สติปัฎฐาน ๔
Home || เกริ่นนำ เรื่องสติ || อิริยาบถบรรพ || อายตนบรรพ || อานิสงส์การเจริญสติปัฏฐาน ๔ || อานาปานบรรพ ||
|| สัมปชัญญบรรพ || เวทนานุปัสสนา  || ปฏิกูลมนสิการบรรพ || นวสีวถิกาบรรพ ||
|| ทุกขอริยสัจ || ทุกขสมุทัยอริยสัจ2 ||  ทุกขนิโรธอริยสัจ || ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ||
|| ขันธบรรพ || กถาว่าด้วยอุทเทสวาร ||
ถาม - ตอบวิปัสสนา ||

พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่ 14 ทีฆนิกาย มหาวรรค ข้อ 277 หน้า 213-214

มหาสติปัฏฐานสูตร

----------------------------------------------------------------

กายานุปัสสนา

ปฏิกูลมนสิการบรรพ

  [ ๒๗๗ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้นี่แล a51.JPG (5385 bytes)

  เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป  เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้คือ  

  ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด

  ไส้ใหญ่ ไส้น้อย  อาหารใหม่ อาหารเก่า

  มันสมอง น้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร

  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไถ้ ( ถุงยาวๆ สำหรับใส่เงินหรือสิ่งของ ) มีปาก ๒ ข้าง เต็มด้วย ธัญญชาติ

  มีประการต่างๆ ด้วย  ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร

  บุรุษมีจักษุแก้ไถ้นั้นออกแล้วพึงเห็นได้ว่า เหล่านี้

  ข้าวสาลี เหล่านี้ ข้าวเปลือก เหล่านี้ ถั่วเขียว เหล่านี้ ถั่วเหลือง เหล่านี้

  งา เหล่านี้ ข้าวสาร ฉันใด

 

  ดูก่อน  ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นนั่นแล ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้นี่แล

  เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไปเบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้

  คือ   ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต  ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย

  อาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมอง น้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ มันข้น  น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูกไขข้อ น้ำมูตร ดังนี้

 

  ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็น a61.JPG (7129 bytes)  กายในกายเป็นภายนอกบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง

  ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่  แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียง สักว่าเป็นที่ อาศัยระลึก

  เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย

  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่อย่างนี้

  จบข้อกำหนดว่าด้วยของปฏิกูล

  nbar.gif (5599 bytes)

 พระไตรปิฎก และอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่ 14 ทีฆนิกาย มหาวรรค หน้า 303
อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร

---------------------------------------------------------------------

อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร

ปฏิกูลมนสิการบรรพ

  พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนาโดยทางสัมปชัญญะ ๔ อย่างนี้แล้ว

  บัดนี้ เพื่อจะทรง  จำแนกการใส่ใจ ( มนสิการะ ) ถึงกายโดยความเป็นของปฏิกูล

  จึงตรัสว่า  ยังมีอีกข้อหนึ่ง เป็นต้น ใน ปฏิกูลมนสิการบรรพนั้น คำใดที่ควรกล่าวในบาลีเป็นต้นว่า กายนี้นี่แล a62.JPG (4177 bytes)คำนั้นทั้งหมด ท่านกล่าวไว้แล้วใน

  กายคตาสติกัมมัฏฐาน คัมภีร์วิสุทธิมรรคโดยพิสดารด้วยอาการทั้งปวง

  คำว่า  มีปากสองข้าง ความว่า ประกอบ ด้วยปากทั้งสอง ทั้งข้างล่าง ข้างบน คำว่ามีอย่างต่างๆ คือมีชนิดต่างๆ

  ในข้อนั้นมีคำเทียบเคียงอุปมาดังต่อไปนี้

  ก็กายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ พึงทราบ เปรียบเหมือนไถ้ มีปากสองข้าง

  อาการ ๓๒ มีผม ขน เล็บ เป็นต้น เปรียบเหมือน ธัญญชาติต่างชนิด ที่เขาใส่ปนกันลงไปในไถ้นั้น

  พระโยคาวจรเปรียบเหมือน บุรุษมีจักษุ  อาการปรากฏชัดแห่งอาการ ๓๒ ของพระโยคาวจร

  พึงทราบเหมือนอาการที่ ธัญญชาติต่างชนิดปรากฏ  แก่บุรุษผู้แก้ไถ้นั้นออกแล้ว พิจาณาดูอยู่

  คำว่า ภายในก็ดี ความว่า พิจารณาเห็นกายในกายของตน หรือ ในกายของคนอื่น  หรือในกายของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล

 

  ด้วยการกำหนดอาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ เป็นต้นอย่างนี้อยู่

  คำบาลีเป็นต้นว่า สติของเธอ ก็ปรากฎชัดว่า กายมีอยู่ ความว่า  สติของภิกษุนั้นเข้าไปตั้งเฉพาะอย่างนี้ว่า

  กายแลมีอยู่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร

  คำว่า เพียงเท่านั้น นี้เป็นเครื่องกำหนดเขตแห่งประโยชน์   ท่านอธิบายว่า

  สติที่เข้าไปตั้งอยู่นั้น หาใช่เพื่อประโยชน์อย่างอื่นไม่ ที่แท้ก็เพียงเพื่อประโยชน์สักว่า ความรู้ คือ a63.JPG (5414 bytes)ประมาณแห่งความรู้ยิ่งๆ ขึ้นไป

  และประมาณแห่งสติเท่านั้น อธิบายว่า เพื่อความเจริญแห่ง สติสัมปชัญญะ

  คำว่า ไม่ถูกกิเลสอาศัยอยู่ ความว่า ไม่ถูกกิเลสอาศัย ด้วยอำนาจแห่งกิเลสเป็นที่อาศัย คือตัณหา และทิฏฐิอยู่

  คำว่า ไม่ยึดถือสิ่งไรๆ ในโลกด้วย ความว่า ไม่ถือสิ่งไรๆ ในโลก คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญานว่า

  นี้เป็นตัวของเรา นี้มีในตัวของเรา

  สติกำหนดอาการ ๓๒ เป็นอริยสัจ ๔

  ในปฏิกูลมนสิการบรรพนี้

  สติกำหนดอาการ ๓๒ เป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจ

  ตัณหาที่มีในก่อน อันยังสติ กำหนดอาการ ๓๒ เป็นอารมณ์นั้นให้ตั้งขึ้น เป็นสมุทัยสัจ

  การไม่เกิดทุกขสัจ  และสมุทัยสัจทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ

  อริยมรรคมีประการดังกล่าวมาแล้วเป็นมรรคสัจ

  ภิกษุโยคาวจร ขวนขวายโดยทางสัจจะ ๔ อย่างนี้ ย่อมบรรลุ นิพพานดับทุกข์ได้แล

  นี้เป็นทางปฏิบัตินำทุกข์ออกจนถึงพระอรหัต ของภิกษุผู้กำหนดสติกำหนดอาการ ๓๒  เป็นอารมณ์ รูปหนึ่งฉะนี้แล


จบปฏิกูลมนสิการบรรพ

TOP :: HOME

ศีล สมาธิ ปัญญา... หนทางสายเอก...