บุญกิริยาวัตถุ มาจากภาษาบาลีคือ ปุญญกริยาวตฺถุ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๓ บท
ได้แก่ ปุญญ + กริยา + วตฺถุ
ปุญญ หมายถึง การงานดี ที่ชำระความเศร้าหมองเร่าร้อน
กริยา หมายถึง ควรทำ
วตถุ หมายถึง เป็นเหตุ เป็นที่ตั้งแห่งผลดี
เมื่อรวมกันแล้ว แปลความว่า ความดีที่ควรทำ เพราะเป็นเหตุเป็นที่ตั้งแห่งผลดี
กุศลกรรมบท ๑๐
๑. กุศลเจตนาที่เกิดในจิต ๑๖ ดวง
คือ มหากุศลจิต ๘ และมหากิริยาจิต ๘ ที่เป็นไปทางกายทวาร คือกายวิญญัติ ๑
มีการถวายทานเป็นต้น เรียกว่า กายกรรม ในที่นี้หมายถึงเฉพาะเจตนาที่
เกิดขึ้นในมหากุศลจิต ๘ เท่านั้น เพราะ เจตนาที่เกิดในมหากิริยา
เป็นอัพยากตไปแล้ว ไม่เรียกว่า กุศลกรรมบท ในที่นี้
๒. มหากุศลเจตนา ๘ ที่เกิดทางวจีทวาร
คือ วจีวิญญัติรูป มีการเว้นจากการพูดเท็จ เรียกว่า วจีกรรม
๓. ธรรมที่เป็นสัมปยุตกับเจตนาในมหากุศลจิต ๘ มีอโลภะ อโทสะ และปัญญาเป็นต้น
เรียกว่า มโนกรรม ที่เป็นทางใจ มโนทวารในที่นี้หมายถึง มหากุศลจิต ๘
กรรมบทมี ๒๐ คือ
๑. กุศลกรรมบท ๑๐
๒. อกุศลกรรมบท ๑๐
ย่อบุญกิริยาวัตถุ ๑๐
ทานมัย
๑. ทานมัย ปัตติทานมัย ปัตตานุโมทนามัย สงเคราะห์ลงเป็น ทาน
สีลมัย
๒. สีลมัย อปจายนะมัย เวยยาวัจจะมัย สงเคราะห์ลงเป็น ศีล
ภาวนามัย
๓. ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย ทิฏฐิชุกัมมะ สงเคราะห์ลงเป็น ภาวนา
ส่วนทิฏฐิชุกรรม เป็นประธานของบุญกิริยาวัตถุ ๙ ข้อ
เพราะผู้ที่จะทำบุญรักษาศีลเป็นต้น จำเป็นต้องมีความเห็นตรง จึงจะทำได้
ว่าโดยเจตนามี ๒๐ คือ ๑. อกุศลเจตนา ๑๒ ดวง
๒. กามาวจรกุศลเจตนา ๘ ดวง
รูปาวจรกุศลกรรม ๕ อย่าง
๑. ปฐมฌานกุศลเจตนา ๑ ดวง
เอาบัญญัติกัมมัฏฐาน ๒๕ เป็นอารมณ์
๒. ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌานกุศลเจตนา ๓ ดวง
เอาบัญญัติกัมมัฏฐาน ๑๔ เป็นอารมณ์
๓. ปัญจมฌานกุศลเจตนา ๑ ดวง
เอาบัญญัติกัมมัฏฐาน ๑๒ เป็นอารมณ์
*รูปาวจรกุศลเจตนาทั้ง ๕ ดวงนี้ จัดเป็นมโนกรรม เกิดทางมโนทวารได้อย่างเดียว
อรูปาวจรกุศลกรรม ๔
๑. อากาสานัญจายตนกุศลเจตนา ๑
เอากสิณุคฆาฏิมากาส เป็นอารมณ์
๒. วิญญาณัญจายตนกุศลเจตนา ๑
เอาอากาสานัญจายตนกุศลจิต ๑ เป็นอารมณ์
๓. อากิญจัญญายตนกุศลเจตนา ๑
เอานัตถิภาวบัญญัติของอากาสานัญจายตนกุศลจิต เป็นอารมณ์
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลเจตนา ๑
เอาอากิญจัญญายตนกุศลจิตที่ล่วงไปแล้ว เป็นอารมณ์
*อรูปาวจรกุศลเจตนาทั้ง
๔ ดวงนี้ จัดเป็นมโนกรรม ที่เกิดทางมโนทวารได้อย่างเดียว
ภูมิเป็นที่ให้ผลของกามาวจรกรรม
๑. อกุศลจิต ๑๑ (เว้นอุทธัจจสัมปยุตตจิต)
ส่งผลในปฏิสนธิกาล ทำให้เกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย และเดรัจฉาน
ในอบายภูมิ ๔ ตามหนักเบา
๒. อกุศลจิต ๑๒
ส่งผลในปวัตติกาล ให้อกุศลวิปากจิต ๗ มีการเห็นไม่ดี ได้กลิ่นไม่ดี ฯลฯ เป็นต้น
เกิดขึ้นได้ในกามภูมิ ๑๑ และ รูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตตภูมิ)
ตามควรแก่ทวาร และอารมณ์