เครื่องหมายคณิตศาสตร์ประกาศถึงปัญญา …ตอน ๒

การเรียกชื่อ...จิต

ภญ.ธัญนันทน์ เลิศหิรัญวงศ์  เรื่องและภาพ , มาลี อาณากุล  เรียบเรียง

***********************************************

 

หวังว่าขณะนี้ทุกท่านคงจะมีภาพของผังจิตที่ใช้เขียนด้วยเครื่องหมายเวทนา อยู่ในใจแล้วนะคะ  จากนี้ไปจะได้ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการใช้เครื่องหมายของเวทนามาเขียนเป็นผังจิต ในแง่มุมอื่นต่อไป คือเรื่อง  สัมปยุต และสังขาร


สัมปยุตจิตนั้นมีประกอบด้วยสัมปยุตตธรรมอยู่ ๕ ประเภท คือ


…
ทิฏฐิคตสัมปยุต

…ปฏิฆสัมปยุต

…วิจิกิจฉาสัมปยุต

…อุทธัจจสัมปยุต

…ญาณสัมปยุต

 

ถ้าจิตดวงใดไม่ได้ประกอบด้วยสัมปยุตตธรรมดังกล่าวนี้    ก็จัดเป็นวิปปยุตตจิต (ดูภาพต่อไป)

การสังเกตสัมปยุตตจิต/วิปยุตตจิต  ต้องดูภาพประกอบไปด้วยนะคะ จะเห็นว่าในอกุศลจิตมีสัมปยุตตจิต ๔ ประเภทคือ

 


กรอบสีส้ม เป็นทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต

กรอบสีดำ เป็นปฏิฆสัมปยุตตจิต

กรอบสีแดง เป็นวิจิกิจฉาสัมปยุตตจิต

กรอบสีเขียว เป็นอุทธัจจสัมปยุตตจิต

ในกามาวจรโสภณจิต แถวบน (รวม ๑๒ ดวง) จะเป็นญาณสัมปยุตตจิต แสดงในกรอบสีน้ำเงิน

รูปาวจรจิต ๑๕, อรูปาวจรจิต ๑๒โลกุตตรจิต ๘/๔๐ ก็เป็นญาณสัมปยุตตจิต แสดงในกรอบสีน้ำเงิน

 

ส่วนจิตที่เหลือ …อเหตกจิต ๑๘…กามาวจรโสภณจิตแถวล่าง (รวม ๑๒ ดวง)… จัดเป็นวิปยุตตจิต

 

…………………………………………………………………
 

ส่วนสังขารก็มี ๒ ประเภทคือ      …อสังขาร     …สสังขาร

การสังเกตอสังขาริกจิต / สสังขาริกจิต ต้องดูภาพประกอบไปเช่นกันค่ะ  จะเห็นว่า


อสังขาริก และสสังขาริก จะสลับกันคนละช่อง


โดยเริ่มจากอสังขาริกก่อน

    …อสังขาริก สีเขียว

…สสังขาริก สีน้ำเงิน

 

 

………………………………………………………………………………………..

 

หวังว่าคงจำภาพผังจิตได้แม่นแล้วนะคะ   ขณะนี้ภาพของผังจิตบอกอะไรได้บ้าง….

 
…
.จำนวนจิต

….เวทนา

….สัมปยุตฺต

….สังขาร

 

 

เมื่อแม่นแล้ว คราวนี้เราก็สามารถทราบ ชื่อจิต (กามาวจรจิต)แต่ละดวงได้โดยไม่ต้องท่องเลยค่ะ  เก็บสมองไว้ท่องอย่างอื่นที่จำเป็นต้องจำนะคะ     หลักการเรียกชื่อของจิตนั้น  ประกอบด้วยธรรม ๓ ส่วน คือ

   

เวทนา ----สัมปยุต----สังขาร

 

มาพิจารณาจากชื่อของจิตที่เป็นภาษาบาลีก่อน ตัวอย่างเช่น

อกุศลจิตดวงที่ ๑ ชื่อว่าโสมนสฺสสหคตํ  ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตตํ  อสงฺขาริกํ

จากภาพจิตจะเห็นว่า โลภมูลจิตดวงที่ ๑   ประกอบด้วย…โสมนัสเวทนา…ทิฏฐิคตสัมปยุต…อสังขาริก

 



ดังนั้น ชื่อของโลภมูลจิตดวงที่ ๑ จึงเรียกได้ว่า

 …โสมนสฺสสหคตํ  ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตตํ  อสงฺขาริกํ

 จิตที่เกิดพร้อมความยินดี ประกอบด้วยความเห็นผิด โดยไม่มีการชักชวน

 


แม้จิตดวงอื่นก็สังเกตทำนองเดียวกัน …..

 

โลภมูลจิต ดวงที่ ๒

…โสมนสฺสสหคตํ  ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตตํ  สสงฺขาริกํ  จิตที่เกิดพร้อมความยินดี ประกอบด้วยความเห็นผิด โดยมีการชักชวน

โลภมูลจิต ดวงที่ ๓

…โสมนสฺสสหคตํ  ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตตํ  อสงฺขาริกํ  จิตที่เกิดพร้อมความยินดี ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด โดยไม่มีการชักชวน

โลภมูลจิต ดวงที่ ๔

…โสมนสฺสสหคตํ  ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตตํ  สสงฺขาริกํ จิตที่เกิดพร้อมความยินดี ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด โดยมีการชักชวน

โลภมูลจิต ดวงที่ ๕

…อุเปกฺขาสหคตํ  ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตตํ  อสงฺขาริกํ  จิตที่เกิดพร้อมความเฉยๆ ประกอบด้วยความเห็นผิด โดยไม่มีการชักชวน

โลภมูลจิต ดวงที่ ๖

…อุเปกฺขาสหคตํ  ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตตํ  สสงฺขาริกํ     จิตที่เกิดพร้อมความเฉยๆ ประกอบด้วยความเห็นผิด โดยมีการชักชวน

โลภมูลจิต ดวงที่ ๗

…อุเปกฺขาสหคตํ  ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตตํ  อสงฺขาริกํ   จิตที่เกิดพร้อมความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด โดยไม่มีการชักชวน 

โลภมูลจิต ดวงที่ ๘

…อุเปกฺขาสหคตํ  ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตตํ  สสงฺขาริกํ   จิตที่เกิดพร้อมความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด โดยมีการชักชวน

 

โทสมูลจิต ดวงที่ ๑

…โทมนสฺสสหคตํ  ปฏิฆสมฺปยุตตํ อสงฺขาริกํ       จิตที่เกิดพร้อมด้วยความเสียใจ ประกอบด้วยความโกรธ โดยไม่มีการชักชวน

 โทสมูลจิต ดวงที่ ๒

…โทมนสฺสสหคตํ  ปฏิฆสมฺปยุตตํ สสงฺขาริกํ  จิตที่เกิดพร้อมด้วยความเสียใจ ประกอบด้วยความโกรธ โดยมีการชักชวน

 

โมหมูลจิต ดวงที่ ๑

…อุเปกฺขาสหคตํ  วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตตํ       จิตที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความสงสัย

โมหมูลจิต ดวงที่ ๒

…อุเปกฺขาสหคตํ  อุทฺธจฺจสมฺปยุตตํ       จิตที่เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน

 

น่าสังเกตไว้นะคะว่า เราโง่เอง  ไม่มีใครชวนให้โง่ได้   โมหมูลจิต คือ ความไม่รู้ ความโง่ ความหลง    จึงสงเคราะห์ลงใน

อสังขาริกทั้ง ดวง ไม่มีสสังขาริก  จึงไม่จำเป็นต้องระบุไว้ในชื่อของจิตค่ะ

ลองไปฝึกอ่านชื่อจิตดูนะคะ โดยใช้หลักทำนองเดียวกัน

 

……………………………………………………………………..

 

หลังจากได้เรียนรู้ข้อสังเกตในการเรียกชื่อจิตในกามาวจรจิตแล้วว่า ชื่อของจิตส่วนใหญ่ประกอบด้วยธรรม ๓ ส่วน คือ

 

เวทนา ----สัมปยุต----สังขาร

 

ซึ่งจะเห็นว่าในกลุ่มของอกุศลจิต ๑๒ และกามาวจรโสภณจิต ๒๔  จะมีการเรียกชื่อจิตไปในทำนองเดียวกันนี้ เช่น

 

…โสมนสฺสสหคตํ  ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตตํ  อสงฺขาริกํ (โลภมูลจิต ดวงที่ ๑)

…โสมนสฺสสหคตํ  ญาณสมฺปยุตตํ  อสงฺขาริกํ (มหากุศลจิต ดวงที่ ๑)

 

แต่ ในอเหตุกจิต ๑๘ จะมีแตกต่างเล็กน้อย (นอกจากไม่มีสัมปยุตตธรรม ยังสงเคราะห์อยู่ในอสังขาริกทั้งหมด)

ในอเหตุกจิต ๑๘ จะแบ่งเป็น

…อกุศลวิปากจิต ๗

…อเหตุกกุศลวิปากจิต ๘

…อเหตุกกิริยาจิต ๓

 

 

 

มาพิจารณาชื่อของจิตในกลุ่มนี้นะคะ

…อกุศลวิปากจิต ๗

ดวงที่ ๑.  อุเปกฺขาสหคตํ  อกุสลวิปากํ จกขุวิญญาณํ

จิตที่อาศัยจักขุวัตถุ เกิดพร้อมกับความเฉยๆ เป็นผลของอกุศลกรรมได้เห็นรูปารมณ์ที่ไม่ดี

 

ดวงที่ ๒. อุเปกฺขาสหคตํ  อกุสลวิปากํ โสตวิญญาณํ

ดวงที่ ๓. อุเปกฺขาสหคตํ  อกุสลวิปากํ ฆานวิญญาณํ

ดวงที่ ๔. อุเปกฺขาสหคตํ  อกุสลวิปากํ ชิวหาวิญญาณํ

ดวงที่ ๕. ทุกขสหคตํ  อกุสลวิปากํ กายวิญญาณํ

 ดวงที่ ๖. อุเปกฺขาสหคตํ  อกุสลวิปากํ สมฺปฏิจฉนจิตฺตํ

จิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับความเฉยๆ เป็นผลของอกุศลกรรม ทำหน้าที่รับอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ไม่ดี

 ดวงที่ ๗. อุเปกฺขาสหคตํ  อกุสลวิปากํ สนตีรณจิตฺตํ

จิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับความเฉยๆ เป็นผลของอกุศลกรรม ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ไม่ดี

 

………………………………………….…………….

 

…อเหตุกกุศลวิปากจิต ๘ ในแถวล่าง  ก็เหมือนกัน เพียงแต่เปลี่ยนจาก     อกุสลวิปากํ เป็น กุสลวิปากํ   เช่น

 



ดวงที่ ๑.
  อุเปกฺขาสหคตํ  กุสลวิปากํ จกขุวิญญาณํ

แต่ในดวงที่ ๕ และดวงที่ ๘ อย่าลืมดูที่เวทนานะคะ ว่าคืออะไร

ดวงที่ ๕. สุขสหคตํ  กุสลวิปากํ กายวิญญาณํ

ดวงที่ ๘. โสมมนสฺสสหคตํ  กุสลวิปากํ สนตีรณจิตฺตํ


ใน
…อเหตุกกิริยาจิต ๓ (- - + )

ดวงที่ ๑.  อุเปกฺขาสหคตํ  ปญฺจทวาราวัชชนจิตตํ
จิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับความเฉยๆ เพื่อพิจารณาอารมณ์ทางปัญจทวารรับอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ไม่ดี

ดวงที่ ๒.  อุเปกฺขาสหคตํ  มโนทวาราวัชชนจิตตํ

ดวงที่ ๓.  โสมนสฺสสหคตํ  หสิตุปฺปาทจิตตํ

 

 

 

……………………………………………………….…………

 

จากภาพหรือจากชื่อจิตแต่ละดวงของอเหตุกจิต ๑๘ ดวงนี้ ท่านสังเกตเห็นอะไรบ้างไหม?

!!!!….หยุด…คิด…พิจารณาหน่อยคะ สมองจะได้ไม่ฝ่อนะ จะบอกให้….เลื่อนลงไปดูสิว่าตรงกับที่พี่ดามองเห็นไหม

ข้อที่น่าสังเกตอย่างหนึ่ง คือ…..ชื่อของจิตในกลุ่มนี้มีใช้ทั้งวิญญาณ  (เช่น…จกขุวิญญาณํ) และ จิต (เช่น…สมฺปฏิจฉนจิตฺตํ)

 

ทราบไหมค่ะ เพราะอะไร?     สิ่งที่ควรทราบไว้ก็คือ

 

การบัญญัติ ชื่อเรียกจิต ธรรมชาติที่รู้อารมณ์นั้น  บัญญัติขึ้นโดยอาศัย  เวทนา, เหตุ, กิจ, ทวาร, อารมณ์ , วัตถุ

อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่ความเหมาะสม

ในที่นี้….จักขุวิญญาณ  เป็นต้น เป็นจิตที่อาศัยรู้อารมณ์ทางจักขุทวาร เมื่อรูปารมณ์มากระทบกับจักขุวัตถุ

ถ้าเรียกจักขุจิต จะทำให้เข้าใจไปว่า จักขุ นั้นเป็น จิต  แท้ที่จริงจักขุมีสภาพเป็นรูปธรรม ซึ่งไม่อาจรู้อารมณ์ได้ 

 

สภาพที่รู้อารมณ์ ได้แก่ วิญญาณ ซึ่งเป็นนามธรรม  แต่วิญญาณนี้นี้อาศัยรู้อารมณ์ทางจักขุ จึงเรียกว่า จักขุวิญญาณ หรือ จักขุวิญญาณจิตก็ได้ 

การเรียกชื่อนี้จึงบัญญัติขึ้นโดยอาศัย ทวารและวัตถุ ซึ่งเป็นชื่อของรูปธรรมเป็นหลัก เพื่อป้องกันมิให้เข้าใจผิดไปว่า รูปธรรม นั้นเป็นจิตได้ 

ส่วน….สัมปฏิจฉนจิต เป็นต้น  ทำหน้าที่รับอารมณ์ทั้ง ๕  การเรียกชื่อ บัญญัติขึ้นโดย..อาศัยหน้าที่การงานของจิต..ซึ่งเป็นนามธรรม มาเป็นหลัก และจิตก็เป็นผู้กระทำอยู่แล้ว จึงไม่ต้องเอาคำว่า วิญญาณ มาซ้อนกับ จิต อีก

 

……………………………………………………………………

 

ขอแถมให้ดูจิตอีกกลุ่มหนึ่ง
…
.อรูปาวจรจิต ๑๒   จะมีชื่อที่แปลกออกไปเช่นกัน  ก็เนื่องด้วย ความต่างของอารมณ์ ที่ใช้พิจจารณา


ดวงแรก   เพ่งอากาศ ไม่มีที่สิ้นสุด

ดวงที่ ๒   เพ่งวิญญาณ ไม่มีที่สิ้นสุด

ดวงที่ ๓   เพ่งความไม่มี อะไรอะไรก็ไม่มี

ดวงที่ ๔ เพ่งอากิญจัญญายตนฌานจิต

 (มีก็ใช่ ไม่มีก็ไม่เชิง แต่ก่อนเคยมี เดี๋ยวนี้ไม่มี)

 

<<<<<<<<<<<<<<<>>>>>>>>>>>>>>>

 

พอเขียนถึงตรงนี้ก็นึกถึงชื่อจิตของโลกุตตรจิต ๔๐  มักมีนักศึกษาสับสนเกี่ยวกับการเรียกชื่อ  จริงๆแล้วเมื่อเข้าใจ จะง่ายมากเลยค่ะ

ขอให้ดูที่ภาพของมรรคจิต ๒๐ ก่อนนะคะ    สิ่งสำคัญคือ

 

… ต้องจำสิ่งที่เขียนในรูปที่แสดงนี้ให้ได้ก่อน

… ต้องทราบว่า องค์ฌาน มี ๕ คือ   วิตก   วิจาร   ปีติ   สุข    เอกัคคตา

… ปฐมณาน มีองค์ฌาน ๕ ครบ ส่วน  ทุติยฌาน   ตติยฌาน   จตุตถฌาน  ละองค์ฌานไปที่ละหนึ่ง

… การเรียกชื่อ ก็เรียกตามองค์ฌาน พร้อมทั้งระบุว่าเป็นปฐมฌาน หรือทุติยฌาน ฯ…และต่อท้ายว่าเป็นมรรคจิตระดับใด 

 

 

โสดาปัตติมรรคจิต (+ + + + -)



ดวงที่๑.
วิตกฺกฺวิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ปฐมฺชฺฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ

ดวงที่๒. …..วิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ทุติยชฺฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ

ดวงที่๓. ………ปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ตติยชฺฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ

ดวงที่๔. ……….สุเขกคฺคฺคตาสหิตํ จตุตฺถชฺฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ

ดวงที่๕. …….อุเปกฺเขกคฺคตาสหิตํ ปญจมชฺฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ

 

ต่อไปเมื่อชี้ไปที่ดวงไหนก็สามารถบอกชื่อได้เลยใช่ไหมค่ะ ง่ายไหมค่ะ

 

“””””””””””””””””””””””””””””””””””””””’”””””

 


ทดสอบนะคะ
ลองเขียนชื่อจิตดวงที่วงไว้สิค่ะว่าชื่ออะไร??

..................................................

 

ขอบพระคุณค่ะและอนุโมทนาที่ติดตามอ่านนะคะ

 

///////////////////////////////\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\

Home    เวทนาและการนับจิต     การเรียกชื่อจิต    จิตตุปบาทเรื่องที่ควรรู้