สติปัฎฐาน ๔
Home || เกริ่นนำ เรื่องสติ || อิริยาบถบรรพ || อายตนบรรพ || อานิสงส์การเจริญสติปัฏฐาน ๔ || อานาปานบรรพ ||
|| สัมปชัญญบรรพ || เวทนานุปัสสนา || ปฏิกูลมนสิการบรรพ || นวสีวถิกาบรรพ ||
|| ทุกขอริยสัจ || ทุกขสมุทัยอริยสัจ2 || ทุกขนิโรธอริยสัจ || ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ||
|| ขันธบรรพ || กถาว่าด้วยอุทเทสวาร || ถาม - ตอบวิปัสสนา ||
มหาสติปัฏฐานสูตร
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
สัจจบรรพ ทุกขอริยสัจพระไตรปิฎก
และอรรถกถาแปล
ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์
เล่มที่ 14 ทีฆนิกาย
มหาวรรค ข้อ 294-295 หน้า 232-236
มหาสติปัฏฐานสูตร
---------------------------------------------------------
ธัมมานุปัสสนา
สัจจบรรพ
ทุกขอริยสัจ
[ ๒๙๔ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
คือ อริยสัจ ๔ (ความจริงของพระอริยเจ้า , ความจริงอย่างประเสริฐ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็อย่างไร
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
คือ อริยสัจ ๔
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ ทุกขสมุทัย ( เหตุให้เกิดทุกข์ )
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ ทุกขนิโรธ (ธรรมเป็นที่ดับทุกข์
คือพระนิพพาน)
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมที่ดับทุกข์
หรือ ข้อปฏิบัติให้ถึง พระนิพพาน)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความจริงของพระอริยเจ้า
คือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า
แม้ชาติ
ก็เป็นทุกข์ แม้ชรา ก็เป็นทุกข์
แม้มรณะ ก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ
ก็เป็นทุกข์ ปริเทวะ (ความร่ำไรรำพัน) ทุกข์ (ความไม่สบายกาย) โทมนัส (ความเสียใจ) และอุปายาส (
ความคับแค้นใจ ) ก็เป็นทุกข์ ความประสบสัตว์และสังขาร
ซึ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสัตว์ และสังขาร
ซึ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
สัตว์ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้
แม้ข้อที่ไม่สมประสงค์นั้น
ก็เป็นทุกข์
โดยย่ออุปาทานขันธ์ ( ขันธ์ประกอบ ด้วยอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น ) ๕ เป็นทุกข์
[ ๒๙๕ ]
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ชาติ
เป็นอย่างไร ความเกิด เกิดพร้อม หยั่งลงเกิด
เกิดจำเพาะ ความ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ชรา เป็นอย่างไร ความแก่ ความคร่ำคร่า ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก
ความที่หนังหดเหี่ยวเป็นเกลียว
ความเสื่อมแห่งอายุ
ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ
ของสัตว์นั้นๆ อันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า
ชรา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มรณะ เป็นอย่างไร ความจุติ ความเคลื่อนไป ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย
ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์
ความทิ้งซากศพไว้
ความขาดไปแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า
มรณะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
โสกะ
( ความเหือดแห้งใจ )
เป็นอย่างไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความโศก ความเศร้าใจ ความแห้งใจ
ความผาก ณ ภายใน ความโศก ณ
ภายในของสัตว์ ผู้ประกอบความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง
และ
ผู้มีความทุกข์อันใดอันหนึ่ง
มาถูกต้องแล้ว อันใดเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า โสกะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ปริเทวะ ( ความร่ำไรรำพัน ) เป็นอย่างไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน
กิริยาที่คร่ำครวญ
ความที่ร่ำไรรำพัน
ความที่สัตว์คร่ำครวญ ความที่สัตว์ร่ำไรรำพัน
ของสัตว์ ผู้ประกอบด้วยความฉิบหาย
อันใดอันหนึ่ง
และผู้ที่มีความทุกข์อันใดอันหนึ่ง
มาถูกต้องแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า
ปริเทวะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ ( ความไม่สบายกาย ) เป็นอย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์เกิดในกาย ความไม่ดีเกิดในกาย
เวทนาไม่ดีเป็นทุกข์
เกิดแต่สัมผัส ทางกายอันใดเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ทุกข์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทมนัส ( ความเสียใจ ) เป็นอย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์เกิดในใจ
ความไม่ดี เกิดในใจ
เวทนาไม่ดีเป็นทุกข์
เกิดแต่สัมผัสทางใจ อันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อันนี้กล่าวว่า
โทมนัส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปายาส ( ความคับแค้นใจ ) เป็นอย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความแค้น
ความคับแค้น ความที่สัตว์แค้น
ความที่สัตว์คับแค้น ของสัตว์ผู้ประกอบด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง
และผู้ที่ความทุกข์อันใด อันหนึ่ง
มาถูกต้องแล้ว อันนี้กล่าวว่า
อุปายาส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความประสบสัตว์และสังขาร ซึ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์อย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อารมณ์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขาร ซึ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์ อย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อารมณ์เหล่าใดในโลกนี้
ซึ่งเป็นที่ปรารถนา
เป็นที่รักใคร่ เป็นที่ปลื้มใจ
คือ รูป เสียง
กลิ่น รส
และโผฏฐัพพะ ย่อมมีแก่ผู้นั้น
อนึ่ง หรือชนเหล่าใด
ที่ใคร่ต่อความเจริญ
ใคร่ประโยชน์ เกื้อกูลใคร่ความสำราญ
และใคร่ความเกษม
จากเครื่องประกอบแก่ผู้นั้น คือ
มารดา หรือบิดา พี่ชายน้องชาย
หรือพี่หญิง
น้องหญิง มิตร
หรืออำมาตย์ หรือญาติสาโลหิต ควาไม่ไปร่วม
ความไม่มาร่วม
ความไม่ประชุมร่วม ความไม่ระคน กับด้วยอารมณ์และ สัตว์เหล่านั้นอันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อันนี้กล่าวว่า ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารซึ่งเป็นที่รัก
เป็นทุกข์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้ แม้ของที่ไม่สมประสงค์นั้น
เป็นทุกข์อย่างไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความปรารถนา
ย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ ที่มีความเกิดเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า
ขอความเกิดอย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนอ ดังนี้ ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้ แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า การไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา ก็เป็นทุกข์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้น
แก่เหล่าสัตว์ที่มีความแก่ เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า
โอหนอ ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความแก่เป็นธรรมดาเถิด
อนึ่ง
ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลยหนา ดังนี้ ข้อนั้น
สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้
แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า
การไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา ก็เป็นทุกข์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้น แก่เหล่าสัตว์ที่มีความเจ็บๆ ไข้ๆ เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาเถิด ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้
แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า
การไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา
ก็เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์
ที่มีความตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า
สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้ แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า การไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา ก็เป็นทุกข์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้น
แก่เหล่าสัตว์ ที่มีโสกะ
ปริเทวะ ทุกขะโทมนัส อุปายาสเป็นธรรมดา
อย่างนี้ว่า
โอหนอ
ขอพึงเราเป็นผู้ไม่มี โสกะ
ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
อุปายาส เป็นธรรมดาเถิด
อนึ่ง ขอ โสกะ
ปริเทวะ ทุกขะ
โทมนัส อุปายาส
อย่ามีมาถึงแก่เราเลย ดังนี้
ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้
แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า
การไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา
ก็เป็นทุกข์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕
เป็นทุกข์อย่างไร นี้คือ
อุปาทานขันธ์ คือ รูป
/ อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา
/ อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา
/ อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร
/ อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
โดยย่อเหล่านี้ กล่าวว่า
อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อันนี้กล่าวว่า
อริยสัจ คือ ทุกข์
พระไตรปิฎก
และอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์
เล่มที่ 14 ทีฆนิกาย
มหาวรรค หน้า 350-355
อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร
-----------------------------------------------------------------------------
อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร :
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
สัจจบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นทรงจำแนกธัมมานุปัสสนา โดยโพชฌงค์ ๗
ประการ อย่างนี้แล้ว
บัดนี้ เพื่อจะทรง จำแนกสัจจะ ๔
ประการ
จึงตรัสว่า
ปุน จปรํ ยังมีอีกข้อหนึ่ง
ดังนี้เป็นต้น
อริยสัจ ๔
ในคำเหล่านั้น คำว่า รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์เป็นต้น ความว่า
รู้ชัดตามสภาพที่เป็นจริง ซึ่งธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ เว้นตัณหาว่า นี้ทุกข์
รู้ชัดตามสภาพที่เป็นจริง ซึ่งตัณหาที่มีอยู่ก่อน
อันทำทุกข์นั้นนั่นแหละ
ให้เกิด ให้ปรากฏขึ้นว่า นี้ทุกข์สมุทัย
รู้ชัดตามสภาพที่เป็นจริงซึ่งความดับคือ หยุดทุกข์และทุกขสมุทัย ทั้งสองว่า นี้ ทุกขนิโรธ
รู้ชัดตามสภาพที่เป็นจริง ซึ่ง อริยมรรค อันเป็นเหตุกำหนดรู้ทุกข์ เป็นเหตุละสมุทัย เป็นเหตุทำให้แจ้งนิโรธว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
กถาว่าด้วย สัจจะที่เหลือ เว้นกถาว่าด้วยบท
ภาชนะ
แจกบทแห่งทุกข์มีชาติเป็นต้น
ท่านกล่าวไว้พิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้วเทียว
อธิบาย บทภาชนะ
ชาติ ส่วนในบทภาชนะ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
คำว่า กตมา จ ภิกฺขเว ชาติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชาติเป็น อย่างไร
ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็ชาติอันใด
ที่เรากล่าวอย่างนี้ว่า แม้ชาติก็เป็นทุกข์
ชาติอันนั้นเป็นอย่างไร
พึงทราบอรรถในปุจฉาทั้งปวง อย่างนี้ คำว่า ของสัตว์เหล่านั้นๆ อันใดนี้ เป็นคำกำหนดรวมสัตว์ไว้ทั้งหมดโดยไม่มี กำหนดว่า ของเหล่าสัตว์ชื่อนี้
แม้คำว่าในหมู่สัตว์นั้นๆ นี้ เป็นคำกำหนดรวมหมู่สัตว์ไว้ทั้งหมด
ความเกิดชื่อว่า ชาติ
คำว่าชาตินี้
เป็น ชื่อของขันธ์ที่เกิดจำเพาะทีแรก
พร้อมด้วยความเปลี่ยนแปลง
คำว่า สัญชาติ นี้ เป็นไวพจน์ ( แทน ) ของชาตินั่นเอง
ชื่อว่า โอกฺกนฺติ ก้าวลง ด้วยอรรถว่า ก้าวลง โดยอาการที่เข้าไปโดยลำดับ
ชื่อว่า อภินิพฺพตฺติ เกิดจำเพาะ กล่าวคือ เกิด ทั้ง ๔ อย่างนี้
ชื่อว่ากล่าวโดยสมมติ ส่วนบาลี ขนฺธานํ ปาตุภาโว ความปรากฏแห่งขันธ์ ทั้งหลายนี้
กล่าวโดยปรมัตถ์
ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลายนั่นแล ที่แยกเป็น ขันธ์หนึ่ง
ขันธ์สี่ และขันธ์ห้า
ในบรรดาหมู่สัตว์ที่มี ขันธ์หนึ่ง เป็นต้น นั่นเอง
ไม่ใช่ความปรากฏแห่งบุคคล
แต่เมื่อความปรากฏแห่งขันธ์นั้นมีอยู่ ก็สมมติเรียกกันว่า บุคคลปรากฏดังนี้
คำว่า
อายตนานํ ปฏิลาโภ ความได้อายตนะทั้งหลาย
ความว่า อายตนะทั้งหลายปรากฏอยู่นั่นแล
เป็นอันชื่อว่าได้มานั้น ชื่อว่า ความได้มาที่กล่าวได้ว่าความปรากฏแห่งอายตนะเหล่านั้น
ชรา
ศัพท์ว่า ชรา เป็นศัพท์แสดงถึงสภาพความเป็นเอง ศัพท์ว่า ชีรณตา แสดงถึงภาวะ คือ อาการ
ศัพท์ว่า
ขณฺฑิจฺจํ
เป็นต้น
คือแสดงถึงภาวะเปลี่ยนแปลง
จริงอยู่ เวลาเป็นหนุ่มสาว ฟันก็เรียบขาว
ครั้นหง่อมเข้า ฟันเหล่านั้นก็เปลี่ยนสีไปโดยลำดับ
หลุดตกไปในที่นั้นๆ อนึ่ง ฟันหัก หมายถึงฟันที่หลุดร่วง
และที่ยังอยู่ ชื่อว่า ขณฺฑิตา
ภาวะแห่งฟันที่หักเรียกว่า ขณฺฑิจฺจํ ความที่ฟันหัก
ผมและขน
คร่ำคร่าไปโดยลำดับ
ชื่อว่า ผมหงอก ผมหงอกเกิดพร้อมแล้วแก่บุคคลนั้น
เหตุนั้น บุคคลนั้น
ชื่อว่าผมหงอก
ภาวะแห่งบุคคลผู้มีผมหงอก
ชื่อว่า ปาลิจฺจํ
ความที่ผมหงอก
เกลียวที่หนังของบุคคลนั้น
มีอยู่เพราะ มีเนื้อและเลือดแห้งไปด้วยถูกลม
คือ ชราประหาร
เหตุนั้นบุคคลนั้นชื่อว่ามีหนังเป็นเกลียว
(เหี่ยว)
ภาวะแห่งบุคคลผู้มีหนังเป็นเกลียวนั้น
ชื่อว่า วลิตฺตจตา ความที่หนังเหี่ยว
ด้วยถ้อยคำมีประมาณเพียงเท่านี้เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงชรา
ที่เปิดเผย อันปราฏกชัดโดยแสดงความเปลี่ยนแปลง ใน ฟัน ผม
ขน หนัง ทางไปของลม หรือไฟ
จะปรากฏได้
ก็เพราะ ลมพัดถูกหญ้า
หรือต้นไม้เป็นต้น หักระเนระนาด
หรือไฟไหม้ แต่ทางไปของลม
และไฟนั้นก็หาปรากฏไม่ฉันใด
ทางไปแห่งชราก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะปรากฏได้ก็โดยมีภาวะฟันหักเป็นต้น แห่งอาการ ๓๒ มี ฟันเป็นต้น
แม้บุคคล ลืมตาดู
ก็จับไม่ได้
ความคร่ำคร่าแห่งอาการมีฟันหักเป็นต้น
หาใช่ตัวชราไม่
เพราะชราจะพึงรู้ทางจักษุมิได้ แต่เพราะเมื่อถึงชรา
อายุเสื่อมไปฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสโดยผลใกล้เคียงว่า ความเสื่อมไปแห่งอายุ เรียกว่า ชรา
อนึ่ง
เพราะเวลาเป็นหนุ่มสาว
อินทรีย์ทั้งหลายมีจักษุเป็นต้น
เมื่อถึง ชรา ก็แก่งอม ขุ่นมัว
ไม่ผ่องใส ไม่สามารถรับอารมณ์
แม้ที่หยาบได้ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสโดยผลใกล้เคียงว่า
ความแก่งอมแห่งอินทรีย์ทั้งหลายเรียกว่า
ชรา ดังนี้บ้าง
ในมรณนิทเทส
มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ท่านเรียกว่า จุติ เรียกว่า จวนตา
ในศัพท์เหล่านั้น ศัพท์ว่า จุติ แสดงถึงสภาพที่เป็นเอง
ศัพท์ว่า จวนตา แสดงถึง ภาวะ คือ อาการ เมื่อบุคคลถึงมรณะแล้ว ขันธ์ทั้งหลายย่อมแตก และหายไป แลไม่เห็น
เพราะฉะนั้น มรณะนั้น จึงเรียกว่า ความแตก ความหายไป ความมอดม้วย
บทว่า มัจจุมรณะ คือ มัจจุมรณะ มิใช่ ขณิกมรณะ ( ตายชั่วขณะ ) การทำกาละคือ ตาย ชื่อว่า กาลกิริยา แม้ทั้งหมดนี้ กล่าวโดยสมมติทั้งนั้น
ส่วนบาลีว่า ขนธฺานํ เภโท นี้ เป็นการกล่าวโดยปรมัตถ์ ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ที่แยกเป็นขันธ์หนึ่ง ขันธ์สี่ และขันธ์ห้า
ในบรรดาหมู่สัตว์ที่มีขันธ์หนึ่งเป็นต้นนั่นเอง มิใช่ความแตกแห่งบุคคล แต่เมื่อความประชุมพร้อมแห่งขันธ์มีอยู่ ก็สมมติ เรียกว่า บุคคลตาย
การทอดทิ้งร่างกาย
ชื่อว่าทอดทิ้งซากศพ จริงอยู่เมื่อบุคคลถึงความตาย
ร่างกายก็ตกเป็น
เพราะฉะนั้น มรณะนั้นท่านจึงเรียกว่า การทอดทิ้งซากศพ
ส่วนความขาดแห่งชีวิตินทรีย์
เมื่อว่าโดยปรมัตถ์โดยอาการทั้งปวงก็คือมรณะ
มรณะนั้นนั่นแหละ
เรียกว่า
สมมติมรณะ ชาวโลกถือเอาความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ เท่านั้น
จึงพูดว่า
ติสสะ ตาย ผุสสะ ตาย ดังนี้
บทว่า พยฺสเนน ด้วยความวิบัติ ความว่า ด้วยความวิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาความวิบัติทั้งหลาย มีความวิบัติจากญาติเป็นต้น
บทว่า ทุกขฺธมฺเมน อันทุกขธรรม ความว่า อันเหตุแห่งทุกข์ มีการฆ่า และจองจำ เป็นต้น
บทว่า ผุฏฺฐสฺส ถูกต้องแล้ว ได้แก่ท่วมทับ ครอบงำแล้ว
คำว่า
โสกะ
ได้แก่ความโศก
อันมีความแห้งใจเป็นลักษณะ
ย่อมเกิดแก่บุคคล
ในเมื่อถูกความวิบัติ
มีความวิบัติจากญาติ เป็นต้น หรือเหตุแห่งทุกข์มีการฆ่า
การจองจำเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ครอบงำแล้ว ความเป็นผู้เศร้าโศก ได้แก่ ความเศร้าโศก
ก็ความเศร้าโศกนั้น เกิดขึ้นทำภายในให้แห้ง
ให้แห้งผาก เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า ความเศร้าใจ ความแห้งใจภายใน
ดังนี้
คนทั้งหลาย
ยึดถืออย่างนี้ว่า
ลูกหญิงของเรา ลูกชายของเรา
ดังนี้
เหตุนั้น ความยึดถือนั้น จึงชื่อว่า เป็นเหตุคร่ำครวญ
คนทั้งหลาย รำพันยกยอคุณนั้นๆ ด้วยเหตุนั้น เพราะฉะนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า เป็นเหตุรำพัน
ศัพท์ทั้งสอง (
อเทวนา =
ความเศร้าโศก /
ปริเทวนา =
การร้องไห้ , คร่ำครวญ
)
นอกจาก
อาเทวะ ปริเทวะ นั้น เป็นศัพท์แสดงภาวะแห่งความคร่ำครวญ รำพันนั้นนั่นแหละ
ความทุกข์ อันมีกายประสาท เป็นที่ตั้ง ( ที่เกิด ) เพราะอรรถว่าทนได้ยาก ชื่อว่าทุกข์ทางกาย
คำว่า ทุกข์ที่เกิดแต่กายสัมผัส คือทุกข์ที่เกิดจากสัมผัสทางกาย
คำว่า เวทนาที่ไม่น่าชื่นใจ
คือ เวทนา ที่ไม่น่าชอบใจ
โทมนัสสัมปยุตกับจิต ชื่อว่า
เจตสิก ได้แก่โทมนัสทางใจ
อุปายาส
บทว่า อายาโส ได้แก่ ความลำบากทางใจ อันถึงอาการ คือ ความท้อแท้ห่อเหี่ยว
ความคับใจโดยภาวะมีกำลังแรง ชื่อว่า
ความคับแค้นใจ การไม่สมความปรารถนาเป็นทุกข์
บทว่า ชาติธมฺมานํ มีความเกิดเป็นธรรมดา คือ มีความเกิดเป็นสภาวะ
สองบทว่า
อิจฺฉา อุปฺปชฺชติ
ความ
คำว่า อโห วต ได้แก่ ความปรารถนา
บทว่า น โข ปนตํ อิจฺฉาย ข้อนั้น ไม่พึงได้ด้วยความปรารถนาแล
ความว่า ข้อนั้น คือความไม่ต้องมาเกิด เว้นมรรคภาวนาเสีย บุคคลไม่พึงบรรลุได้ด้วยปรารถนา
บทว่า ยมฺปิจฺฉํ ปรารถนาสิ่งใด ความว่า บุคคลปรารถนาสิ่งที่ไม่พึงได้ ย่อมไม่ได้ เพราะธรรมใด ความปรารถนาในสิ่งที่ไม่พึงได้ นั้น ก็เป็นทุกข์
ทุกๆ
บทก็นัยนี้เหมือนกัน ในขันธนิทเทสมีวินิจฉัยดังนี้
รูปนั้นด้วย
อุปาทานขันธ์ด้วย เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า รูปูปาทานขันธ์ ทุกๆ ขันธ์ก็พึงทราบอย่างนี้