วันวิสาขบูชา

      ความหมาย


วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะหรือเดือน ๖
เนื่องในโอกาสคล้ายวันพระพุทธเจ้าประสูติ ตัรสรู้ และเสด็จดับขันธปิรินิพพาน
 

      ความสำคัญ


พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จปิรินิพพาน เวียนมาบรรจบในวันและเดือนเดียวกัน คือ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ จึงถือว่าเป็นวันที่สำคัญของพระพุทธเจ้า หลักธรรมอันเกี่ยวเนื่องจากการประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จปิรินิพพาน คือ

   ๑. ความกตัญญู (ประสูติ)               ๒. อริยสัจ ๔ (ตรัสรู้)               ๓. ความไม่ประมาท (ปรินิพพาน)

       
 

    ประวัติความเป็นมา

       ๑.ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า



 



 



 

พระพุทธเจ้าประสูติ ณ สวนลุมพินีวัน
อยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวหะ แคว้นสักกะ (ปัจจุบันอยู่ในเมืองลุมมิเด ประเทศเนปาล)

เมื่อเช้าวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี

 


ต่อมาพระองค์ได้เสด็จออกผนวช และทรง  บำเพ็ญเพียรอย่างหนักจนได้
ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ
 (ปัจจุบันอยู่ในเขตเมืองพุทธคยา แคว้นพิหาร ประอินเดีย)

เมื่อเช้ามืด วันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปี  ระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี
 


หลังจากตรัสรู้แล้ว    พระองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจ โปรดผู้ควรแนะนำ
สั่งสอนให้ได้บรรลุมรรคผลจนนับ
ไม่ถ้วน   และเสด็จดับขันธปิรินิพพาน เมื่อวันอังคารขึ้น ๑๕ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ สาลวโนนทยานของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเขตเมืองกุสีนคระ)
แคว้นอุตรประเทศประเทศอินเดีย
สิริรวมพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา


  พุทธคยา:แม่น้ำเนรัญชราที่ทรงลอยถาดเพื่ออธิษฐานการตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า(แม่น้ำเนรัญชราปัจจุบันมีแต่ทราย)
 
       ๒.การถือปฏิบัติวันวิสาขบูชาในประเทศไทย
 
   

การประกอบพิธีวิสาขบูชาในเมืองไทยเริ่มทำมาแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะได้รับแบบอย่าง
มาจากลังกา
กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๔๒๐ พระเจ้าภาติราช กษัตริย์แห่งลังกาได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่างมโหฬาร เพื่อถวายเป็นพระพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อๆมาก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่
   

ในสมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกา มีความสัมพันธ์กันทางด้านพระพุทธศาสนาอย่างใกล้ชิดมาก  เพราะพระสงฆ์
ชาวลังกาได้เดินทางเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย
ในหนังสือนางนพมาศ ได้กล่าวถึงบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้พอสรุปใจความได้ว่า

             
        

เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดินข้าราชบริพารทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุกหมู่บ้านทุกตำบล  ต่างช่วยกันทำความสะอาดประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ  ด้วยดอกไม้ของหอมจุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วทั้งพระนคร เป็นการบูชาพระรัตนตรัยเป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน

พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีลและทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาตอนเย็นก็เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าฝ่ายใน เสด็จไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน

ส่วนชาวสุโขทัยต่างชวนกันรักษาศีล ฟังพระเทศนา ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารแด่พระภิกษุสามเณร บริจาคทรัพย์แจกเป็นทาน แก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่และคนพิการ

บางพวกก็ชักชวนกันสละทรัพย์ซื้อสัตว์ ๔ เท้า ๒ เท้า และเต่า ปลา เพื่อไถ่ชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระโดยเชื่อว่าจะทำให้ตน
มีอายุยืนยาว
   

ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการประกอบพิธีวิสาขบูชา
   


จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงปรากฏหลักฐาน
ในพระราชพงศาวดารว่า

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟูการประกอบราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่
ให้ปรากฏในแผ่นดินไทยต่อไป  กับมีพระประสงค์จะให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุ
และอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศก โรคภัยและอันตรายต่างๆ โดยทั่วหน้ากัน

ฉะนั้นการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ ๒ และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน



 

   

     หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ

๑.ความกตัญญู

คือ ความรู้อุปการคุณที่มีผู้ทำไว้ก่อน    เป็นคุณธรรมคู่กับ ความกตเวที คือ การตอบแทนอุปการคุณที่ผู้อื่นทำไว้นั้น
ผู้ที่ทำอุปการคุณก่อนเรียกว่า บุพการี ขอยกมากล่าวในที่นี้คือ บิดามารดาและครูบาอาจารย์

บิดามารดา มีอุปการคุณแก่บุตร ธิดา ในฐานะเป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ ให้การศึกษา อบรมสั่งสอนให้ละเว้นต่อความชั่ว มั่นคงในการทำความดี   เมื่อถึงคราวที่มีคู่ครองที่เหมาะสมให้และมอบทรัพย์สมบัติให้ไว้เป็นมรดก บุตร ธิดา  เมื่อรับอุปการะคุณที่บิดามารดาทำไว้  ย่อมตอบแทนด้วยการประพฤติตัวดี สร้างชื่อเสียงให้แก่วงศ์ตระกูล เลี้ยงดูและช่วยทำงานของท่าน  และเมื่อล่วงลับไปแล้วก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่าน

ครูอาจารย์ มีอุปการคุณแก่ศิษย์ในฐานะเป็นผู้ประสาทความรู้ให้ ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดีสอนศิลปวิทยาให้อย่างไม่ปิดบัง ยกย่องให้ปรากฏแก่คนอื่นและช่วยคุ้มครองศิษย์ทั้งหลาย  ศิษย์เมื่อรู้อุปการคุณที่ครูอาจารย์ทำไว้ ย่อมตอบแทนด้วยการตั้งใจเรียน ให้เกียรติ และให้ความเคารพ ไม่ล่วงละเมิดโอวาทของครู ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ถือว่าเป็นเครื่องหมายของคนดี ส่งผลทำให้ครอบครัว
และสังคมมีความสุขได้

บิดามารดาจะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการทำอุปการคุณให้ก่อน
และบุตร ธิดา ก็จะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการทำดีตอบแทน
สำหรับครูอาจารย์ก็จะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการทำอุปการคุณสอนศิลปวิทยาอย่างเต็มที่
และศิษย์ก็จะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการตั้งใจเรียน และให้ความเคารพเป็นการตอบแทน

นอกจากจะใช้ในกรณีของบิดามารดากับบุตร ธิดาและครูอาจารย์กับศิษย์แล้ว คุณธรรมข้อนี้ก็คือความสามารถนำไปใช้ได้แม้ระหว่าง
พระมหากษัตริย์กับพสกนิกร นายจ้างกับลูกจ้าง เพื่อนกับเพื่อนและบุคคลทั่วไป รวมทั้งมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม 


ในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธจ้าทรงเป็นบุพการีในฐานะที่ทรงสถาปนาพระพุทธศาสนาและทรงสอนทางพ้นทุกข์ให้แก่เวไนยสัตว์
พุทธศาสนิกชน รู้พระคุณอันนี้ จึงตอบแทนด้วยอามิสบูชา และปฏิบัติบูชา กล่าวคือ การจัดกิจกรรมในวันวิสาขบูชา เป็นส่วนหนึ่งที่
ชาวพุทธแสดงออก ซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์ ด้วยการทำนุบำรุง ส่งเสริม พระพุทธศาสนา และประพฤติปฏิบัติธรรม
เพื่อดำรงอายุพระพุทธศาสนาสืบไป

 
 

 
       ๒.อริยสัจ ๔   

อริยสัจ คือ ความจริงอันประเสริฐ หมายถึง ความจริงที่ไม่แปรเปลี่ยน  เกิดมีได้แก่ทุกคนมี ๔ ประการ คือ
ทุกข์  สมุทัย  นิโรธ  มรรค

ทุกข์
คือ ปัญหาของชีวิต พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า มนุษย์ทุกคน  มีทุกข์เหมือนกัน  ไม่นอกเหนือไปกว่ากันเลย
ทั้งทุกข์ขั้นพื้นฐานและทุกข์เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน

ทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ ทุกข์ที่เกิดจาก   การเกิด  การแก่ และการตาย

ส่วนทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวันวัน คือทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก  ทุกข์ที่เกิดจจากการประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากการไม่ได้ตามใจปรารถนา  รวมทั้งทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ



 
 

สมุทัย คือ เหตุแห่งปัญหา พระพุทธจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อ
ให้ทราบว่า  ทุกข์ทั้งหมด  ซึ่งเป็นปัญหาของชีวิตล้วน
มีเหตุให้เกิดเหตุนั้น คือ ตัณหา อันได้แก่ ความอยากได้ต่างๆ   
ซึ่งประกอบไปด้วยความยึดมั่น

 
     

นิโรธ
คือ การแก้ปัญหาได้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิตทั้งหมดนั้นแก้ไขได้ โดยการดับตัณหา คือ ดับความอยากให้หมดสิ้น

 
       



 

มรรค คือ   ทางหรือวิธีการแก้ปัญหา  พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้    ก็เพื่อให้ทราบว่า
ทุกข์คือปัญหาของชีวิตทั้งหมดที่สามารถแก้ไขได้นั้น ต้องแก้ไขตามมรรคมี ๘ องค์
 
         ๓.ความไม่ประมาท  
     

ความไม่ประมาท คือ การมีสติทั้งขณะทำ ขณะพูด และขณะคิด
สติ คือ การระลึกรู้ทัน ที่คิด พูดและทำ
 

ในภาคปฏิบัติเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน หมายถึงการระลึกรู้ทันการเคลื่อนไหว อิริยาบถ ๔ คือ 
เดิน  ยืน  นั่ง  นอน

การฝึกให้เกิดสติ ทำได้โดยตั้งสติกำหนดการเคลื่อนไหวอิริยาบถ กล่าวคือ ระลึกรู้ทัน ทั้งขณะ ยืน เดิน นั่งและนอน รวมทั้งระลึกรู้ทันในขณะพูดขณะคิด   และขณะทำงานต่างๆ
 

 


    

 
   

 

กิจกรรมต่าง ๆ ในปี ๒๕๕๑