บทคัดย่อ กิจสำคัญในพระพุทธศาสนา มี 2 อย่างนี้ต่างเกื้อกูลกัน หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ความเข้าใจถูกต้องในเรื่องชีวิต (สัมมาทิฏฐิ)จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย คันถธุระ ได้แก่ การศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกาต่าง ๆ เพื่อสร้างพื้นฐานความเห็นที่ถูกต้อง ความเข้าใจในพระปริยัติจะน้อมนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ความจริงด้วยตนเอง การศึกษาเปรียบเทียบครั้งนี้ เลือกศึกษาถึงโครงสร้าง เนื้อหาและหลักการของมหาสติปัฏฐานสูตร เปรียบเทียบกับ พระอภิธัมมัตถสังคหะ และวิสุทธิมรรคในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรรมฐาน นอกจากนี้ยังศึกษาถึงความเปลี่ยนแปลงทางความคิด ที่มีในคัมภีร์กับที่ปรากฏในสำนักปฏิบัติธรรม โดยเปรียบเทียบระหว่างสำนักวิปัสสนาอ้อมน้อย กับสำนักวิปัสสนา วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ วิธีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ภาคเอกสารและภาคสนาม จะใช้ข้อมูลจากเอกสารทั้ง พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และผลงานทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาของพระอาจารย์และนักวิชาการยุคปัจจุบัน ในภาคสนามนั้นเป็นการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องรวม 8 ท่าน มีทั้งพระอาจารย์ของทั้ง 2 สำนัก และพระอาจารย์จากอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย ผลการศึกษาด้านคัมภีร์ พบว่า แต่ละคัมภีร์มีจุดเน้นในการอธิบายไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นส่วนเสริมซึ่งกันและกัน ใน การนำเสนอวิถีดำเนินชีวิตเพื่อการบรรลุธรรม กล่าวคือ มหาสติปัฏฐานสูตร จะเน้นขั้นตอนการเจริญสติไว้อย่างสมบูรณ์ เป็นการฝึกฝนความระลึกรู้สึกตัวด้วยสติตามฐานทั้ง 4 เท่านั้น ไม่กล่าวถึงสภาวธรรมอย่างในพระอภิธัมมัตถสังคหะ และไม่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของ ศีล สมาธิ ปัญญา เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค สำหรับพระอภิธัมมัตถสังคหะจะแสดงหัวข้อสำคัญสรุปสภาวธรรมในพระอภิธรรมปิฎกมิใช่เพียงแค่การเจริญสติเท่านั้น แต่จะกล่าวถึงโครงสร้างพื้นฐานอันเป็น เบื้องหลังของความคิดและพฤติกรรมทั้งหลายจึงเป็นการเน้นความสำคัญของ สภาวธรรมในเชิงปริยัติมากกว่าการปฏิบัติ ส่วนวิสุทธิมรรคจะเน้นภาคการปฏิบัติ โดยกล่าวถึงลำดับขั้นตอนของ การเจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา ความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกัน จนถึงการปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อการบรรลุมรรคผลในที่สุด ทั้งนี้จะต้องมีพื้นฐาน ด้านสภาวธรรมจากพระอภิธัมมัตถสังคหะมาก่อนแล้ว จึงจะปฏิบัติ ได้อย่างถูกต้อง อาจกล่าวรวมได้ว่า ความเข้าใจถึงอรรถรสในพระอภิธัมมัตถสังคหะ เป็นจุดเริ่มของการเจริญสติใน มหาสติปัฏฐานและการเจริญปัญญาในวิสุทธิมรรคนั่นเอง ส่วนผลการศึกษาด้านสำนักปฏิบัติธรรม พบว่า
ทั้ง 2 สำนักประยุกต์วิธีการและหลักการเจริญสติจากมหาสติปัฏฐานสูตร
ตั้งเป็นหลักการใหม่ที่ต่างกัน กล่าวคือ
สำนักวิปัสสนาอ้อมน้อยประยุกต์ด้านวิธีการในมหาสติปัฏฐานสูตร
มาเรียบเรียง ใหม่เป็นหลักปฏิบัติ 15 ข้อ
เนื้อหายังคงส่วนเดิมไว้มีการกล่าวถึง
สภาวธรรมที่ปรากฏในพระอภิธัมมัตถสังคหะและ
วิสุทธิมรรคประกอบการอธิบายด้วย
ส่วนสำนักวิปัสสนาวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ประยุกต์ด้านหลักการพิจารณา
ลมหายใจและอิริยาบถ ออกมาเป็นหลักการใหม่แบบ ความเปลี่ยนแปลงทางความคิดดังกล่าว เป็นเพียงความต่างในหลักการและวิธีการขั้นเบื้องต้น ซึ่งแต่ละสำนักล้วน พยายาม แนะนำแนวทางที่เชื่อว่าจะก่อให้เกิดความถูกต้อง จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าวิธีการใดดีกว่าวิธีการใด การศึกษา วิธีการ ที่ต่างกันเช่นนี้ก็เพื่อความเข้าใจพระพุทธศาสนาในมุมมองที่กว้างขึ้น และผสมผสานส่วนที่ดีของแต่ละแห่งมา ปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม ส่วนหลักการปฏิบัติขั้นสูงแล้วจำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจในพระปริยัติ ธรรมเป็นบรรทัดฐานเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณในการศึกษาปริยัติธรรมของผู้ปฏิบัติเป็นส่วนสำคัญ | ||
|