ยามเจ็บป่วย อุดมคติ ๑๐ ข้อ ปัญหาเกี่ยวกับชีวิต ความจริง ย้อนอดีต คำอาลัยจากลูกศิษย์ Home

รำลึกถึงพระครูศรีโชติญาณ

  ๙  เมษายน  ๒๕๕๐



วันนี้ในอดีต   ๑๕ - ๑๖  มีนาคม  ๒๕๔๕

ภาพงานพิธีพระราชทานเพลิงศพ

 



ไว้อาลัยแด่ "ปรมาจารย์" แห่งพระอภิธรรม

วงการศึกษาพระพุทธศาสนาได้สูญเสียปรมาจารย์แห่งพระอภิธรรมไปท่านหนึ่ง  เมื่อวันที่ ๙ เมษายน  ๒๕๔๔ คือ ท่านพระครูศรีโชติญาณ  เจ้าอาวาสวัดศรีประวัติ  และในฐานะที่ท่านเป็นประธานกรรมการกิตติมศักดิ์ ของมูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิด้วย  ทางมูลนิธิ ฯ  จึงขอสดุดีเกียรติประวัติเพื่อไว้อาลัยต่อการจากไปของท่าน ณ โอกาสนี้

ชาติภูมิ

เกิดเมื่อวันที่  ๒๖ เมษายน  พศ.  ๒๔๖๖  ตรงกับวันพฤหัสบดี  ขึ้น  ๑๒ ค่ำ  เดือน ๖  ปีกุน  เวลา ๗.๒๐ น. ณ บ้านหัวหาด  หมู่ ๖  ต.โพธิ์สามต้น  อ.บางปะหัน  จ.พระนครศรีอยุธยา  นามเดิมชื่อ แสวง อบเชย เป็นบุตรคนโตของ นายบัวคลี่  นางลำจวน  อบเชย  มีพี่น้องรวม ๓ คน

การศึกษาเบื้องต้น

พศ. ๒๔๗๑  เมื่ออายุได้ ๕ ขวบ มารดา บิดา ได้นำไปฝากไว้กับพระอาจารย์โฮ่ เจ้าอาวาสวัดกร่าง  เพื่อเรียนหนังสือวัด และมูลบท บรรพกิจอยู่ ๒ ปี จึงย้ายไปเรียนหนังสือ ไทยต่อที่วัดทอง จ.พระนครศรีอยุธยา


การศึกษาเบื้องต้น

พศ. ๒๔๗๑  เมื่ออายุได้ ๕ ขวบ มารดา บิดา ได้นำไปฝากไว้กับพระอาจารย์โฮ่ เจ้าอาวาสวัดกร่าง   
                    เพื่อเรียนหนังสือวัด และมูลบทบรรพกิจอยู่ ๒ ปี จึงย้ายไปเรียนหนังสือไทยต่อที่วัดทอง  
                   
จ.พระนครศรีอยุธยา
พศ. ๒๔๗๗  ย้ายเข้าเรียนในโรงเรียนประชาบาล ณ วัดวรนายกรังสรรค์ (วัดเขาดิน) จนจบชั้นประถม  
                    ๔ เมื่อพศ. ๒๔๘๑
                    ขณะกำลังเรียนอยู่ชั้นประถม ๕ เกิดป่วยหนัก  ต้องลาออกมาพักฟื้นชั่วระยะหนึ่ง 

                     จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดเขาดินนั้น โดยมีพระครูเพชร วัดนนทรี  เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้เรียนนักธรรมกับอาจารย์สมุห์จอม และพระอาจารย์โท ที่ วัดเขาดิน   พศ. ๒๔๘๓ สอบนักธรรมตรีได้ และย้ายไปศึกษาต่อที่วัดสามพระยา  กรุงเทพมหานคร  ในความปกครองของ เจ้าประคุณสมเด็จพุทธโฆษาจารย์ ซึ่งขณะนั้นยังเป็น พระราชาคณะชั้นสามัญที่  " ปริยัติโสภณ "    ปีพศ. ๒๔๘๔ - ๒๔๘๕ สอบนักธรรมชั้นโท และเอกได้  จนกระทั่งปลายปี พศ. ๒๔๘๕ ก็ได้ย้ายไปศึกษาต่อที่  สำนักวัดมหาธาตุ ฯ  ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร


 อุปสมบท

วันที่ ๗ กรกฎาคม พศ. ๒๔๘๖  เวลา  ๑๕.๕๓ น. ได้อุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ พัทธสีมาวัดมหาธาตุ ฯ โดยมี


พระไตรโลกาจารย ์(ฐานทตฺตมหาเถระ)


เป็นพระอุปัชฌาย์จารย์

พระเดชพระคุณเจ้าคุณนิกรมมุนี

เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พระเดชพระคุณเจ้าคุณศรีสมโพธิ

เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับฉายาว่า" โชติปาโล "
และนั่นคือจุดเริ่มต้นของชีวิตหนึ่ง  ซึ่งมอบอุทิศแก่วงการพระพุทธศาสนาโดยแท้จริงในเวลาต่อมา

 

ประวัติการศึกษา

พศ. ๒๔๙๑

ปธ. ๓
พศ. ๒๔๙๓ ปธ. ๔
พศ. ๒๔๙๗ ปธ. ๕
พศ. ๒๔๙๘ ปธ. ๖

จากนั้นได้ไปเรียนวิชาแต่งไทยเป็นมคธในหลักสูตร ปธ. ๗ ที่วัดทองนพคุณ   กับเจ้าคุณอาจารย์  พระกิตติสารโสภณ
( กี่  ปธ.๙ ) อยู่ ๖ เดือน

ปลายปี พศ. ๒๔๙๙

 

ได้ตัดสินใจลาพระอาจารย์ ไปศึกษาพระไตรปิฎกต่อที่  สหภาพพม่า โดยศึกษาพื้นฐาน ภาษาพม่า และภาษาบาลีก่อน  ที่วัดพระนอนใหญ่  เมืองร่างกุ้ง 


พศ. ๒๔๙๙ -  พศ.๒๕๐๒


ศึกษาคัมภีร์กัจจายนะสังคหบาลี - วิภาวินีฎีกาทั้งพากย์การพูดบาลี และพม่าอยู่ ๓ ปี

พศ. ๒๕๐๓  - พศ. ๒๕๐๖



 


ย้ายไปศึกษาพระไตรปิฎกกับอาจารย์ กวิสิฏฐะ สำนักเรียนพระไตรปิฎกเพื่อภิกษุ ชาวต่างประเทศ  โดยบรรยายเป็นภาษาบาลี  เริ่มเรียนตั้งแต่ ๐๗.๐๐ - ๒๒.๐๐น.ทุกวัน  โดยไม่ได้ไปไหนเลย รวมเวลา ๓ ปีเศษ
ศึกษาบาลีพระวินัย พร้อมทั้งอรรถกถา ๕ คัมภีร์จบ
ศึกษาบาลีพระสูตรพร้อมทั้งอรรถกถา  ๒๓ คัมภีร์ ส่วนใหญ่
ศึกษาบาลีพระอภิธรรม พร้อมทั้งอรรถกถา ๗ คัมภีร์จบ

เมื่อเรียนได้ ๑ จบแล้ว ก็ได้ลาอาจารย์ ไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่เมืองแปรเป็นเวลา ๒ เดือน   และในพรรษาที่ ๓ แห่งเมืองร่างกุ้ง  ได้ไปปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดรวมพระธาตุอีก ๓ เดือน  ในช่วงเวลา ๖ ปีเศษนี้  ไม่เคยไปเที่ยวที่ไหนเลย ชีวิตมีแต่การเรียน และการปฏิบัติเท่านั้น   ได้ผ่านการเรียนพระไตรปิฎก ทั้งฉบับบาลี และอรรถกถาเพียงจบเดียว   ซึ่งท่านบอกว่าศึกษาได้น้อยมากเหลือเกิน ถ้าเทียบกับความรู้อันมีค่ามหาศาล ที่มีอยู่ในพระคัมภีร์  ด้วยความรักในการศึกษาพระอภิธรรมอย่างยิ่ง  ท่านจึงตั้งปณิธานที่จะศึกษาค้นคว้าต่อด้วยตัวเอง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยไม่ได้หยุดยั้ง  ฯ ล ฯ  ดังเจตนาของท่าน.......จนกระทั่งวาระสุดท้ายแห่งชีวิต ท่านก็จากไปอย่างสงบในขณะการฟังพระอภิธรรมนั่นเอง

ภายหลังจบการศึกษาจากสหภาพพม่า  ช่วงเวลา ๓๘ ปีมานี้  ท่านพระครูศรีโชติญาณ ได้บำเพ็ญสมณกิจใน พระพุทธศาสนาด้วยความอุตสาหะยิ่ง  สร้างผลงานได้แก่ตำราทางพระพุทธศาสนามากมาย และดำรงตำแหน่ง ในคณะสงฆ์  เป็นที่ยอมรับ และเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งในด้านการศึกษา  ด้านการปกครองคณะสงฆ์อย่างต่อเนื่องตลอดมา   จนกระทั่ง

ในปี พศ. ๒๕๔๓ ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร "พุทธศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์" สาขาพระพุทธศาสนา  จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  นับได้ว่าท่านเป็นนักวิชาการศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

 

หน้าที่ในด้านการศึกษา

พศ. ๒๔๙๕



เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ในสำนักเรียนวัดมหาธาตุ ฯ เป็นเวลา ๔ ปีเศษ
ระหว่างนี้ได้เรียนและสอนพระอภิธรรมแก่พุทธบริษัทผู้สนใจ ที่คณะ ๕ วัดระฆังโฆสิตาราม
และเป็นอาจารย์สอนพระอภิธรรมที่มหามกุฏราชวิทยาลัย  หน้าวัดบวรนิเวศด้วย
พศ. ๒๕๐๖

ตั้งโรงเรียนสอนธรรมและบาลี ที่วัดสร้อยทอง เชิงสะพานพระราม ๖ สอนอยู่ที่วัดนี้เป็นเวลา ๑๐ ปี นับแต่ปีพศ. ๒๕๐๖ - ๒๕๑๖  สามารถผลิตนักเรียนธรรมและบาลีสอบได้เปรียญธรรมเป็นจำนวนมาก

พศ. ๒๕๐๗

เป็นอาจารย์สอนพระอภิธรรม ณ สมาคมศูนย์ค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา วัดสระเกศ เป็นเวลา ๗ ปี (พศ. ๒๕๐๗ - พศ. ๒๕๑๔)
พศ. ๒๕๑๖

เป็นเจ้าสำนักเรียน ทั้งแผนกธรรม และบาลี ประจำสำนักเรียน วัดศรีประวัติ
เป็นอาจารย์สอนแปลสังคหบาลี - กัจจายนะ  และคัมภีร์มหาปัฏฐาน ณ โรงเรียนพระอภิธรรม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร


ตำแหน่งด้านการปกครอง

พศ. ๒๕๑๖

ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสวัดศรีประวัติ   ต.ปลายบาง   อ.บางกรวย   จ.นนทบุรี
พศ. ๒๕๒๓
ได้รับแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์จารย์ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๒๓
พศ. ๒๕๓๓
ได้รับแต่งตั้งเป็น รองเจ้าคณะอำเภอบางกรวย
พศ. ๒๕๔๐


ได้รับพระราชทานรางวัล "เสมาธรรมจักร" ประกาศเกียรติคุณผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา
จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี  
พศ. ๒๕๔๐


พศ. ๒๕๔๒
ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญบัตรชั้นเอกที่  "พระครูศรีโชติญาณ" เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๐

ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะอำเภอบางกรวย


                                                                                     go  to  top
ยามเจ็บป่วย อุดมคติ ๑๐ ข้อ ปัญหาเกี่ยวกับชีวิต ความจริง ย้อนอดีต คำอาลัยจากลูกศิษย์ Home