งานวิจัยเปรียบเทียบที่เกี่ยวข้อง

 

             เท่าที่ผ่านมา งานวิจัยที่ศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะ และคัมภีร์วิสุทธิมรรคโดยตรงยังไม่มี ส่วนใหญ่จะใช้คัมภีร์ทั้ง 2 ในการอ้างอิงและอธิบายเสริมความคัมภีร์พระไตรปิฎกมากกว่า หากมิใช่พระสงฆ์ที่ต้องศึกษาและเข้าใจหลักไวยากรณ์ในพระบาลีแล้ว จะวิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์ทั้ง 2 อย่างลึกซึ้งได้ยากมาก  อย่างไรก็ดี งานวิจัยที่มีผู้เคยดำเนินการวิจัยมาแล้ว มีการกล่าวถึง กรรมฐาน ในแง่ของการเปรียบเทียบเป้าหมาย และวิธีการสอนระหว่างสำนักปฏิบัติธรรมด้วยกันอยู่บ้าง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเรื่องความตายและการเกิดใหม่ ซึ่งเป็นความเชื่อสำคัญขั้นพื้นฐานที่ทำให้ต้องมีการปฏิบัติ กรรมฐาน  ตลอดจนการปฏิบัติธรรมในลักษณะต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน คือ ทาน ศีล จนถึงระดับสูง คือ การเจริญกรรมฐาน โดยเฉพาะวิปัสสนากรรมฐาน บำเพ็ญบารมีจนเข้าถึงชีวิตในอุดมคติของพระพุทธศาสนา คือ ความเป็นพระอรหันต์บุคคลที่พ้นจากการเกิดโดยแน่นอน  งานวิจัยดังกล่าวมีดังนี้

 

1.  วิเคราะห์ความคิดเรื่อง จักรวาลวิทยา ตามที่ปรากฏในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก 8.  เปรียบเทียบเจตคติต่อพระพุทธศาสนาของนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐ กับนักเรียนทหาร 3 เหล่าทัพ
2.  เปรียบเทียบเรื่องความตาย ในหลักคำสอนของพุทธศาสนาและ คริสตศาสนาที่มีผลต่อพฤติกรรมของศาสนิกชนของทั้ง 2 ศาสนา 9.  วิเคราะห์การปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนไทย...ว่าด้วยบุญกิริยาวัตถุ 3 ได้แก่   ารทำทาน รักษาศีล และการเจริญภาวนา
3.  เปรียบเทียบทัศนะเรื่องการเกิดใหม่ ในคัมภีร์พระไตรปิฎกและ คัมภีร์พระเวท 10.  บทบาทของพระสงฆ์ไทยต่องานสังคมสงเคราะห์จิตเวชในบทบาท 6 ด้าน
4.  ศึกษาคุณสมบัติของพระอรหันต์ในเรื่องบารมี อภิญญา และปัญญา  11.  วิเคราะห์เชิงปรัชญาเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง
5.  มรรควิธีแห่งรักและเมตตา เพื่อรับใช้สังคมในทัศนะวิทยากรชาวพุทธ 12.  เปรียบเทียบวิธีพัฒนาภูมิปัญญาตามพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์
6.  ศึกษาวิธีการสอนกรรมฐานของพระเกจิอาจารย์ในสังคมไทย 13.  ความหลุดพ้นตามทัศนะพระพุทธศาสนาเถรวาทและนิกายเซ็น 
7.  วิวัฒนาการการตีความคำสอนเรื่องสมาธิในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในประเทศไทย 14.  เปรียบเทียบการทำสมาธิของพุทธศาสนา และสมาธิแบบ ที - เอ็ม
15.  เปรียบเทียบวิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบวัดอโศการาม กับวัดพระธรรมกาย 

กลับสู่หน้าสารบัญ

Overall      Home