2.4     มหาสติปัฏฐานสูตร : แนวคิดและการอธิบาย

 

                    จิตใต้สำนึกของทุกชีวิตรักที่จะมีความสุขและรังเกียจสิ่งที่ทำให้ชีวิตเดือดร้อน แต่ความฝังใจและความเชื่อของแต่ละชีวิตไม่เหมือนกัน ใครมีความเชื่อ มีเงื่อนไขของความสุขอย่างไร ฝังใจสิ่งใดไว้ก็จะแสดงออกไปตามสิ่งที่ตนเชื่อว่าถูกต้อง และตำหนิพฤติกรรมของผู้อื่นที่ไม่เหมือนของตน ปลูกฝังเป็นความสันทัดที่ติดตัวมาจากอดีตอย่างไม่มีใครคาดคิด

 

จิตใต้สำนึกร่วมเช่นนี้มีที่มาและความเป็นไปอย่างไร ยากที่จะมีผู้เข้าใจและยอมรับในเหตุผลอันลึกซึ้งนั้น ต้องอาศัยพระสัพพัญญุตาญาณของพระพุทธองค์ ตรัสรู้เข้าไปถึงความเกี่ยวโยงอันเร้นลับของความรักชีวิตในระดับจิตใต้สำนึกดังกล่าวจึงมีการรู้ตาม ปฏิบัติตาม จนสำเร็จผลเช่นเดียวกับที่พระพุทธองค์ทรงทำสำเร็จไปแล้ว 

 

วิธีการของสติและเหตุผลต่าง ๆ ของปัญญาได้รับการค้นคว้า พิสูจน์ ทดสอบซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทั้งโดยกลุ่มผู้ยังเป็นปุถุชนและท่านผู้เป็นพระอริยะ และพบว่าสัจจธรรมย่อมเป็นสัจจธรรมอยู่ในตัวเองที่ไม่อาจปฏิเสธได้ จะมีใครยอมรับหรือไม่ก็ตาม แต่สัจจธรรมจากไตรลักษณ์ไม่เคยวิปริตผันแปรไปเพราะกาลเวลา สถานที่ หรือบุคคล ลำนำชีวิตแห่งอริยสัจจ์ดังกล่าว ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อมาจากอดีต โดยมุขปาฐะสู่คัมภีร์ทางศาสนา

 

                    คัมภีร์พระไตรปิฎกเป็นแหล่งบันทึกประสบการณ์ และสิ่งที่เป็นความรู้สึกร่วมของมนุษยชาติ บันทึกประสบการณ์ร่วมจากพระคัมภีร์ เป็นสิ่งยืนยันถึงผลสำเร็จดังกล่าว แม้จะผ่านมาเป็นเวลามากกว่า 2,500 ปีแล้วก็ตาม ปัจจุบันถ้าผู้ใดปฏิบัติถูกทางก็จะได้รับผลเช่นเดียวกัน นับแต่ครั้งพุทธกาลมา หนทางที่ได้รับการยกย่องและพระพุทธองค์ก็ทรงยืนยันว่าสามารถนำชีวิตไปถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ ก็คือ สติปัฏฐานเท่านั้น  คำสอนทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ ส่วนหนึ่งที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมยอมรับจากพุทธศาสนิกชนแทบทุกชาติ ทุกภาษา มาจนทุกวันนี้ ได้แก่ มหาสติปัฏฐานสูตรนั่นเอง

 

                   ในมหาสติปัฏฐานสูตรพระพุทธองค์ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

 

หนทางที่เป็นไปอันเอกเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ เพื่อก้าวล่วงความโศก ความคร่ำครวญ เพื่อให้ความทุกข์กายทุกข์ใจตั้งอยู่ไม่ได้ เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน คือ การตั้งสติ 4อย่าง ได้แก่

 

1.     การตั้งสติพิจารณากายได้แก่ องค์ประกอบของร่างกาย อิริยาบถการเคลื่อนไหว

2.     การตั้งสติพิจารณาเวทนา ได้แก่ ความรู้สึกขณะกระทบอารมณ์

3.     การตั้งสติพิจารณาจิต ได้แก่ ผู้รู้อารมณ์และความเป็นไปของจิตที่รู้อารมณ์

4.    การตั้งสติพิจารณาธรรม ได้แก่ สภาวธรรมต่าง ๆ ของกาย เวทนา จิต ในส่วนย่อยเทียบกับสภาวธรรม ได้แก่ กาย            
                            เวทนา และจิตในส่วนใหญ่

 

การตั้งสติบนลักษณะพื้นฐาน 4 อย่างนี้ จัดเป็นเหตุให้ได้บรรลุผลอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ บรรลุ
อรหัตตผลในปัจจุบัน ถ้ายังมีเชื้อเหลือก็จะได้บรรลุความเป็นพระอนาคามี (ผู้ไม่กลับมาเกิดในโลกนี้อีก) ภายใน 7 ปี หรือลดลงมาโดยลำดับถึงภายใน 7 วัน

(ที.มหาวัค. 10)

 

 

ในมหาสติปัฏฐานสูตร แบ่งหัวข้อการพิจารณาที่ต่างกัน มี 13 หัวข้อ แยกตามอารมณ์ได้  21 ชนิด คือ

 

 


ลำดับที่


หัวข้อ


อารมณ์

1.

ลมหายใจ

1

2.

อิริยาบถ

1

3.

สัมปชัญญะ

1

4.

ปฏิกูลมนสิการ

1

5.

ธาตุววัฏฐานะ

1

6.

ซากศพในลักษณะต่าง ๆ 9 อย่าง

9

7.

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ทั้ง 9 อย่าง)

1

8.

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ทั้ง 16 อย่าง)

1

9.

นิวรณ์ 5

1

10

ขันธ์ 5

1

11.

อายตนะ 12

1

12

โพชฌงค์ 7

1

13.

อริยสัจจ์ 4

1

               
รวม


21

 

ตารางที่ แสดงสติปัฏฐาน 4 แยกตามอารมณ์

 


 

 

 

ตารางที่ 2  แสดงหมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

 

 

หมวดกรรมฐาน

ฐานที่ตั้งแห่งการสังเกต

(สังเกตอะไรบ้าง)

วิธีการสังเกต

(สังเกตอย่างไร)

1.

 

 

 

2.

 

 

3.

 

 

 

 

 

 

 

 

4.

ลมหายใจ

 

 

 

อิริยาบถ

 

 

สัมปชัญญะ

 

 

 

 

 

 

 

 

ปฏิกูลมนสิการ

1.

2.

3.

4.

 

1.

3.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-

 

-

 

ลักษณะลมหายใจเข้า

ลักษณะลมหายใจออก

การหายใจเข้านั้น สั้น/ยาว

การหายใจออกนั้น สั้น/ยาว

รู้ในอาการที่กำลัง

ยืน         2.     เดิน

นั่ง          4.     นอน

รู้ในอริยบถย่อยของ

ท่าทาง : การก้าวไป ถอยกลับ

ศีรษะ : การเหลียวซ้ายแลขวา

หน้าตา : การกิน การพูด นิ่ง

แขนขา ลำตัว : เหยียดคู้ ก้มเงย เดิน ยืน นั่ง นอน

การขับถ่าย : อุจจาระ ปัสสาวะ

ขณะใช้สอย : บาตร จีวร เครื่องนุ่งห่ม

พิจารณาร่างกายเป็นเพียงธาตุ 4 (ไม่ใช่คน/สัตว์)

อวัยวะภายนอก ผม ขน เล็ก ฟัน หนัง

อวัยวะภายใน มันสมอง หัวใจ ปอด ตับ ไต ลำไส้ ฯลฯ

น้ำที่แทรกตามอวัยวะต่าง ๆ น้ำเลือด น้ำดี น้ำหนอง ฯลฯ

      การกำหนดตาม เมื่อจิตประกอบไปด้วยสติกับสัมปชัญญะบริสุทธิ์น้อมไปกำหนดตามฐานทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต และธรรม ทำให้เกิดความรู้สึกตามความเป็นจริงได้ จะต้องเข้าใจว่าการกำหนดตามนั้นต้องถือหลักว่ากำหนดตามอาการหนึ่งอาการใดในอาการทั้งหมดที่ปรากฏอยู่เสมอไปทีละอาการ มีอยู่ 3 อย่าง คือ

1.  กำหนดตามฐานที่เป็นภายใน

2.  กำหนดตามฐานที่เป็นภายนอก

3.  กำหนดเทียบกันทั้งภายในและภายนอก

      สกนธ์กายของเราเรียกว่า ภายใน  ในตัวเรานี้เรียกว่าภายใน ส่วนตัวผู้อื่นเรียกว่า ภายนอก เมื่อกำหนดฐานทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม แต่ละอย่าง ๆ ที่มีอยู่ในกายตัวเองและผู้อื่น กำหนดเทียบกันทั้งภายในและภายนอก ครั้งเมื่อกำหนดได้ 2 ลักษณะ คือ เงื่อน 2 อันนี้ได้บริสุทธิ์ดี ก็ให้เอาใจน้อมเอาฐานเหล่านั้นที่ปรากฏ ในตนและผู้อื่นมาเทียบเคียงกัน ดูจนรู้ประจักษ์แน่ชัดว่ามีความเป็นไปอย่างเดียวกัน โดยเงื่อนเหล่านี้ประชุมลงใน

         

 


 

แสดงหมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ต่อ)

 

 

หมวดกรรมฐาน

ฐานที่ตั้งแห่งการสังเกต

(สังเกตอะไรบ้าง)

วิธีการสังเกต

(สังเกตอย่างไร)

5.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


6.

ธาตุววัฏฐานะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ป่าช้า ฯ

 

 

1.

 

 

2.

 

3.

 

4.

 

 

 
 

 

1


2.

3. 

4.

5.

6.

 7.

 

พิจารณาร่างกายเป็นเพียงธาตุ 4 (ไม่ใช่คน/สัตว์)

ธาตุดิน ส่วนของร่างกายที่จับต้องได้ อวัยวะทั้งภายนอก/ภายใน ตั้งแต่ผิวหนังจนถึงกระดูก

ธาตุน้ำ ที่ช่วยยึดโยงหล่อเลี้ยงอวัยวะเหล่านั้น

ธาตุไฟ ความเย็น ความร้อนในร่างกายการเผาผลาญอาหาร

ธาตุลม ที่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว โยกคลอนได้



พิจารณาการกลายสภาพของซากศพตั้งแต่เพิ่งตายใหม่ ๆ ทิ้งไว้นานจนสลายเป็นผง มี
9 ขั้นตอน

ศพที่เขียว อืด พอง น้ำหนองไหล

ศพนั้นเป็นอาหารของสัตว์ต่าง ๆ หนอน แมลง แร้ง ฯลฯ

โครงกระดูกที่ยังมีเนื้อ มีเลือด มีเอ็น

โครงกระดูกที่ไม่มี เนื้อ มีเลือด มีเอ็น

โครงกระดูกที่ไม่มีเนื้อ ไม่มีเลือด มีเอ็น

โครงกระดูกที่ไม่มีเนื้อ ไม่มีเลือด ไม่มีเอ็น

โครงกระดูกที่กระจัดกระจาย

เป็นท่อนวางเคลื่อนอยู่

ลักษณะ 3 คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจัง-ไม่เที่ยง ทุกขัง-เป็นทุกข์ อนัตตา-ไม่ใช่ตัวตน  จึงได้ชื่อว่ากำหนดเห็นทั้งภายในและภายนอกได้ นี่คือ การกำหนดตาม คือ ตามอาการและตามฐานต่าง ๆ เมื่อกำหนดตามได้แล้วก็เป็นการกำหนดที่ถูกต้องขึ้นมา  ดังนั้น การกำหนดที่ถูกต้องจะมีลักษณะ คือ

1.  มีสติกำหนดรู้ว่าสิ่งเหล่านั้นมีอยู่หรือไม่

2.  ความรู้นั้นสักแต่ว่าเป็นความรู้ อย่าไปไหวตามความรู้หรือไหวตามสิ่งใดทั้งสิ้น

3.  สติก็สักแต่ว่าเป็นสติ เป็นขณะ และทุกขณะ อย่าหลงฟั่นเฟือนตามอาการของทุกสิ่งทุกอย่าง

4.  ระวังใจมิให้อาศัยติดอยู่ในสิ่งเหล่านั้น

5.  ไม่ให้ยึดมั่น ถือมั่น ว่าทั้งหมดเป็นเรา เป็นของของเรา

      หลักธรรมทั้ง 5 ข้อนี้ เป็นหลักใหญ่และสำคัญมากสำหรับผู้เจริญตามหลักสติปัฏฐาน หลักของความจริงที่จะต้องค้นคว้าให้ประจักษ์มีอยู่เพียง 3 ประการเท่านั้น คือ

 

         

 

 

แสดงหมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ต่อ)

 

 

หมวดกรรมฐาน

ฐานที่ตั้งแห่งการสังเกต

(สังเกตอะไรบ้าง)

วิธีการสังเกต

(สังเกตอย่างไร)

 

6.

 

ป่าช้า ฯ

 

8.

 

9.

...

 

โครงกระดูกที่แต่ละท่อนถูกทิ้ง

กองไว้ด้วยกันมากกว่า 1 ปี

โครงกระดูกที่ ผุ เปื่อย ป่นเป็นผง

แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้เข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แล
ก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา ไม่พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้
...

 

สพฺเพ  สงฺขารา  อนิจจา

สพฺเพ  สงฺขารา  ทุกฺขา

                    สพฺเพ  ธมฺมา  อนตฺตา                   

 

 การที่จะเกิดมีวิปัสสนาก็ตรงที่ได้เห็นว่า สังขารทั้งหมดไม่เที่ยง สังขารทั้งหมดเป็นทุกข์ ธรรมทั้งหมดเป็นอนัตตา  กิจสำคัญอย่างยิ่งของการค้นคว้าก็คือ จะต้องมีความเพียร มีสติ และมีปัญญา  จึงจะสามารถเข้าใจลักษณะ 3 ประการได้ชัดเจน

    กาย  เป็นส่วนที่จะต้องถูกค้นคว้าก่อนฐานใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะเป็นส่วนที่หยาบ ปกปิดส่วนละเอียดเอาไว้ มีสติดูกายเพื่อจะให้เห็นว่าความไม่เที่ยงนั้นอยู่ที่กาย เมื่อความไม่เที่ยงเกิดขึ้นก็เกิดความทุกข์อยู่ที่กาย และกายของเราตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า นับตั้งแต่อวัยวะภายนอกและอวัยวะภายในไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ในหัวข้อคำว่า กายตัวเดียวก็มี อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และบังคับบัญชาไม่ได้ สักแต่ว่าเกิดขึ้นตามกรรมชรูปจากเหตุปัจจัยเดิม เราไม่มีทางเดินแห่งการพ้นทุกข์จึงมีการเกิด การเกิดต้องมีรูปกาย

      พึงกำหนดใจ ไม่มีเรา ไม่มีของของเรา เพราะในที่สุดก็ถูกทำลายไป

 

 

 


 

ตารางที่ แสดงหมวดเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

 

 

หมวดกรรมฐาน

ฐานที่ตั้งแห่งการสังเกต

(สังเกตอะไรบ้าง)

วิธีการสังเกต

(สังเกตอย่างไร)

7.

ความรู้สึก (เวทนา)

 

 

1.

2.

 

3.

 

4.

5.

 

6.

 

7.

8.

 

9.

สังเกตความรู้สึกที่เกิดกับร่างกายมี 9 ความรู้สึก คือ

สุขเวทนา (ความพอใจ)

สุขเวทนา มีอามิส (อาศัยกามคุณอารมณ์)

สุขเวทนา ไม่มีอามิส (การสละกามคุณได้)

ทุกขเวทนา (ความบีบคั้งดิ้นรน)

ทุกขเวทนา ที่มีอามิส (อาศัยกามคุณอารมณ์)

ทุกขเวทนา ไม่มีอามิส (เสียใจที่สละกามคุณไม่ได้)

อทุกขมสุขเวทนา (ไม่สุขไม่ทุกข์)

อทุกขมสุขเวทนา มีอามิส (อาศัยกามคุณ)

อทุกขมสุขเวทนา ไม่มีอามิส (ขณะได้ญาณปัญญาขั้นสูง)

 

 

         เวทนานุปัสสนา  มีสติเข้าไปกำหนดเวทนาเพื่ออะไร เวทนา คือ การเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง หรือไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ (การรู้สึกเฉย ๆ) ที่มีอยู่ในตนเองและผู้อื่น  การรู้สึกเฉย ๆ นั้น ถ้าไม่ใช่เฉย ๆ ของพระอรหันต์ก็จะมีโมหะครอบงำ เมื่อมีสติเข้าไปกำหนดเวทนาเพื่อจะได้เห็นว่า อารมณ์สุข อารมณ์ทุกข์ นั้น มีความไม่เที่ยง เมื่อมีความไม่เที่ยงแล้วก็สร้างความทุกข์ให้ อะไรก็ตามที่หมุนเวียนอยู่ เรียกว่า ทุกข์  นอกจากนั้นแล้วไม่ว่าอารมณ์สุขหรืออารมณ์ทุกข์ยังบังคับบัญชาไม่ได้ในเวทนาจึงมี อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

         

 

 

ตารางที่ แสดงหมวดจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

 

 

หมวดกรรมฐาน

ฐานที่ตั้งแห่งการสังเกต

(สังเกตอะไรบ้าง)

วิธีการสังเกต

(สังเกตอย่างไร)


8.


จิต
(ตัวรู้อารมณ์)

 

 

 

-

-

-

-

-

-

-

-


สังเกตลักษณะการรู้อารมณ์ของจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
16 ลักษณะ

มีราคะ                - ไม่มีราคะ

มีโทสะ                - ไม่มีโทสะ

มีโมหะ                - ไม่มีโมหะ

รู้สึกหดหู่             - รู้สึกฟุ้งซ่าน

เป็นมหัคคตะ      - ไม่เป็นมหัคคตะ

สอุตตระ             - อนุตตระ

ไม่เป็นสมาธิ       - เป็นสมาธิ

ยังไม่หลุดพ้น        - หลุดพ้นจากความยึดถือ

   
    จิตตานุปัสสนา
  มีสติเข้าไปกำหนดจิตเพื่ออะไร จิตก็คือความนึกคิดที่เข้าไปรู้อารมณ์ ดีบ้าง ชั่วบ้าง ที่มีอยู่ในตนเองและผู้อื่น เราเจริญสติเข้าไปกำหนดจิตเพื่อให้เห็นว่าจิตของเรานั้นไม่เที่ยง รู้อารมณ์อยู่ตลอดเวลา ไม่มีหยุดนิ่ง เปลี่ยนทุกขณะจิต ความเที่ยงของจิตไม่มีเลย เมื่อความเที่ยงไม่มีและผันผวน นั่นก็คือ ความทุกข์ เราไม่สามารถควบคุมจิตให้กำหนดอยู่ในอารมณ์เดียวได้ หรือทำหน้าที่อยู่กับที่ได้ นั่นก็คือ บังคับบัญชาจิตตัวเองไม่ได้ เพราะต้องรู้ตามทวารต่าง ๆ จิตจึงมีลักษณะเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

 

 

  

         

 

 

ตารางที่ แสดงหมวดธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

 


หมวดกรรมฐาน

ฐานที่ตั้งแห่งการสังเกต


การวิเคราะห์

 

องค์ธรรม

หลักการสังเกต

 

9.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

10.

 

 

 

 

 

11.

 

 

 

 

 

 

นิวรณ์ 5

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขันธ์ 5

 

 

 

 

 

อายตนะ 12

 

 

 

 

 

 

กามฉันทะ

พยาปาทะ

ถีนะมิทธะ

อุทธัจจะกุกกุจจะ

วิจิกิจฉา

 

 

 

 

 

 

รูป

เวทนา

สัญญา

สังขาร

วิญญาณ

 

ตา กับ รูป

หู กับ เสียง

จมูล กับ กลิ่น

ลิ้น กับ รส

กาย กับ โผฏฐัพพะ

ใจ กับ ธรรมารมณ์

 

1.

 

2.

 

3.

 

4.

 

 

 

 

1.

2.

 

3.

 

 

1.

2.

3.

 

 

กามฉันทะที่เป็นภายในมีอยู่/ไม่มีอยู่

กามฉันทะที่ยังไม่เกิดจะมีได้ เพราะเหตุใด

กามฉันทะที่เกิดแล้ว จะละได้ด้วยเหตุใด

กามฉันทะที่ยังไม่เกินจะไม่เกิดอีก เพราะเหตุใด

ส่วนนิวรณ์ธรรมอีก 4 ตัว พิจารณาเช่นเดียวกัน

ฯ ล ฯ

นี้รูป (เวทนา, สัญญา...)

นี้ความเกิดของรูป (เวทนา, สัญญา...)

นี้ความดับของรูป (เวทนา, สัญญา...)

ฯ ล ฯ

รู้ชัดตา (หู จมูก ...)

รู้ชัดรูป (เสียง, กลิ่น...)

รู้ชัดสังโยชน์ที่อาศัยตาและรูปเกิดขึ้น

-สังโยชน์ที่ไม่เกิด จะเกิดเพราะเหตุใด

-สังโยชน์ที่เกิดแล้ว จะละได้ด้วยเหตุใด

 

 

 

      ในหมวดธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ มีความซับซ้อนและหลากหลายมาก เป็นพัฒนาการของการสังเกตชั้นสูง ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการพิจารณา กาย เวทนา และจิต อย่างชำนาญและคล่องแคล่วแล้วเท่านั้น เพราะนอกจากจะมากไปด้วยองค์ธรรมแล้วในแต่ละองค์ธรรมยังมีหลักการสังเกตย่อยเฉพาะอย่าง ซึ่งต้องอาศัยไหวพริบ ปฏิภาณในการวิเคราะห์เป็นสำคัญ มิใช่เพียงแค่สังเกตอย่างเดียว แต่ต้องสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทั้งเงื่อนเกิดและเงื่อนดับของรูปและนาม ซึ่งเป็นธรรมชาติภายในตนเองได้ด้วย อย่างไรก็ตามในส่วนของวิธีการสังเกตยังคงใช้ 3 ขั้นตอน โดยแต่งละขั้นตอนมี 3 ลักษณะเช่นกัน คือ

1. การเฝ้าตามดูธรรม (เช่นกามฉันทะ) ในธรรมทั้งหลาย (นิวรณ์ 5) ที่เป็นภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดู

 

 

แสดงหมวดธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ต่อ)

 


หมวดกรรมฐาน

ฐานที่ตั้งแห่งการสังเกต

 

การวิเคราะห์

 

องค์ธรรม

หลักการสังเกต

 

 

 

 

 

 

 

12.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โพชฌงค์ 7

 

 

 

 

 

 

สติ

ธัมมวิจยะ

วิริยะ

ปิติ

ปัสสัทธิ

สมาธิ

อุเบกขา

 

 

 

 

 

 

1.

 

2.

 

3.

 

4.

-สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดอีกด้วยเหตุใด

ฯ ล ฯ

(สังโยชน์ในอายตนะอีก 5 คู่ ก็พิจารณา 3 ลักษณะนี้เช่นเดียวกัน)

สติสัมโพชฌงค์ภายใน

มีอยู่

สติสัมโพชฌงค์ภายในไม่มีอยู่

สติสัมโพชฌงค์ที่ยัง

ไม่เกิด จะเกิดเพราะอะไร

สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว จะเจริญอย่างไร

ฯ ล ฯ

(โพชฌงค์อีก 6 ข้อ ให้พิจารณาแยกเป็น 4 ลักษณะเช่นกัน)

    ธรรมทั้งหลายที่เป็นภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตรวจดูธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในและภายนอก

2. การเฝ้าตรวจดูสิ่งที่ทำให้ธรรม (นิวรณ์ 5, ขันธ์ 5..) เกิดขึ้นเฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ธรรมนั้นดับไป และเฝ้าตรวจดูทั้งสิ่งที่ทำให้ธรรมนั้นเกิดขึ้นพร้อมกับสิ่งที่ทำให้ธรรมเหล่านั้นดับไป

3. ในการเฝ้าสังเกตธรรมทั้งหลายนั้น สังเกตเพียงเพื่อรู้ไว้หรือระลึกไว้เท่านั้น ไม่เป็นผู้มีสิ่งใด (ทั้งอารมณ์และความคิดส่วนตัว) อาศัยอยู่ด้วย และไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลก (เพราะคิดว่าสิ่งนั้นดี เที่ยง เป็นสุข และมีตัวตน เป็นต้น)

 

 

 

แสดงหมวดธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ต่อ)

 


หมวดกรรมฐาน

ฐานที่ตั้งแห่งการสังเกต


การวิเคราะห์

 

องค์ธรรม

หลักการสังเกต

 

13.

อริยสัจจ์ 4

ทุกขอริยสัจจ์

 

 

 

 

 

ทุกขสมุทยสัจจ์

ได้แก่ ตัณหา

(เหตุแห่งทุกข์)

 

 

 

 

ทุกขนิโรธสัจจ์

 

 

 

 

 

 

 

 

ชาติ ชรา มรณะ โศกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

อุปายาส ประสบสิ่งไม่รัก พลัดพรากจากสิ่งรัก การไม่สมความปรารถนา อุปาทานขันธ์ 5

ตัณหาเกิดขึ้น และตั้งอยู่ในที่เหล่านี้ คือ

ทวาร อารมณ์ 6

วิญญาณ ผัสสะ 6

เวทนา สัญญา 6

เจตนา ตัณหา 6

วิตก วิจาร 6

ธรรมเป็นที่ดับทุกข์

(ดับตัณหา)

การดับตัณหา ให้ดับตรงที่เกิดนั่นเอง คือ

ทวาร อารมณ์ 6

วิญญาณ ผัสสะ 6

เวทนา สัญญา 6

เจตนา ตัณหา 6

วิตก วิจาร 6

 

 

 

        หมวดอริยสัจจ์ 4 เป็นกรรมฐานหมวดสุดท้าย มีลักษณะพิเศษที่รวบรวมเหตุผลและหลักการสังเกตของทั้ง 12 หมวดที่กล่าวมาแล้ว จัดเป็นสุดยอดของความเข้าใจในพระพุทธศาสนาทั้งหมด กล่าวถึงเหตุและผลของชีวิตทั้งในระดับต่ำที่ต้องวนเวียนเกิดตาย และชีวิตในระดับสูงสุดที่ไม่ต้องเกิดอีก เพราะออกจากวังวนได้

        ทั้งกาย เวทนา จิต จัดอยู่ในหมวดทุกขอริยสัจจ์ เกี่ยวเนื่องด้วยวัฏฏะสงสารของ กิเลส กรรม และวิบาก ซึ่งมีความแปรปรวนทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และบังคับบัญชาไม่ได้

        ในหมวดธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานเอง มีขันธ์ 5 เป็นตัวทุกข์โดยตรง เพราะอาศัยขันธ์ 5 จึงมีอายตนะและเกิดนิวรณ์ตามทวารทั้ง 6 ต่อมาจึงต้องมีหมวด
โพชฌงค์ ซึ่งเป็นองค์ธรรม

         

 

 

แสดงหมวดธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ต่อ)

 


หมวดกรรมฐาน

ฐานที่ตั้งแห่งการสังเกต


การวิเคราะห์

 

องค์ธรรม

หลักการสังเกต

 

13.

อริยสัจจ์ 4

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

 

 

1.

2.

3.

4.

5.

6.

7.

8.

ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์มี 8 ประการ

สัมมาทิฏฐิ

สัมมาสังกัปปะ

สัมมาวาจา

สัมมากัมมันตะ

สัมมาอาชีวะ

สัมมาวายามะ

สัมมาสติ

สัมมาสมาธิ

ของการกำหนดรู้ทุกข์ด้วยสภาวะที่ดับเหตุแห่งทุกได้ ชื่อว่า นิโรธ ความเข้าใจถึงเหตุผลทั้งหมดของชีวิตดังกล่าว ทำให้รู้ว่ามีเพียงทางเลือกทางเดียว คือ มรรคมีองค์ 8 เท่านั้น ชีวิตจึงพบสันติสุขอย่างแท้จริง สิ่งสำคัญอยู่ที่การปฏิบัติ ดังนั้น จึงจัดมรรคไว้ในหัวข้อสุดท้าย และเป็นหัวใจของความพ้นทุกข์ทั้งหมด ถึงแม้จะมีความเข้าใจชีวิตอย่างถ่องแท้เพียงใด หากยังไม่ผ่านประสบการณ์สุดท้ายแห่งมรรคแล้ว ก็ยังไม่ชื่อว่าเข้าถึงธรรมอยู่นั่นเอง

 

 

           

                   

 

คำสอนของพระพุทธองค์แสดงวิธีการฝึกจิตและแสดงอารมณ์ของกรรมฐานแบบต่าง ๆ ไว้มากมาย เพื่อให้เหมาะกับความต้องการของแต่ละบุคคล เหมาะกับจริตอุปนิสัย และความสามารถที่แตกต่างกัน แต่กระนั้นวิธีการต่าง ๆ เหล่านั้น ก็รวมลงทั้งหมดในสติปัฏฐาน ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นทางสายเดียว (เอกายโน มคฺโค - เอกายนมรรค) อาจกล่าวได้ว่า สติปัฏฐาน เป็น หัวใจของกรรมฐาน ในพระพุทธศาสนาหรือยิ่งกว่านั้นคือ เป็นหัวใจของพระธรรมทั้งหมดก็ว่าได้ (พระญาณโปนิกเถระ 2534 : 1)

 

ลักษณะของสติ คือ มีความระลึกได้ในอารมณ์อยู่เนือง ๆ ช่วยไม่ให้เกิดความหลงลืม มีการคุ้มครองรักษาจิตใจ หรือการทำจิตใจให้จดจ่ออยู่กับอารมณ์ สติเป็นเจตสิกฝ่ายกุศลตัวหนึ่ง และเป็นตัวนำในการกั้นเจตสิกฝ่ายบาปไม่ให้ผ่านเข้ามาในสติ จึงมีประโยชน์ในทุกกรณี คอยเฝ้ารักษาไม่ให้ความโลภ ความโกรธ ความหลง เข้าปรุงแต่งจิต  ถ้าปราศจากสติแล้วก็จะประคองจิตไว้ไม่ได้ สติจึงเรียกได้ว่าเป็นความไม่ประมาท ความหมายของความไม่ประมาท ก็คือ ความไม่ปราศจากสตินั่นเอง

                    “สตินั้น เป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่จะทำให้บุคคลหยุดคิดพิจารณาก่อนที่จะทำ จะพูด และแม้แต่จะคิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าสิ่งนั้นดีหรือชั่ว มีคุณ มีประโยชน์ หรือเสียหาย ควรกระทำหรือควรงดเว้นอย่างไร เมื่อยั้งคิดได้ก็จะช่วยให้พิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างละเอียดประณีต และสามารถกลั่นกรองเอาสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ไม่เป็นประโยชน์ออกให้หมด คงเหลือแต่เนื้อแท้ที่ถูกต้องและเป็นธรรม ซึ่งเป็นของควรคิด ควรพูด ควรทำแท้ ๆ  (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลÍดุลยเดช, “พระบรมราโชวาทใน วารสารลานพิกุล. 2537 : 36)

 

                    ดังได้กล่าวแล้วว่า สติปัฏฐานเป็นหัวใจของกรรมฐานในพระพุทธศาสนา  ดังนั้น การวิเคราะห์ที่จะมีต่อไปจึงเลือกศึกษาพระสูตรในส่วนของมหาสติปัฏฐานสูตร อันเป็นพระสูตรที่เกี่ยวกับกรรมฐานโดยตรง ในหนังสือเสรีธรรมกล่าวถึงเรื่องสติไว้ว่า สติจะใช้ในกิจกรรม 2 ขั้นตอน คือ

                    1.     มีสติดำรงอยู่ในองค์ของสติปัฏฐานแล้ว ทำใจให้สงบเป็นสมถะเพื่อเตรียมการกำหนดรู้หรือเตรียมค้นคว้าต่อไป

                    2.     เมื่อสติอยู่กับใจที่สงบดีแล้ว ก็ใช้สตินั้นกำหนดรู้ตามฐานทั้ง 4ตามความเป็นจริง เรียกว่า วิปัสสนา

                    การกำหนดตาม  เมื่อจิตประกอบไปด้วยสติกับสัมปชัญญะบริสุทธิ์น้อมไปกำหนดตามฐานทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต และธรรม ทำให้เกิดความรู้สึกตามความเป็นจริงได้ จะต้องเข้าใจว่าการกำหนดตามนั้นต้องถือหลักว่ากำหนดตามอาการหนึ่งอาการใดในอาการทั้งหมดที่ปรากฏอยู่เสมอไปทีละอาการ มีอยู่ 3 อย่าง คือ

                    1.     กำหนดตามฐานที่เป็นภายใน

                    2.     กำหนดตามฐานที่เป็นภายนอก

                    3.     กำหนดเทียบกันทั้งภายในและภายนอก

                   

 สกนธ์กายของเราเรียกว่า ภายใน  ในตัวเรานี้เรียกว่าภายใน ส่วนตัวผู้อื่นเรียกว่า ภายนอก เมื่อกำหนดฐานทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม แต่ละอย่าง ๆ ที่มีอยู่ในกายตัวเองและผู้อื่น กำหนดเทียบกันทั้งภายในและภายนอก ครั้งเมื่อกำหนดได้ 2 ลักษณะ คือ เงื่อน 2 อันนี้ได้บริสุทธิ์ดี ก็ให้เอาใจน้อมเอาฐานเหล่านั้นที่ปรากฏในตนและผู้อื่นมาเทียบเคียงกัน ดูจนรู้ประจักษ์แน่ชัดว่ามีความเป็นไปอย่างเดียวกัน โดยเงื่อนเหล่านี้ประชุมลงในลักษณะ 3 คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อนิจจัง-ไม่เที่ยง ทุกขัง-เป็นทุกข์ อนัตตา-ไม่ใช่ตัวตน  จึงได้ชื่อว่ากำหนดเห็นทั้งภายในและภายนอกได้ นี่คือ การกำหนดตาม คือ ตามอาการและตามฐานต่าง ๆ เมื่อกำหนดตามได้แล้วก็เป็นการกำหนดที่ถูกต้องขึ้นมา  ดังนั้น การกำหนดที่ถูกต้องจะมีลักษณะ คือ

                    1.     มีสติกำหนดรู้ว่  าสิ่งเหล่านั้นมีอยู่หรือไม่

                    2.     ความรู้นั้นสักแต่ว่า  เป็นความรู้ อย่าไปไหวตามความรู้หรือไหวตามสิ่งใดทั้งสิ้น

                    3.     สติก็สักแต่ว่าเป็นสติ เป็นขณะ และทุกขณะ อย่าหลงฟั่นเฟือนตามอาการ

                    4.     ระวังใจมิให้อาศัยติดอยู่ในสิ่งเหล่านั้น

                    5.     ไม่ให้ยึดมั่น ถือมั่น ว่าทั้งหมดเป็นเรา เป็นของของเรา

                    หลักธรรมทั้ง 5 ข้อนี้ เป็นหลักใหญ่และสำคัญมากสำหรับผู้เจริญตามหลักสติปัฏฐาน หลักของความจริงที่จะต้องค้นคว้าให้ประจักษ์มีอยู่เพียง 3 ประการเท่านั้น คือ

สพฺเพ  สงฺขารา  อนิจจา           สังขารทั้งหมดไม่เที่ยง

สพฺเพ  สงฺขารา  ทุกฺขา             สังขารทั้งหมดเป็นทุกข์

สพฺเพ  ธมฺมา  อนตฺตา             ธรรมทั้งหมดเป็นอนัตตา

                                                                                      (ไม่ใช่ตัวตน ไม่สามารถบังคับบัญชาได้)

 

                    การที่จะเกิดมีวิปัสสนาก็ตรงที่ได้เห็นว่า สังขารทั้งหมดไม่เที่ยง สังขารทั้งหมดเป็นทุกข์ ธรรมทั้งหมดเป็นอนัตตา  กิจสำคัญอย่างยิ่งของการค้นคว้าก็คือ จะต้องมีความเพียร มีสติ และมีปัญญา  จึงจะสามารถเข้าใจลักษณะ 3 ประการได้ชัดเจน

 

 

กาย  เป็นส่วนที่จะต้องถูกค้นคว้าก่อนฐานใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะเป็นส่วนที่หยาบ ปกปิดส่วนละเอียดเอาไว้ มีสติดูกายเพื่อจะให้เห็นว่าความไม่เที่ยงนั้นอยู่ที่กาย เมื่อความไม่เที่ยงเกิดขึ้นก็เกิดความทุกข์อยู่ที่กาย และกายของเราตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า นับตั้งแต่อวัยวะภายนอกและอวัยวะภายในไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ในหัวข้อคำว่า กาย ตัวเดียวก็มี อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และบังคับบัญชาไม่ได้ จึงไม่ใช่ฉัน  ไม่ใช่ของของฉัน สักแต่ว่าเกิดขึ้นตามกรรมชรูปจากเหตุปัจจัยเดิม เราไม่มีทางเดินแห่งการพ้นทุกข์จึงมีการเกิด การเกิดต้องมีรูปกาย พึงกำหนดใจ ไม่มีเรา ไม่มีของของเรา เพราะในที่สุดก็ถูกทำลายไป

เวทนา  มีสติเข้าไปกำหนดเวทนาเพื่ออะไร เวทนา คือ การเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง หรือไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ (การรู้สึกเฉย ๆ) ที่มีอยู่ในตนเองและผู้อื่น  การรู้สึกเฉย ๆ นั้น ถ้าไม่ใช่เฉย ๆ ของพระอรหันต์ก็จะมีโมหะครอบงำ เมื่อมีสติเข้าไปกำหนดเวทนาเพื่อจะได้เห็นว่า อารมณ์สุข อารมณ์ทุกข์นั้น มีความไม่เที่ยง เมื่อมีความไม่เที่ยงแล้วก็สร้างความทุกข์ให้ อะไรก็ตามที่หมุนเวียนอยู่ เรียกว่า ทุกข์  นอกจากนั้นแล้วไม่ว่าอารมณ์สุขหรืออารมณ์ทุกข์ยังบังคับบัญชาไม่ได้ ในเวทนาจึงมี อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

 
จิต 
มีสติเข้าไปกำหนดจิตเพื่ออะไร จิตก็คือความนึกคิดที่เข้าไปรู้อารมณ์ ดีบ้าง ชั่วบ้าง ที่มีอยู่ในตนเองและผู้อื่น เราเจริญสติเข้าไปกำหนดจิตเพื่อให้เห็นว่าจิตของเรานั้นไม่เที่ยง รู้อารมณ์อยู่ตลอดเวลา ไม่มีหยุดนิ่ง เปลี่ยนทุกขณะจิต ความเที่ยงของจิตไม่มีเลย เมื่อความเที่ยงไม่มีและผันผวน นั่นก็คือ ความทุกข์ เราไม่สามารถควบคุมจิตให้กำหนดอยู่ในอารมณ์เดียวได้ หรือทำหน้าที่อยู่กับที่ได้ นั่นก็คือ บังคับบัญชาจิตตัวเองไม่ได้ เพราะต้องรู้ตามทวารต่าง ๆ จิตจึงมีลักษณะเป็นอนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา

รรม  เจริญสติเข้าไปกำหนดธรรมเพื่ออะไร ธรรม ก็คือ ธรรมชาติต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งดีทั้งชั่วเป็นสิ่งกั้นจิตมิให้บรรลุความดีทั้งในตนเองและผู้อื่น เพราะมีการปรุงแต่งสังขารธรรมเข้าไปอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า มีอวิชชา จึงจะต้องรู้ว่าสิ่งที่มากระทบทางทวารทั้ง 6 นั้น สักแต่ว่าเป็นการทำงานของรูป ของนาม หาใช่มีตัวตนของใครอย่างใดไม่ (หลวงพ่อเสือ 2532 : 25)

                   


 á¹Ç¤Ô´¨Ò¡ÊµÔ»Ñ¯°Ò¹Êٵà   :   ÊÒÃÐÊӤѭ¢Í§ÊµÔ»Ñ¯°Ò¹Êٵà  :   ¡Òû¯ÔºÑµÔà¾×èͤÇÒÁÃÙéá¨é§   :   ¡ÅѺÊÙè˹éÒÊÒúѭ