าทายลมหนาว ละอองฝนประปรายไม่ขอชาดสาย ทำให้ฉันรับรู้สึกถึงบทเพลงพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้าของชาวไทยได้อย่าางแปลกประหลาด ลมหนาว "ยามลมหนาว พัดโบกโชยชื่น"
ลม เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ทั่วๆ ไปทั่วโลก จะแตกต่างก็เพียงลมแรงหรือเบาเท่านั้น ซึ่งไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องรับรู้เสมอ แต่คำว่า หนาว นี่ซี เป็นธรรมชาติที่ต้องสัมผัสเฉพาะตนเท่านั้น หาผู้ใดหนาวแทนกันย่อมเป็นไปไม่ได้ ลมก็ส่วนลม หนาวก็ส่วนหนาว ทำให้ความเด่นชัดในธรรมชาติที่ฉันสัมผัสอยู่นั้นเป็นอารมณ์ที่ค่อนข้างประณีต ลึกซึ้งอย่างเห็นได้ชัด
ความรู้ชัด คำนี้เกิดตามมาจาก ความรู้จริง
และความรู้จริงนั้นย่อมเกิดขึ้มาในโลกได้ก็เพราะการศึกษาในหลักของความจริง อันมีต้นกำเนิดเกิดจากพระปัญญาคุณของพระองค์ พระโคดมสมณเจ้า ที่เราชาวพุทธเคารพเทิดทูนบูชายิ่งกว่าชีวิตการเรียรรู้ความจริงจึงเป็นสิ่งสำคัญของชีวิดที่จะเป็นบทเรียนที่นำไปสู่แบบฝึกหัดให้แก่ชีวิดของมวลมนุษย์ได้อย่างดีเยี่ยม
บทเรียน | ต้องอาศัย สัทธา |
แบบฝึกหัด | ต้องอาศัย วิริยะ |
ในการเรียน | ต้องอาศัย สมาธิ |
ในแบบฝึกหัด |
ต้องอาศัย สติสัมปชัญญะ |
เหล่านี้คือหัวใจของนักศึกษาที่ก้าวไปสู่ความสำเร็จ
มาพูดถึงความสำเร็จ ก็มีเรื่องราวมากมายที่ทุกคนต้องการ เช่น สำเร็จการศึกษา สำเร็จในหน้าที่การงานต่างๆ แต่ไหนเลยจะเท่า "สำเร็จจากความทุกข์" เพราะจะนำมาซึ่งความสุขให้แกชีวิตของเรา ซึ่งตามสภาพชีวิตนั้น เราย่อมรู้แล้วว่า ชีวิตเป็นทุกข์
หากจะตั้งคำถามว่าทำไมทุกข์ ก็มีคำตอบมากมาย แต่ในที่นี้ อยากจะใช้คำตอบว่า ทุกข์เพราะคิดผิด เท่านี้ก่อน
ดังนั้น ความคิด ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ โดยเฉพาะการคิดไปเรื่อยๆ อย่างไร้เหตุผล หรือจะเรียกว่า ไร้ปัญญาก็ว่าได้ เพราะธรรมดา คนเราคิดอะไรมักจะไม่ค่อยรู้สึกตัวปล่อยไปตามอารมณ์ที่เราพูดกันว่า ฟุ้งซ่าน ในวันหนึ่งๆ คนที่จะรู้ตัวว่า คิดอะไรอยู่ ทำอะไรอยู่ มีน้อยมาก ส่วนมากคิดไปตามความเคยชิน ตามอารมณ์ของตนเสมอ ความทุกข์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเราทุกวันนี้ เพราะเราไม่รู้จักคิด หรือคิดผิดคิดถูกก็ไม่รู้ จนบางครั้งก็ทุกข์เกินเหตุเสียด้วยซ้ำ เช่น เกิดเจ็บไข้ไม่สบายกายนิดหน่อย แต่จิตใจเป็นทุกข์มาก เพราะเราไม่รู้จักคิด ปล่อยให้ความคิดเป็นไปตามกิเลส คือไม่พอใจ (โทสะ)
เมื่อกิเลสมีบทบาทเข้ามาปรุงแต่งแล้ว จะเห็นอะไร ได้ยินอะไร หรือนึกไปในอดีตที่ผ่านๆ มา จนบางครั้งเกิดพยาบาทได้ จึงจำเป็นต้องฝึกหัดจิตใจให้คิดถูก เมื่อคิดถูก ความทุกข์ก็สามารถยุติได้หรือเรียกว่า แก้ทุกข์ได้ ด้วยการพยายามเปลี่ยนนิสัยมาดูอารมณ์ มาสังเกตอารมณ์ตนว่า กำลังทำอะไรอยู่ กำลังคิดอะไรอยู่ คิดถูกหรือเปล่า ถ้าคิดไม่ถูก ก็พยายามคิดใหม่ให้ถูก การพยายามเช่นนี้เรียกว่า ปัญญา
พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค สี่อย่างนี้อยู่ที่ใจของเรา
ทุกข์เกิดที่ไหน ก็เกิดที่ใจของเราทุกข์อยู่ที่ไหน เหตุก็อยู่ที่นั่น เพราะทุกข์มาจากเหตุ เราจะละเหตุทุกข์ได้ ก็ต้องเจริญมรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญาคำสอนของพระองค์มีมากมายยิ่งนัก แต่คำสั่งของพระองค์ซึ่งเป็นเสมือนอาวุธอันคม ที่สามารถตัดขวากหนามนานา ชนิด ได้เด็ดขาด
สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนัง
เพื่อความสุขเหนือโลก เราต้องทำความบริสุทธิ์เหนืออารมณ์ (กิเลส)
กมฺมุนา วตฺตตี โลโก | โลกเป็นไปตามกรรม |
กมฺมสกฺก | เรามีกรรมเป็นของๆ ตน |
กมฺมทายาทา | เราเป็นผู้รับผลของกรรม |
กมฺมโยนิ | ิ เรามีกรรมเป็นแดนเกิด |
กมฺมพนฺธุ | เรามีกรรมเป็นผู้ติดตาม |
กมฺมปฏิสฺสรณา |
เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย |
เมื่อทุกอย่างของชีวิตเรา ทั้งที่กำลังเผชิญและกำลังกระทำ ล้วนเป็นเรื่องกรรมทั้งสิ้น แล้วไฉนเราจึงไม่สนใจการรมล่ะ ?
บุษกร เมธางกูร เวลา ๑๐.๔๓ น. (เวลาในประเทศอังกฤษ)