เครื่องหมายคณิตศาสตร์ประกาศถึงปัญญา…ตอน ๑

เวทนาและการนับจิต 

ภญ.ธัญนันทน์ เลิศหิรัญวงศ์  เรื่องและภาพ , มาลี อาณากุล  เรียบเรียง

^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^

 


พระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง โชติปาโล) ได้กล่าวไว้  ในหนังสือสังคหบาลีแปล ๙ ปริจเฉท ฉบับเบญจนิกายมูลนิธิ พิมพ์งานเปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรมประจำปี วัดศรีประวัติ ต.ปลายบาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี วันอาทิตย์ที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๕  ความตอนหนึ่งว่า 
“ความจริงการเรียนอภิธัมมัตถสังคหบาลี ไม่จำเป็นต้องท่องแบบนกแก้วนกขุนทองดอก……..” 

 

 

แม้ว่า…ข้าพเจ้าจะเริ่มเรียนพระอภิธรรมที่มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิมาไม่นานนัก แต่ด้วยการเรียนการสอนที่ใช้เครื่องหมายคณิตศาสตร์เช่นบวก ลบ เป็นต้น ตามหลักที่พระครูศรีโชติญาณ ท่านได้ให้ความเมตตามาอบรมสั่งสอนให้แก่ศิษย์ที่มูลนิธิฯ มาใช้เขียนเป็นผังจิต 

ทำให้ข้าพเจ้าซึ่งไม่เคยรู้จักคำว่าจิตมาก่อนเลยในชีวิต สามารถเข้าใจและจดจำได้ง่ายโดยไม่ต้องท่องเป็นนกแก้วนกขุนทองเหมือนดังที่พระครูศรีโชติญาณท่านได้เคยกล่าวไว้ 

และด้วยวันนี้ ๑๖ มกราคม เป็นวันครู จึงขอก้มกราบบูชาครู ด้วยการนำความรู้ความเข้าใจในเรื่องเครื่องหมายจิตนี้มาถ่ายทอดเป็นวิทยาทาน  เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่เริ่มศึกษาพระอภิธรรม ตามความรู้ความสามารถที่ข้าพเจ้าพึงมี  หากผิดพลาดประการใดขอให้ท่านอาจารย์ทั้งหลายช่วยชี้แนะด้วยค่ะ 

ขออำนาจของกุศลวิทยาทานในครั้งนี้ จงช่วยอำนวยวิบากสมบัติแด่พระครูศรีโชติญาณ (พระมหาแสวง โชติปาโล)  ผู้ซึ่งนำเอาวิธีการเรียนแบบใหม่นี้มาอบรมสั่งสอนศิษย์ทั้งหลายที่มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิด้วยเทอญ.

 

00000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000000

 

แสดงผังจิต ๘๙หรือ ๑๒๑ ดวง    ที่ใช้เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์

 

 

จิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ดังบาลีที่ว่า

อารมฺมณา   จินฺเต  ตีติ = จิตฺตํ
ธรรมชาติใดย่อมรู้อารมณ์คือได้รับอารมณ์อยู่เสมอ  ธรรมชาตินั้นชื่อว่า 
จิต

 

 

จิตรับรู้อารมณ์ได้ตามเวทนา๕ อย่างดังนี้ (ดูเครื่องหมายในภาพ)

 

๑.   สุขเวทนา    ใช้เครื่องหมาย พระจันทร์หงาย 

๒.   ทุกขเวทนาใช้เครื่องหมาย พระจันทร์คว่ำ

๓.   โสมนัสเวทนา   ใช้เครื่องหมายบวก

๔.   โทมนัสเวทนา   ใช้เครื่องหมายหางลูกศร
(หรือเครื่องหมายน้อยกว่าที่เรียกกันทางคณิตศาสตร์) 

๕.   อุเบกขาเวทนา  ใช้เครื่องหมายลบ

 

 

เมื่อสามารถจำเครื่องหมายดังกล่าวได้แม่นยำว่า เครื่องหมายแบบนี้หมายถึงเวทนาอะไรแล้ว

ต่อไปจะแสดงให้เห็นเครื่องหมายของจิตเป็นกลุ่มๆไป

 

เริ่มจาก อกุศลจิต ๑๒  ดวง  คือ

...โลภมูลจิต ๘ ดวง

…โทสมูลจิต ๒ ดวง

…โมหมูลจิต ๒ ดวง

 

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

การนับจำนวนจิต (ดูภาพจิตตามไปด้วย)

 

 โลภมูลจิต ๘ ดวง
… นับจากโสมนัส (+) เป็นดวงที่ ๑, ๒, ๓, ๔ 
ตามลำดับ (แถวบนสอง  แถวล่างสอง)
…และนับอุเบกขา (-) เป็นดวงที่ ๕, ๖, ๗, ๘ 
 ตามลำดับ (แถวบนสอง  แถวล่างสอง)

โทสมูลจิต ๒  ดวง  (<)
…
นับเรียงไปตามลำดับ ๑, ๒

โมหมูลจิต ๒  ดวง  (-)
… นับเรียงไปตามลำดับ ๑, ๒

 

เมื่อมองดูภาพของอกุศลจิต ที่เขียนตามเครื่องหมายเวทนาแล้ว 

ในขั้นแรก ที่ง่ายที่สุดที่จะทราบได้ทันทีโดยไม่ต้องคิดให้ปวดหัวก็คือ

 

…ในอกุศลจิตนี้ มีจิตจำนวนเท่าไร 
…จิตแต่ละดวง มีเวทนาอะไร 
…มีเวทนาเกิดขึ้นทั้งหมดกี่เวทนา
…และมีจิตในแต่ละเวทนาอย่างละกี่ดวง

 

ที่ใช้คำว่า   ในขั้นแรก ที่ง่ายที่สุดที่จะทราบได้ทันที…..เพราะว่าการใช้เครื่องหมายคณิตศาสตร์เหล่านี้เขียนผังจิตนั้นไม่ได้บอกให้ทราบแค่เวทนาเท่านั้น แต่ยังบอกให้ทราบอีกหลายอย่างเกี่ยวกับจิต ต้องติดตามไปเรื่อยๆค่ะ

 

 

อเหตุกจิต ๑๘  ดวง  คือ 

อกุศลวิปากจิต  ๗        อเหตุกกุศลวิปากจิต ๘         อเหตุกกิริยาจิต ๓

การนับจำนวนจิต (ดูภาพจิตตามไปด้วย)

 

อกุศลวิปากจิต  ๗
นับรียงเริ่มจากซ้ายไปขวา เป็นดวงที่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗ ตามลำดับ

อเหตุกกุศลวิปากจิต  ๘
นับรียงไปจากซ้ายไปขวา เป็นดวงที่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖  ข้ามไปหนึ่งดวง  นับดวงที่เขียนท้ายสุด เป็นดวง ๗   และมานับดวงที่เป็นโสมนัส (+) เป็นดวงที ๘ ดวงสุดท้าย  (การที่เขียนสลับที่เช่นนี้ แต่มิได้สลับองค์ธรรม  แต่ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการจำแนกเรื่องกิจซึ่งมีเรียนในปริจเฉทที่ ๓  และจะแสดงให้ทราบภายหลังเมื่อติดตามไปเรื่อยๆนะคะ)  

อเหตุกกิริยาจิต  ๓
นับรียงเริ่มจากซ้ายไปขวา เป็นดวงที่ ๑, ๒, ๓  ตามลำดับ

 

 

 

เมื่อมองดูภาพของอเหตุกจิต ๑๘ ที่เขียนตามเครื่องหมายเวทนาแล้ว  เช่นเดียวกับในอกุศลจิตคือ

 

 ในขั้นแรก ที่ง่ายที่สุดที่จะทราบได้ทันทีก็คือ

 

 …ในอเหตุกจิตนี้ มีจิตจำนวนเท่าไร 

…จิตแต่ละดวง มีเวทนาอะไร 

…มีเวทนาเกิดขึ้นทั้งหมดกี่เวทนา

…และในแต่ละเวทนามีจิตกี่ดวง

 
 

 

********************************************
 

 

กามาวจรโสภณจิต ๒๔

มหากุศลจิต ๘

มหาวิปากจิต ๘

มหากิริยาจิต ๘

 

เริ่มจาก…มหากุศลจิต ๘  ดวง  การนับจำนวนจิต (ดูภาพจิตตามไปด้วย)

 


 

… นับจากโสมนัส (+) เป็นดวงที่ ๑, ๒, ๓, ๔ 
ตามลำดับ (แถวบนสอง  แถวล่างสอง)


…
และนับอุเบกขา (-)
เป็นดวงที่ ๕, ๖, ๗, ๘  
ตามลำดับ (แถวบนสอง  แถวล่างสอง)

 

 

 

 จากภาพสามารถบอกได้หรือไม่ว่า



…
ในมหากุศลจิตนี้ มีจิตจำนวนเท่าไร 

…จิตแต่ละดวง มีเวทนาอะไร 

…มีเวทนาเกิดขึ้นทั้งหมดกี่เวทนา

…และในแต่ละเวทนามีจิตกี่ดวง

 

ในมหาวิปากจิต ๘  ดวง  และ มหากิริยาจิต ๘ ดวง

การนับจำนวนจิต และเวทนา ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน

 

 

 

 


เรียนรู้เวทนาและการนับจำนวนจิตผ่านมาแล้ว ๓ กลุ่ม คือ

… อกุศลจิต ๑๒ ดวง

… อเหตุกจิต ๑๘ ดวง

… กามาวจรโสภณจิต ๒๔  ดวง

รวม เรียกว่า  กามาวจรจิต  ๕๔ ดวง

 

 

 

 

 

ต่อไปคือ…..รูปาวจรจิต ๑๕  แบ่งเป็น

…รูปาวจรกุศลจิต ๕

…รูปาวจรวิปากจิต ๕

…รูปาวจรกิริยาจิต ๕

ทั้ง ๓ กลุ่ม จะมีเครื่องหมายและการนับเหมือนกันแต่การเรียกชื่อ จะเรียกตามองค์ฌานนะคะ

ดวงที่ ๑ เป็น ปฐมฌาน

ดวงที่ ๒ เป็น ทุติยฌาน

ดวงที่ ๓ เป็น ตติยฌาน

ดวงที่ ๔ เป็น จตุตถฌาน

ดวงที่ ๕ เป็น ปัญจมฌาน

 

 

การนับจำนวนจิต (ดูภาพจิตตามไปด้วย)… นับจากโสมนัส (+) เป็นดวงที่ ๑, ๒, ๓, ๔   และอุเบกขาเป็นดวงที่ ๕ 

จากภาพสามารถบอกได้หรือไม่ว่า


…
ในรูปาวจรจิตนี้ มีจิตจำนวนเท่าไร 

…จิตแต่ละดวง มีเวทนาอะไร 

…มีเวทนาเกิดขึ้นทั้งหมดกี่เวทนา

…และในแต่ละเวทนามีจิตกี่ดวง

 

 ~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

 ..อรูปาวจรจิต ๑๒  แบ่งเป็น

…อรูปาวจรกุศลจิต ๔
…อรูปาวจรวิปากจิต ๔
…อรูปาวจรกิริยาจิต ๔
ทั้ง ๓ กลุ่ม จะมีเครื่องหมายและการนับเหมือนกัน

การนับจำนวนจิต (ดูภาพจิตตามไปด้วย)
… เป็นเรียงไปดวงที่  ๑, ๒, ๓, ๔   ตามลำดับ

 

 เช่นเดียวกัน จากภาพสามารถบอกได้ทันทีว่า

…ในอรูปาวจรจิตนี้ มีจิตจำนวนเท่าไร 

…จิตแต่ละดวง มีเวทนาอะไร 

…มีเวทนาเกิดขึ้นทั้งหมดกี่เวทนา

…และในแต่ละเวทนามีจิตกี่ดวง

 

 

 



 

รูปาวจรจิต ๑๕ และอรูปาวจรจิต ๑๒
รวมเรียกว่า มหัคคตจิต ๒๗

 

 


กามาวจรจิต ๕๔  และ มหัคคตจิต ๒๗ รวมเป็นโลกียจิต ๘๑

 

 

 

<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

 

วันนี้เรียนรู้เรื่องเครื่องหมายเวทนาของจิตกลุ่มสุดท้ายนะคะคือ

 

โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐  แบ่งเป็น

โลกุตตรกุศลจิต ๔ หรือ ๒๐ (มรรคจิต)

โลกุตตรวิปากจิต ๔ หรือ ๒๐ (ผลจิต)

 

ทั้ง ๒ กลุ่ม จะมีเครื่องหมายและการนับเหมือนกัน การนับจิต (ดูภาพจิตตามไปด้วย)

 

ถ้าเป็นการนับจิตอย่างย่อ ๘๙

 


นับมรรคจิต ๔  ในกรอบสีเขียวเรียงบนลงล่างรวม ๔ ดวง)

…โสดาปัตติมรรคจิต ๑ (+)
…สกทาคามิมรรคจิต ๑ (+)
…อนาคามิมรรคจิต ๑ (+)
…อรหัตตมรรคจิต ๑ (+)

 

 

 ถ้าเป็นการนับจิตอย่างพิสดาร  ๑๒๑ ดวง นับมรรคจิต ๒๐  คือ


…
โสดาปัตติมรรคจิต
…สกทาคามิมรรคจิต
…อนาคามิมรรคจิต
…อรหัตตมรรคจิต

เรียงจากบนลงล่างเหมือนกัน
เพียงแต่ในแต่ละมรรคจิต
เพิ่มองค์ฌานเข้าไป จึงเป็นแถวละ ๕ ดวง


การนับก็นับเรียงไปเป็นดวงที่ ๑, ๒, ๓, ๔, ๕
แต่จะเรียกตามองค์ฌาน คือ (ดูภาพประกอบ)

ดวงที่ ๑ เป็น ปฐมฌาน
ดวงที่ ๒ เป็น ทุติยฌาน
ดวงที่ ๓ เป็น ตติยฌาน
ดวงที่ ๔ เป็น จตุตถฌาน
ดวงที่ ๕ เป็น ปัญจมฌาน

 

 

จากภาพสามารถบอกได้ทันทีว่า

 
…ในมรรคจิตนี้ มีจิตจำนวนเท่าไร 

…จิตแต่ละดวง มีเวทนาอะไร 

…มีเวทนาเกิดขึ้นทั้งหมดกี่เวทนา

…และในแต่ละเวทนามีจิตกี่ดวง

 

 

ผลจิต ๔ หรือ ๒๐ เป็นไปทำนองเดียวกันกับมรรคจิต
การนับผลจิต ๒๐และจำนวนเวทนาที่เกิดขึ้น

 


 

~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

 

รวมจิตทั้งหมดเป็น ๘๙ หรือ ๑๒๑

 



สรุปจำนวนจิตในเวทนา ทั้ง ๕ ดังนี้

 สุขเวทนามีจำนวน          ๑  ดวง

ทุกขเวทนามีจำนวน        ๑  ดวง

โสมนัสเวทนามีจำนวน   ๖๒  ดวง

โทมนัสเวทนามีจำนวน     ๒  ดวง

อุเบกขาเวทนามีจำนวน  ๕๕   ดวง

            รวมเป็นจิต        ๑๒๑    ดวง

 

 ๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

 

จบในเบื้องต้นเรื่องการเรียนรู้เวทนา และการนับจิต

ตอนต่อไป ก็จะได้เรียนรู้ถึงประโยชน์จากผังจิตนี้ มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ได้เข้าใจยิ่งขึ้นว่าเหตุใดจึงกล่าวว่า..เครื่องหมายคณิตศาสตร์ประกาศปัญญา

 

<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

 

         Home    เวทนาและการนับจิต     การเรียกชื่อจิต    จิตตุปบาทเรื่องที่ควรรู้